การจัดการศึกษาของประเทศในอาเซียน


การจัดการศึกษาของประเทศในอาเซียน

ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับ

              การศึกษาของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นอาณานิคมของสเปนและสหรัฐอเมริกา คนฟิลิปปินส์จึงพูดภาษาอังกฤษได้จำนวนมาก การศึกษาของประเทศฟิลิปปินส์มีทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ แบบที่เป็นทางการมี 3 ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ระดับประถมศึกษาจะใช้เวลาศึกษาภาคบังคับ 6 ปี ของโรงเรียนรัฐบาล หรือ 7 ปีในโรงเรียนเอกชน การเรียนของอนุบาล เป็นการเตรียมพร้อมให้สู่การศึกษาที่สูงขึ้น เรียนเกี่ยวกับตัวอักษร ตัวเลข ใช้ภาษาฟิลิปปินส์ในการสอน (ยังไม่ใช้ภาษาอังกฤษ) การศึกษาที่ไม่เป็นทางการเป็นการรับรู้นอกโรงเรียนโดยจัดเพื่อกลุ่มเฉพาะ เช่น ผู้ใหญ่หรือเยาวชนที่ไม่สามารถเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยได้ คือ หลักสูตรการศึกษาบูรณาการการเขียนและการอ่านเบื้องต้นเข้ากับทักษะประจำวัน นำไปใช้ได้ ประเทศฟิลิปปินส์ระบบการศึกษาจะใกล้เคียงกับการศึกษาเป็นทางการของสหรัฐอเมริกา ประเทศฟิลิปปินส์ใช้การเรียนการสอนส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ วิชาอื่นๆ จะสอนเป็นภาษาฟิลิปปินส์บ้าง

              การศึกษาของประเทศเวียดนาม มีการจัดการศึกษาไว้ 5 ลักษณะ คือ

              1.การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา

              2.การศึกษาสามัญ

                     -ระดับประถมศึกษาเป็นการศึกษาภาคบังคับ 5 ปี ชั้น 1-5

                     -ระดับมัธยมตอนต้น ชั้น 6-9

                     -ระดับมัธยมปลาย ชั้น 10-12

             3.การศึกษาด้านเทคนิคและอาชีพ

             4.การศึกษาระดับอุดมศึกษา

             5.การศึกษาต่อเนื่อง เป็นการศึกษาของประชาชนที่พลาดโอกาสการศึกษา

              การศึกษาของประเทศเวียดนาม เป็นการศึกษาพื้นฐาน 12 ปี เวียดนาม  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนมีวิญญาณในความเป็นสังคม มีเอกลักษณ์ประจำชาติ มีความสามารถด้านอาชีพ

               การศึกษาของประเทศกัมพูชา สมัยก่อนไม่มีโรงเรียน การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง เศรษฐกิจสังคม นำไปสู่การปฏิรูปด้านการศึกษาของกัมพูชา ยึดแบบการศึกษาแบบฝรั่งเศส มีการศึกษาภาคบังคับ 13 ปี ภายหลังกระทรวงการศึกษาใช้ระบบการศึกษาแบบ 10 ปี และขยายเพิ่มเป็น 11 ปี และมีการพัฒนาระบบการศึกษามีการปฏิรูปการศึกษา มีการพัฒนาตำราและเทคนิคการสอนใหม่ๆ และนำการศึกษาแบบ 12 ปีมาใช้โดยจะแบ่งเป็นการศึกษาก่อนประถมศึกษา 3 ปี ประถมศึกษา 6 ปี มัธยมตอนต้น 3 ปี มัธยมตอนปลาย 3 ปี และระดับอุดมศึกษา 4-7 ปี ส่วนการจัดการเรียนด้านอาชีวะและเทคนิค 1 ปี ไปจนถึง 3-5 ปี

              การศึกษาของประเทศสิงค์โปร์ ประชากร คือทรัพยากรที่ที่สำคัญที่สุดของประเทศ จึงให้ความสำคัญกับการศึกษามาก การศึกษาภาคบังคับของสิงค์โปร์ต้องเรียนรู้ 2 ภาษาควบคู่กันไป คือภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก และเลือกเรียนภาษาแม่อีก 1 ภาษา คือ จีน มาเลย์ ทมิฬ เด็กที่มีอายุ 2-5 ปี จะเข้ารับการเตรียมความพร้อมในโรงเรียน ระดับประถมศึกษาของสิงค์โปร์แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ป.1-4 และ ป.5-6 ชั้นต้นจะเรียน 3 วิชาหลัก ภาษาอังกฤษ ภาษาแม่ คณิตศาสตร์ แต่ช่วงประถมปลายจะถูกแยกเป็น 3 กลุ่ม EM1EM2EM3 การแยกเข้ากลุ่มทางภาษาขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคน เมื่อจบ ป.6 จะมีการสอบ (PSLE) เพื่อจะเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา ผลการสอบมีส่วนสำคัญในการศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษาของสิงค์โปร์แบ่งออกเป็น 4 ภาคเรียน ภาคเรียนละ 10 สัปดาห์ เริ่มเปิดการศึกษาตั้งแต่วันที่ 2 มกราคมของทุกปี

คำสำคัญ (Tags): #อนุทิน5
หมายเลขบันทึก: 577317เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2014 22:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กันยายน 2014 22:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท