Knowledge Management


นางสาวชุติมาคล้ำภิบาลรหัส 57D0103104

ปริญญาโทภาคพิเศษสาขาหลักสูตรและการสอนรุ่นที่ 13

รายวิชา 102611การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

ผู้สอนผศ. ดร. อดิศรเนาวนนท์

อนุทินครั้งที่ 4

วันที่ 17 สิงหาคม 2557

การเตรียมตัวล่วงหน้าในการเรียนได้ศึกษาค้นคว้าเรื่อง Knowledge Management : KM การจัดการความรู้ คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจากข้อมูลไปสู่สารสนเทศ เพื่อให้เกิดความรู้และปัญญาในที่สุด นอกจากนี้ยังศึกษาเรื่องประเภทของความรู้ ความรู้มี 2 ประเภท คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้แฝงเร้นหรือความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge)

จากการเรียนวันนี้ได้ทราบหลักการเขียน Best Practice แบบ Story Telling เกี่ยวกับความภาคภูมิใจที่มีวิธีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับผู้เรียนแล้วได้ผล จากนั้นเรียนรู้เรื่อง ความหมายของ "ความรู้" ความรู้คืออะไร ความรู้ หมายถึง การเรียนรู้ รับรู้ข้อมูล จัดระบบความรู้นำไปสู่ปัญญา ประเภทของความรู้ มี 2 ประเภท Tacit Knowledge คือ ความรู้ที่อยู่ในตัว เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ทำให้เกิดความรู้ใหม่ได้ มีประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ และ Explicit Knowledge คือ ความรู้ภายนอกได้จากการเรียนรู้ 20 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาซึ่งนำมาซึ่งการจัดการเรียนรู้ (KM) คือ คนย้ายไปแล้วทำงานไม่ได้/ทำไม่ได้จะถามใคร/เจ้าหน้าที่ไม่มา ตามงานไม่ได้/ทำแต่แบบเดิม ๆ ไม่พัฒนา สรุปคือ ความรู้จะติดตังบุคคลนั้นไป ถ้าไม่ถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้มีความรู้หรือทำงานนั้น ๆ เป็นด้วย ความรู้ก็จะตายไปกับคนคนนั้น จึงต้องมีการจัดการความรู้ เพราะฉะนั้น

KM จึงหมายถึง การจัดการเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ โดยใช้ความรู้ที่มีอยู่ และประสบการณ์ของคนในองค์การอย่างมีระบบ เพื่อพัฒนานวัตกรรมที่จะทำให้มีความได้เปรียบเหนือคู่แข่งทางธุรกิจ นอกจากนี้ยังได้ทราบความหมายของ World Bank คือ การรวบรวมวิธีปฏิบัติขององค์การ และกระบวนการที่เกี่ยวกับการสร้าง การนำมาใช้ การเผยแพร่ความรู้ และบริบทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ สรุปความหมายของการจัดการเรียนรู้ คือ กระบวนการในการนำความรู้ที่มีอยู่ หรือที่ได้จากการเรียนรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การโดยกระบวนการต่าง ๆ เช่น การสร้าง รวบรวม จัดเก็บ แลกเปลี่ยน ใช้

ความคิดเห็นในประเด็นที่เรียนในวันนี้ทำให้ทรายว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง การจัดการความรู้ทำขึ้นเพื่อรวบรวม จัดเก็บความรู้อย่างเป็นระบบ สามารถส่งต่อความรู้ได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ความรู้ควรเป็นสิ่งที่สามารถนำไปใช้ได้โดยมีผลลัพธ์ใกล้เคียงกัน ใครใช้ก็เหมือนกัน

การจัดการความรู้สามารถนำไปใช้ได้กับทุกองค์การ ซึ่งดิฉันคิดว่า ในโรงเรียนควรมีการจัดการความรู้ที่เป็นระบบ บุคลากรสามารถทำงานแทนกันได้ โดยได้ผลลัพธ์เหมือนกัน ครูควรเป็นผู้มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพราะทุกคนสามารถเรียนรู้ในสิ่งใหม่ ๆ ได้ การสอนในสิ่งที่กำลังจะตายไปกับตัวบุคคล เช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทอไหม การทอเสื่อ เป็นต้น

คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 578701เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2014 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 11:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท