การเต้นลีลาศ


ในการฝึกลีลาศจะต้องคำนึงถึงทักษะเบื้องต้นของการลีลาศเป็นอันดับแรกและจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องฝึกหัดจนเกิดความชำนาญ หากละเลยถึงหลักและทักษะเบื้องต้นจะทำให้ผู้ฝึกลีลาศขาดความก้าวหน้าและไม่มีศิลปะของการลีลาศอย่างแท้จริงทักษะเบื้องต้นของการฝึกลีลาศเพื่อให้เกิดความชำนาญ มีดังนี้

องค์ประกอบสำคัญในการลีลาศ องค์ประกอบที่สำคัญในการลีลาศได้แก่ ความรู้ในเรื่องจังหวะของดนตรี ซึ่งถือว่ามีความสำคัญมากสำหรับผู้ฝึกหัดลีลาศใหม่ ๆ ถ้าไม่สามารถเข้าใจจังหวะดนตรี หรือฟังจังหวะดนตรีไม่ออกจะทำให้การฝึกลีลาศเป็นไปด้วยความยากลำบาก นอกจากนี้ยังทำให้ไม่สามารถลีลาศไปตามจังหวะได้ ซึ่งนักลีลาศเรียกกันว่า “ค่อมจังหวะ”

ดนตรี (Music) มีความสำคัญมากในการลีลาศ เพราะเป็นเครื่องกำหนดการให้จังหวะ ซึ่งจะมีเสียงหนัก เสียงเบา มีวรรคตอน มีความเร็วช้าของช่วงจังหวะของเพลงที่แน่นอน ถ้าจังหวะดนตรีไม่ดีการลีลาศก็ไม่ดีตามไปด้วย จังหวะดนตรีนั้นเปรียบเสมือนเป็นหัวใจสำคัญของเพลง

โครงสร้างของดนตรี ประกอบด้วย

1. จังหวะ (beat) หมายถึง เสียงที่เกิดขึ้นและตกบนตัวโน้ตทุกตัว หรือหมู่ของเสียงที่ทำให้เกิดจังหวะขึ้นในห้องเพลง โดยปกติจะตกบนตัวโน้ตตัวแรกของห้องเพลง เช่น จังหวะ 2/4 จังหวะ 3/4 หรือจังหวะ 4/4

2. เสียงเน้น (Accent) หมายถึง เสียงที่เคาะลงบนจังหวะ จะได้ยินชัดเจนมากกว่าเสียงเคาะในห้องเพลง โดยปกติจะตกบนตัวโน้ตตัวแรกของห้องเพลง

3. ห้องเพลง (bar) หมายถึง กลุ่มของจังหวะที่ประกอบกันขึ้นเป็นช่วงหรือตอน ปกติจะอยู่ระหว่างเสียงเน้นเสียงหนึ่งกับเสียงเน้นอีกเสียงหนึ่ง

4. ความเร็ว (Tempo) หมายถึง อัตราความเร็วของดนตรีที่บรรเลงโดยใช้เวลาเป็นตัวกำหนด เช่น ใน 1 นาทีจะบรรเลงกี่ห้องเพลง การหัดฟังจังหวะดนตรีควรเลือกฟังจากดนตรีที่มีเสียงชัดเจน ฟังง่าย ถ้าเป็นดนตรีจังหวะ 2/4 จะได้ยินเสียงเคาะลงบนจังหวะ 2 จังหวะใน 1 ห้องเพลง เสียงที่ได้ยินแต่ละครั้งใน 1 ห้องเพลงนั้น จะมีเสียงหนึ่งเป็นเสียงหนักและอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงเบาต่อเนื่องกันไปทุก ๆ ห้องเพลง การฝึกนับจังหวะจะนับ 1 – 2 , 1 – 2 , 1 – 2 ………… ไปเรื่อย ๆ จนจบเพลง

ทิศทางในการลีลาศ (Line of Dance)

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ทิศทางทวนเข็มนาฬิกา (Counter Clockwise) เป็นทิศทางของการลีลาศซึ่งถือเป็นสากล ดังนั้นในการลีลาศจะต้องลีลาศไปในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ทั้งนี้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งเป็นการป้องกันมิให้ลีลาศไปชนกับคู่อื่น ทิศทางนี้เรียกว่า “แนวลีลาศ” (Line of Dance) ซึ่งนิยมเรียกกันด้วยคำย่อว่า L.O.D.

การลีลาศในแต่ละจังหวะหรือแต่ละลวดลาย (Figure) มีการเริ่มต้นและสิ้นสุดในทิศทางที่แตกต่างกัน ผู้ฝึกลีลาศจึงควรทำความเข้าใจ เกี่ยวกับทิศทางการเคลื่อนที่ในการลีลาศให้ถูกต้องเสียก่อนจะทำให้สามารถฝึกลีลาศได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องตามเทคนิคของการลีลาศ ตำแหน่งการยืนในการลีลาศ (Position of Stand) จะสัมพันธ์กับทิศทางที่ผู้ลีลาศหันหน้าไปในทิศทางต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่ 8 ทิศทาง การเรียกชื่อตำแหน่งที่ยืนจะเรียกตามทิศทางที่หันหน้าไป ดังนี้

1. ยืนหันหน้าตามแนวลีลาศ (Facing Line of Dance)

2. ยืนหันหน้าย้อนแนวลีลาศ (Facing Against Line of Dance)

3. ยืนหันหน้าเข้ากลางห้องหรือกลางฟลอร์ (Facing Centre)

4. ยืนหันหน้าเข้าฝาห้อง (Facing Wall)

5. ยืนหันหน้าเฉียงกลางห้องตามแนวลีลาศ (Facing Diagonally of Centre)

6. ยืนหันหน้าเฉียงฝาตามแนวลีลาศ (Facing Diagonally of Wall)

7. ยืนหันหน้าเฉียงฝาย้อนแนวลีลาศ (Facing Diagonally of Wall Against Line of Dance)

8. ยืนหันหน้าเฉียงกลางห้องย้อนแนวลีลาศ (Facing Diagonally of Centre Against Line of Dance)

การจัดทิศทางและการเคลื่อนไหวเท้า (Alignment and Foot Work)

การจัดทิศทาง (Alignment) การจัดทิศทางมีส่วนสัมพันธ์กับทิศทางในการลีลาศ เป็นส่วนที่อธิบายถึงทิศทางในการลีลาศให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เนื่องจากทิศทางการลีลาศจะบอกเพียงว่า คู่ลีลาศจะเคลื่อนที่ไปทางไหน จึงต้องมีการอธิบายถึงการจัดทิศทาง เพื่อให้เกิดการปฏิบัติเป็นรูปแบบมาตรฐานเดียวกัน โดยจะใช้คำอยู่ 3 คำในการจัดทิศทางคือ หันหน้า (Facing) หันหลัง (backing) และชี้เท้า (Pointing) โดยการหันหน้าหรือหันหลังจะระบุอย่างชัดเจนว่า หันหน้าเข้าฝาห้อง หันหลังเฉียงฝาย้อนแนวลีลาศ เป็นต้น ส่วนการชี้เท้าจะใช้เมื่อก้าวเท้าเดินไปทางด้านข้าง หรือการก้าวเท้าชี้ไปนอกทิศทางที่หันหน้าอยู่ในขณะอย่างถูกต้อง การเคลื่อนไหวเท้า (Foot Work)

การเคลื่อนไหวเท้า หมายถึง การใช้ส่วนของเท้าสัมผัสกับพื้นในแต่ละก้าว (Step) การเคลื่อนไหวเท้ามีประโยชน์ที่จะนำมาปฏิบัติเป็นความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับการวางเท้าให้ถูกต้องในแต่ละก้าว คำที่ใช้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวเท้า มีดังนี้

1. ส้นเท้า (Hell) หมายถึง ให้ส่วนของส้นเท้าสัมผัสพื้นก่อน

2. ปลายเท้า (Toe) หมายถึง ให้ส่วนของโคนนิ้วเท้าถึงปลายนิ้วเท้า สัมผัสพื้นก่อน

3. จุดหมุนของเท้า (ball of Foot) หมายถึง ให้ส่วนของฝ่าเท้าถึงโคนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นก่อน

4. ฝ่าเท้า (Whole Foot) หมายถึง ให้ทุกส่วนของเท้าสัมผัสพื้นก่อน

การฝึกเดินในการลีลาศ (General Outline of The Walk)

มีคำพูดว่า “ถ้าท่านเดินได้ ท่านก็สามารถลีลาศได้” คำพูดนี้คงจะไม่เป็นความจริงนัก เพราะท่าทางการเดินทั่ว ๆ ไปกับการเดินในการลีลาศนั้นไม่เหมือนกัน เพียงแต่มีความสัมพันธ์กันเท่านั้น กล่าวคือ การเดินในการลีลาศ มีการเคลื่อนไหวเท้าทั้งสองข้างติดต่อกันไปบนฟลอร์ลีลาศ ตามลวดลาย (Figure) ของแต่ละจังหวะ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า “คนที่เดินได้ สามารถเรียนรู้และฝึกลีลาศได้” การเดินในการลีลาศแตกต่างไปจากการเดินธรรมดา คือ ขณะเดินไม่ว่าจะก้าวเท้าไปข้างหน้าหรือถอยหลังก็ตาม ปลายเท้าจะชี้ตรงไปข้างหน้าเสมอ เท้าทั้งสองข้างลากผ่านกันจนเกือบสัมผัสกัน และถ่ายน้ำหนักตัวไปยังเท้าที่ก้าวไปใหม่เสมอ ดังนั้น ท่าทางการเดินจึงนับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญในการลีลาศที่ผู้ฝึกลีลาศใหม่ ๆ ควรให้ความสนใจ และฝึกฝนให้ถูกต้องเสียก่อน การจัดทรวดทรงหรือการวางลำตัวที่ดี เป็นบุคลิกภาพที่มีคุณค่าต่อการลีลาศ เพราะทำให้ดูแล้วสง่างามน่ามอง การที่ลีลาศได้แต่ไม่สวยงาม อาจเนื่องมาจากการละเลยหรือไม่ให้ความสนใจในการจัดทรวดทรงของตนเอง เช่น เข่างอ ไหล่ห่อ ท้องยื่น เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ทรวดทรงของบุคคลนั้นอยู่ในลักษณะที่ห่อเหี่ยว ดูเฉื่อยชา ไม่กระฉับกระเฉง หรือมองดูคล้ายกับคนเหนื่อยอ่อน ดังนั้นผู้ที่มีทรวดทรงไม่ดีไม่สง่างาม จะต้องปรับปรุงแก้ไขด้วยการฝึกฝนตนเองบ่อย ๆ ดังนี้

การเดินไปข้างหน้าของผู้ชาย (The Forward Walk Gentlemen)

การจัดทรวดทรง : ยืนตัวตรงหย่อนเข่าเล็กน้อยแต่ไม่ถึงกับย่อเข่า ลำตัวตั้งแต่เท้าถึงศรีษะเอนไปข้างหน้าจนรู้สึกว่าน้ำหนักตัวอยู่ที่ปลายเท้า แต่ส้นเท้าไม่ลอยพ้นพื้น ในการเอนลำตัวไปข้างหน้านั้น พยายามรักษาลำตัวตั้งแต่สะโพกขึ้นไปให้อยู่ในลักษณะตั้งตรง เมื่ออยู่ในท่าลักษณะดังกล่าวแสดงว่าพร้อมที่จะก้าวเดิน

การเคลื่อนไหวขาและเท้า : โดยทั่วไปนิยมให้ผู้ชายเริ่มต้นก้าวเท้าเดินด้วยเท้าซ้ายก่อนในการเริ่มต้น จะเริ่มด้วยการให้น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขาว แล้วก้าวเท้าซ้ายโดยเคลื่อนจากสะโพกไป ข้างหน้า ขณะที่เท้าซ้ายผ่านปลายเท้าขวา ส้นเท้าขวาจะเริ่มยกขึ้นพ้นพื้น และเมื่อก้าวเท้าซ้ายออกไปเต็มที่แล้ว ส้นเท้าซ้ายและปลายเท้าขวาจะสัมผัสพื้นพร้อมกัน ให้วางปลายเท้าซ้ายราบลงกับพื้นทันทีในขณะที่ลำตัวยังคงเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ถ่ายน้ำหนักตัวลงบนเท้าซ้าย การก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า ให้ลากปลายเท้าไปกับพื้นและเคลื่อนผ่านเท้าซ้ายเช่นเดียวกับการก้าวเท้าเดินด้วยเท้าซ้าย การถ่ายน้ำหนักตัวขณะก้าวเท้าเดินจากตำแหน่งที่อยู่กับที่ น้ำหนักตัวส่วนใหญ่จะอยู่บนปลายเท้าก่อนที่จะเริ่มก้าวเท้าออกไป ขณะกำลังก้าวเท้าเดิน น้ำหนักตัวจะอยู่บนเท้าที่ไม่ได้ก้าว และเมื่อก้าวเท้าเกินออกไปเต็มที่แล้ว น้ำหนักตัวจะถูกแบ่งอยู่ระหว่างส้นเท้าหน้ากับปลายเท้าหลัง แล้วค่อย ๆ ถ่ายน้ำหนักตัวไปที่เท้าหน้า เมื่อวางเท้าหน้าลงเต็มเท้าน้ำหนักตัวทั้งหมดจะมาอยู่บนเท้าหน้าทันที ข้อควรระวัง : จากลักษณะท่ายืนอยู่กับที่ จะรู้สึกว่าลำตัวเคลื่อนไปข้างหน้าก่อนเท้า แต่ถ้าเท้าเคลื่อนที่ไปข้างหน้าก่อนลำตัว น้ำหนักตัวจะถูกส่งไปข้างหลังมากเกินไป ตลอดเวลาที่กำลังเดินอยู่ปล่อยเข่าให้สบายและหย่อนเข่าตามธรรมชาติ ขาจะตรงเมื่อก้าวเท้าไปเต็มที่แล้วแต่ไม่ เกร็งเข่า

การเดินถอยหลังของผู้หญิง (The backward Walk Lady)

การจัดทรวดทรง : ยืนตัวตรงปล่อยเข่าตามสบายแต่อย่าให้งอ วางลำตัวเอนไปข้างหลังเล็กน้อยจนน้ำหนักตัวอยู่บนส้นเท้าทั้งสองข้าง การทำเช่นนี้จะไม่ช่วยในการทรงตัวแต่ทำให้มองดูแล้วสง่างาม พยายามอย่าเอนลำตัวไปข้างหลังมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดส่วนโค้งที่ไม่สวยงามของหลังขึ้น ถึงแม้ว่าผู้หญิงจะเอนลำตัวไปข้างหลัง แต่ก็ต้องออกแรงต้านการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของผู้ชายไว้บ้างเล็กน้อย ซึ่งไม่ใช่แรงต้านทั้งตัวแต่จะใช้ส่วนล่างของร่างกายตรงสะโพก มิฉะนั้น จะเป็นการขัดขวางการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของผู้ชาย และทำให้ยากต่อการก้าวเท้าออกนอกคู่ (Outside Partner) ผู้หญิงไม่ควรเอนลำตัวมาข้างหน้า หรือทิ้งน้ำหนักตัวมาข้างหน้าในขณะที่กำลังเดินถอยหลัง เพราะจะทำให้ผู้ชายมีแรงต้านบริเวณหน้าอก และรู้สึกลำบากในการนำผู้หญิง ทั้งยังทำให้ผู้ชายรู้สึกว่าผู้หญิงตัวหนักอีกด้วย การจัดทรวดทรงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก แต่ถ้าได้พยายามฝึกการควบคุมการใช้กล้ามเนื้อขาทั้งสองข้างให้สามารถลดส้นเท้าลงเมื่อเร่งจังหวะในการลีลาศ ก็อาจทำให้สามารถจัดทรวดทรงได้ง่ายขึ้น

การเคลื่อนไหวขาและเท้า : ผู้หญิงจะเริ่มต้นเดินถอยหลังด้วยเท้าขวาก่อน เริ่มด้วยการถ่ายน้ำหนักตัวไปอยู่บนเท้าซ้าย ถอยเท้าขวาไปข้างหลังโดยเคลื่อนออกจากสะโพก เมื่อถอยเท้าขวาผ่านเท้าซ้าย ปลายเท้าซ้ายจะค่อย ๆ ยกขึ้นพ้นพื้น เมื่อถอยเท้าขวาออกไปเต็มที่ปลายเท้าขวาและส้นเท้าซ้ายจะสัมผัสพื้นพร้อมกัน ลำตัวยังคงเคลื่อนที่ไปข้างหลัง ลดส้นเท้าขวาลงบนพื้น ถ่ายน้ำหนักตัวมาอยู่บนเท้าขวา เท้าซ้ายถอยตามเท้าขวาไปข้างหลัง (ถอยด้วยส้นเท้า) เมื่อเท้าซ้ายถอยมาอยู่ระดับเดียวกับเท้าขวา ปลายเท้าซ้ายจึงจะสัมผัสพื้น สำหรับการเดินถอยหลังด้วยเท้าซ้าย ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการเดินถอยหลังด้วยเท้าขวา การถ่ายน้ำหนักตัวในขณะที่เดินถอยหลังจากตำแหน่งที่อยู่กับที่ น้ำหนักตัวจะอยู่บนส้นเท้าก่อนเริ่มเดินถอยหลัง เมื่อก้าวเท้าเดินถอยหลังน้ำหนักตัวจะอยู่บนเท้าที่ไม่ได้ก้าว และเมื่อถอยเท้าไปข้างหลังเต็มที่แล้วน้ำหนักตัวจะอยู่ระหว่างส้นเท้าหน้ากับปลายเท้าหลัง แล้วค่อย ๆ ถ่า

คำสำคัญ (Tags): #การเต้นลีลาศ
หมายเลขบันทึก: 577519เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2014 11:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2014 11:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท