dreams to me 10


การถ่ายภาพในเมืองไทย

สำหรับประเทศไทยมีหนังสือเก่าชื่อว่า สยามประเภทฉบับลงวันที่ 11 เมษายน พ.ศ 2444 กล่าวว่าเรามีช่างถ่ายภาพ
ครั้งแรกในสมัยราชกาลที่ 3 ก.ศ.ร. กุหราบ เจ้าของหนังสือได้เขียนเล่าในหนังสือว่า ช่างที่ถ่ายรูปคนแรกในสมัย
รัชกาลที่ 3 นั้นคือ ท่านสังฆราชฝรั่งเศสชื่อ ปาเลอกัว และคนไทยที่เป็นช่างถ่ายภาพคนแรก คือ พระยากระสาปน์
กิจโกศล(นายโหมด)ในปัจจุบันเชื่อกันว่าสังฆราชปาเลอกัวเป็นช่างคนแรกและเป็นอาจารย์ของพระยากระสาปน์กิจโกศล
(นายโหมด) และนายโหมดมีชื่อเสียงในการถ่ายภาพเป้นที่ยอมรับกันโดยทั่งไป เช่น ในบทพระราชนิพนธ์
เรื่อง “เรื่องการถ่ายรูปเมืองไทย” ของราชกาลที่ 5 จากหนังสือกุมารวิทยา ในหนังสือสยามประเภท
เมื่อพูดถึงสังฆราชปาเลอกัวก็จะพูดถึงนายโหมดทุกครั้ง การถ่ายภาพในเมืองไทยได้พัฒนาอย่างมากในรัชกาลที่ 5
ทราบได้จากการเปิดร้านถ่ายภาพกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น จากแต่ก่อนคนที่จะถ่ายภาพจะต้องเป็นคนชั้นสูงเท่านั้น
สิ่งสำคัญที่ทำให้การถ่ายภาพในเมืองไทยพัฒนาเป็นผลมาจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
ทรงสนพระทัยในการถ่ายภาพเป็นอันมาก ทรงจัดมีการอวดรูปภาพ และประชันภาพขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2450 รัชกาลที่ 5
เสด็จประภาพยุโรป ครั้งที่ 2 ทรงมีกล้องถ่ายรูปคู่พระหัตถ์ คือ “กล้องโกแด็กอย่างโปสตก๊าด” ถ่ายโดยใช้ฟิล์มจึงอนุมาน
ได้ว่า ฟิล์มเซลลูลอยด์นั้น ได้เข้ามาเมืองไทยประมาณ พ.ศ. 2448

http://courseware.payap.ac.th

คำสำคัญ (Tags): #เรื่องราว
หมายเลขบันทึก: 578206เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2014 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2014 15:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท