เมื่อหนูต้องการความใส่ใจเป็นพิเศษ


วันนี้จะมาเล่าถึงการทำงานในการดูแลเด็กกลุ่มหนึ่งซึ่งเขาต้องการความใส่ใจดูแลเป็นพิเศษ โดยความคิดนี้ 

ได้รับการจุดประกายจากสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย ) ซึ่เป็นโครงการปฏิบัติการระดับชาติ

เพื่อวางแผนป้องกันและดูแลรักษาความพิการแต่กำเนิดในประเทศไทย      


                                                   


โดยมีวัตถุประสงค์

1.เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโรคที่ทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิดและรู้จักวิธีป้องกัน

2.เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการป้องกันความพิการแต่กำเนิด

3.เพื่อให้ผู้พิการแต่กำเนิดในอำเภได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม

และโรงพยาบาลแกลง ได้รับเลือกให้เป็นโรงพยาบาลต้นแบบ ในการดูแลเด็กพิการ 5 โรค นั่นคือ

  • -กลุ่มอาการดาวน์
  • -ปากแหว่งเพดานโหว่
  • -ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด
  • -ภาวะแขน ขาพิการแต่กำเนิด
  • -ภาวะกล้ามเนื้อเสื่อมพันธุกรรม(ดูเชน)

วิธีดำเนินงาน

       จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน เมื่อวันที่ 4 ก.ค.2557

มีการประสานงานเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการอำนวยการจากผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อดำเนินงานโครงการ

ผู้รับผิดชอบดำเนินงาน

-โรงพยาบาลแกลง

-สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแกลง

-รพ.สต.ในเขตอำเภอแกลง

-สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18

-สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 2

-เทศบาล/อบต.ทุกแห่งในอำเภอแกลง

-ประธานชมรมคนพิการอำเภอแกลง

โดยมีวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า เป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินงาน

                                             


ทางคณะกรรมการดำเนินงาน ได้เริ่มดำเนินการ

1. จัดตั้งกองทุนเพื่อ การช่วยเหลือค่ารักษา ค่าเดินทาง ดูแลกลุ่มพิการ จาก อบต.และ อปท.

2. มีการประสานงานเพื่อการดำเนินทำบัตรผู้พิการ

3. มีการสำรวจผู้พิการให้ครอบคลุมทั้งอำเภอแกลงเพื่อขึ้นทะเบียน Birth defect register

4. มีการเชื่อมโยงกับท้องถิ่นและมีคณะทำงานเพื่อการประสานงาน

5. จัดตั้งคลินิกเด็กพิการในโรงพยาบาลแกลงเพื่อการดูแลต่อเนื่อง

    โดยได้ดำเนินการจัดตั้งคลินิกดูแลเด็กพิการในวันจันทร์บ่ายที่ 3 ของทุกเดือน ร่วมกับการดูแลเด็กในคลินิกกระตุ้น

    พัฒนาการทุกวันจันทร์บ่าย

                                        


ปัญหาอุปสรรคการดูแลเด็กพิการ

1. มีบางรายที่ไม่มารับการรักษาต่อเนื่องได้ มีปัญหาทางเศรษฐกิจในการเดินทาง ผู้ปกครองต้องทำงาน ไม่มีเวลา

2.จำเป็นต้องส่งต่อรพ.จังหวัดในการดูแล เนื่องจากขาดอุปกรณ์ทางการแพทย์ และแพทย์ชำนาญเฉพาะทาง

3. การดำเนินการทำบัตรผู้พิการล่าช้า 

4. ขาดแคลนเครื่องมือที่ใช้กระตุ้นพัฒนาการ เช่น ราวฝึกเกาะยืน บันไดการฝึกก้าวเดิน ลูกบอลทรงตัว 

5. ขาดแคลนบุคลาการในคลินิกเด็กพิการ ซึ่งในปัจจุบัน มีเพียงกุมารแพทย์ 1 คน และพยาบาลวิชาชีพ 1 คน 

    แต่เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้ต้องการการดูแลไม่ว่าจะเป็นทั้งทางร่างกาย พัฒนาการ รวมทั้งการดูแลทางด้านจิตใจ

    ทั้งต่อตัวเด็กเองและผู้ปกครอง ทำให้ต้องใช้เวลาและความใส่ใจมากเป็นพิเศษ


             บันทึกฉบับนี้เป็นบันทึกเริ่มต้นของเรื่อง "  เมื่อหนูต้องการความใส่ใจเป็นพิเศษฉบับหน้าจะมาเล่าให้ฟังต่อนะคะ

ว่าเมื่อเด็กๆไปที่คลินิกเด็กพิการ เรามีวิธีการสอนเด็กๆกลุ่มนี้อย่างไร เราเจอปัญหาและอุปสรรคอะไร

ขอให้ความตั้งใจที่จะทำสิ่งดีๆต่อพวกเขา มีคนสนับสนุนและเห็นว่าการช่วยเหลือเด็กพิการเป็นสิ่งที่สำคัญในสังคมไทยนะคะ ...

หมายเลขบันทึก: 577427เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2014 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2014 11:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีปีใหม่ครับ

ขอบคุณที่เหนื่อยกันมาทั้งปี สู้ สู้ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท