5. แผนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา


แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 3) ของประเทศไทย พ.ศ.2557-2561

ความเป็นมาในการจัดประชุม

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ดำเนินการจัดทำ ร่างแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ฉบับที่3)ของประเทศไทย พ.ศ.2557-2561 ขึ้น

วิสัยทัศน์ประเทศไทยสู่ปี 2561

“พัฒนาสังคมอุดมปัญญาเพื่อก้าวสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลโดยเท่าเทียม

และทั่วถึงในทุกชุมชนและท้องถิ่น ด้วยความมั่นคงและยั่งยืน”

(Shape-up Smart Thailand toward Digital Economy)
ยุทธศาสตร์การพัฒนาแผนแม่บทฯ
สรุปยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1
-พัฒนาทุนมนุษย์ให้มีความรอบรู้เข้าถึงมีส่วนร่วมในการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากระบบไอซีที
ได้อย่างรู้เท่าทันในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ(Participatory People)
-ทุนมนุษย์ในด้านไอซีทีในปี2561มีความรอบรู้เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากระบบไอซีทีในการดำ
รงชีวิตและการประกอบอาชีพอย่างพอเพียง(Sufficient)มีจิตบริการด้วยแนวคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม(Innovative)ด้วยความเป็นมืออาชีพในสายงานไอซีทีที่ตนถนัด(Professional)และกระตือรือร้นในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาบริการไอซีทีที่หลากหลายในสังคมยุคดิจิทัล(ParticipatoryPeople)
สรุปยุทธศาสตร์(ต่อ)

ยุทธศาสตร์ที่3

พัฒนาบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐอย่างฉลาดทั้งในประเทศและในระดับภูมิ
ภาคสากลโดยให้ชุมชนและท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการพัฒนาในแนวทางนวัตกรรมและมีความมั่นคงปลอดภัย
- บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐหรือ e-Government Service ในปี 2561 ภายใต้การดำเนินการของรัฐอย่างฉลาด(SmartGovernment)ที่ให้บริการแบบเปิด(Open)ไร้ตะเข็บรอยต่อหน่วยงาน(Seamless)และก้าวไปสู่ระบบบริการที่เข้าใจความต้องการของประชาชนได้เป็นอย่างดี(Anticipated)ทั้งในด้านข้อมูลข่าวสารและบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์พร้อมด้วยระบบบริหารจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนและท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการพัฒนา

สรุปยุทธศาสตร์(ต่อ)
ยุทธศาสตร์ที่ 4
พัฒนาขีดความสามารถของธุรกิจส่งเสริมให้มีการประยุกต์ใช้ไอซีทีเพื่อให้มีศักยภาพ
ในการแข่งขันในตลาดในระดับภูมิภาคและระดับสากลรวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจและ
อุตสาหกรรม ICT เชิงสร้างสรรค์ ทั้งนี้โดยเฉพาะในภาคส่วนของ SME(VibrantBusiness)
- ภาคธุรกิจในปี2561จะเติบโตสดใส(VibrantBusiness)ด้วยพลังจากธุรกิจและ
อุตสาหกรรมไอซีทีในเชิงสร้างสรรค์(Creative)และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม(Environment Friendly) ในขณะเดียวกัน การประยุกต์ใช้ไอซีทีเพื่อเพิ่มผลิตภาพ (Productive) อันเป็นส่วนสำคัญในการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะในภาคส่วนของ SMEด้วยแนวคิดการรังสรรค์นวัตกรรมที่จะเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดในระดับภูมิภาคและระดับสากลโดยการสนับสนุนหลักจากรัฐ ั้งในด้านข้อมูลสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจที่ทันสมัยและทันการณ์และกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาที่สำคัญ
การดำเนินการขั้นต่อไป

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะเสนอร่างแผนแม่บทฯที่ปรับ
ปรุงแล้วให้คณะกรรมการกำกับการจัดทำร่างแผนแม่บทฯของทก.พิจารณากลั่น
กรองอีกครั้งหนึ่งและคาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบภาย
ในวันที่ 14 กันยายน 2556 เพื่อที่จะให้ทันต่อการใช้แผนแม่บทในปีงบประมาณ 2557ต่อไป
The End!

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(ฉบับที่ 3) ของประเทศไทยพ.ศ.2557-2561
แผนแม่บท....

1)ทบทวนสถานการณ์ในการพัฒนาICTจากเอกสารICT2020และเอกสาร
แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ฉบับที่ 2)

2)ทบทวนสถานการณ์ในการพัฒนาICTผ่านกลุ่มFocusGroupในการ
ประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็นจาก Focus Group ทั้ง 8 กลุ่ม

1. หลักการสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาแผนแม่บทฯ

- การพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมที่รุ่งเรืองสดใส (Vibrant Business)
- การพัฒนาระบบบริการของภาครัฐอย่างฉลาด (Smart Government)
- การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่คุ้มค่าและพอเพียง (Optimal Infrastructure)
- การพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนไอซีทีของประเทศ (Participatory People)

2. เป้าหมายหลักจากการดำเนินยุทธศาสตร์ตามแผนแม่บทฯ

- สัดส่วน ICT ต่อ GDP สูงขึ้นโดยเฉพาะจาก SME
- ภาคธุรกิจมีเครื่องมือ ICT เพื่อสร้างความพร้อม การปรับตัวในการแข่งขันในเวทีสากล
- ประชาชน ชุมชน และท้องถิ่น ประยุกต์ใช้ ICT ในการศึกษาเรียนรู้การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ
- บริการอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐไร้ตะเข็บรอยต่อและเป็นที่พึงพอใจของผู้ใช้บริการทุกภาคส่วน
- สังคม ชุมชน ท้องถิ่น เข้มแข็ง ปลอดภัย มีความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคม ASEAN
- อันดับประเทศไทยสูงขึ้นในสถาบันการจัดอันดับ ICT/e-Government ระดับสากล

3. ตัวชี้วัดการพัฒนา

- ร้อยละ 80 ของประชากรทั่วประเทศสามารถเข้าถึงโครงข่ายโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงภายในปี 2558 และร้อยละ 90 ภายในปี 2564
- ระดับความพร้อมด้าน ICTในNetworkedReadinessInboxอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาสูงที่สุด 30 %
ยุทธศาสตร์ที่ 2

พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่พอเพียง(Sufficient) และคุ้มค่า (Optimal Infrastructure)
- โครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีในปี2561เข้าสู่ยุคการพัฒนาแบบพอเพียงคุ้มค่าต่อการลงทุนและ
อัตราค่าบริการที่เหมาะสม (OptimalInfrastructure) พร้อมด้วยระบบความมั่นคงปลอดภัย ประกอบด้วยเครือข่ายความเร็วสูงเข้าสู่ทุกชุมชนและท้องถิ่นเครือข่ายความเร็วสูงสำหรับภาคส่วนการพัฒนาที่สำคัญ

แผน แม่บท เทคโนโลยี สารสนเทศ - มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

หมายเลขบันทึก: 577546เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2014 15:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2014 15:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท