ห้องเรียนกลับทาง


After Action Review

ชื่อ-สกุล นางสาวชุติมา คล้ำภิบาล รหัส 57D0103104

รหัสวิชา 102611 การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

ผู้สอน ผศ. ดร. อดิศร เนาวนนท์

วันที่บันทึก 10 สิงหาคม 2557

จากการอบรมเรื่อง Flipped Classroomโดย ดร. ปกรณ์ สุปินานนท์ ทำให้ทราบว่า Flipped Classroom คือ ห้องเรียนกลับทาง ซึ่งหมายถึง การให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเนื้อหาที่จะเรียนที่บ้าน และนำการบ้านกลับมาทำที่โรงเรียน ซึ่งการจัดการเรียนการสอนรูปแบบนี้มีองค์ประกอบสำคัญหลายอย่างด้วยกัน กล่าวคือ ครูจะต้องทราบพฤติกรรมและความสนใจในแต่ละช่วงวัยของผู้เรียน (Type of Generation) และ

เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individuality) ความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน รวมถึงครูต้องเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) คอยสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันผู้เรียนต้องมีความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ไม่เป็นผู้รับฝ่ายเดียว ต้องมีการตั้งข้อสงสัย สังเกต แสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดเวลา (Active Learner) และเพื่อให้เกิดการพัฒนา ควรมีการวัดเพื่อประเมินความก้าวหน้าของการจัดการเรียนรู้ ควรเน้นให้ทุกฝ่ายรวมตัวกันและร่วมกันออกแบบการเรียนรู้ (Professional Learning Community) ทักษะสำคัญที่ครูควรมี คือ การสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ในสิ่งนั้น และจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 เน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะชีวิตและการทำงาน/ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สร้างสรรค์/มีวิจารณญาณ และทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ซึ่งการจะทำให้เกิดทักษะชีวิตเหล่านี้ได้ การจัดการเรียนการสอนควรมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่จะเรียนว่าเหมาะสมกับการสอนรูปแบบใด ซึ่งครูมีหน้าที่ในการเตรียมกิจกรรมการเรียนรู้ให้พร้อม ควรมีการผสมผสานหลาย ๆ สาระการเรียนรู้เป็นแบบบูรณาการ (Intergrated Learning) เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการคิดแบบเชื่อมโยง หรือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Project Based Learning ช่วยให้ผู้เรียนฝึกทักษะต่าง ๆ ได้ดี การนำเทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน สามารถช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนให้อยากเรียนรู้ได้อีกวิธีหนึ่ง การจัดการเรียนการสอนควรสอนในสิ่งที่จำเป็น โดยยึดหลัก "สอนน้อยเรียนรู้ให้มาก"

Flipped Classroom จะได้ผลดีก็ต่อเมื่อผู้สอนได้มีการเตรียมตัวก่อนสอน จัดการเรียนการสอนด้วยความตั้งใจและเลือกรูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์/เนื้อหา ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถนำความรู้นั้นไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์

การนำ Flipped Classroom ไปประยุกต์ใช้ ควรเริ่มจากตัวผู้สอนก่อน ต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้าในเรื่องที่จะสอน และแจ้งให้ผู้เรียนทราบล่วงหน้า เพื่อให้ผู้เรียนมีเวลาในการศึกษาค้นคว้าเนื้อหาในเรื่องนั้น ๆ วางแผนออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน เลือกรูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหาวิชาที่จะสอนด้วย เนื่องจากวิชาที่สอนคือ วิชาภาษาอังกฤษ เน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง และสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ในวิชานี้ อาจทำได้โดยการใช้สื่อเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการเรียนการสอน เพื่อฝึกทักษะการฟัง พูด อ่านและเขียน รวมถึงการสอนแบบบูรณาการ และการแสดงบทบาทสมมติ จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นโดยใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารระหว่างการทำกิจกรรมการเรียนรู้ การนำ PLC ไปใช้ในองค์กร

มีการวางแผนออกแบบการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน/การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำผลการประเมินไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #flipped classroom
หมายเลขบันทึก: 578720เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2014 22:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 11:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท