After Action Review 3 อบรมทิศทางและแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2557 โดย ท่าน รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์


After Action Review 3

อบรมทิศทางและแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2557

โดย ท่าน รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์

นางสาวศุภรัตน์ ภิรมย์ชม รหัสนักศึกษา 57D0103117 ป.โท สาขาหลักสูตรและการสอน ภาคพิเศษ รุ่นที่13 หมู่1

รายวิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ 102611

วันที่บันทึก วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

อาจารย์ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์

     วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ได้เข้ารับการอบรมทิศทางและแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 โดย ท่าน รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์ โดยได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ต่างๆ

ทักษะของเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 = E (4R+7C) ซึ่ง E คือ Ethical Person(ผู้มีคุณธรรม จริยธรรม) ส่วน 4R จะเน้นทักษะกลุ่มย่อย 3 ทักษะ คือ รู้หนังสือ รู้จำนวน และใช้เหตุผล ส่วน 7C คือ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการคิด ทักษะการทำงาน ทักษะการสื่อสาร ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ทักษะอาชีพ และทักษะการใช้ชีวิต

     กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน หรือ 5 STEPs จะมีขั้นตอน คือ 1)ขั้นระบุคำถาม เป็นขั้นตอนที่ทำให้นักเรียนสงสัย ให้นักเรียนคาดคะเนคะตอบหรือตั้งสมมติฐานรายบุคคล 2)ขั้นแสวงหาสารสนเทศ เป็นขั้นที่นักเรียนทดสอบสมมติฐาน เพื่อหาคำตอบ 3)ขั้นสร้างความรู้เป็นขั้นที่นักเรียนร่วมกันสรุปผล ครูเชื่อมโยงความรู้ให้กันนักเรียน ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดเพื่อเสริมความเข้าใจ 4)ขั้นสื่อสาร เป็นขั้นที่ให้นักเรียนนำเสนอความรู้หน้าชั้นเรียน 5)ขั้นตอบแทนสังคม เป็นขั้นที่นักเรียนประยุกต์ความรู้หรือนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ในครอบครัว ในชุมชน

     การสอนแบบนิรนัยและแบบอุปนัย การสอนแบบนิรนัย เป็นวิธีที่เน้นครูเป็นศูนย์กลาง จะเน้นด้านเนื้อหา ความรู้เป็นหลัก ใช้กระบวนการ 3P teaching model คือ Presentation=>Practice=>Production(บอก/อธิบาย=>ทำแบบฝึกหัด=>นำความรู้ไปใช้สร้างชิ้นงาน) ครูเป็น Teacher นักเรียนเป็น Listener ส่วนการสอนแบบอุปนัย เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง จะเน้นทั้งด้าน K P และ A โดยใช้กระบวนการ CIP-3P teaching model คือ สร้างความรู้=>ปฏิสัมพันธ์=>กระบวนการเรียนรู้=>บอก/อธิบาย=>ทำแบบฝึกหัด=>นำความรู้ไปใช้สร้างชิ้นงาน ครูเป็น Facilitator นักเรียนเป็น Learner

    การเรียนรู้เน้นทีม (LT) จะมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ดังนี้คือ 1)แบ่งกลุ่ม และเข้ากลุ่ม 2)กำหนดบทบาทสมาชิก ได้แก่ หัวหน้ากลุ่ม สมาชิก ผู้นำเสนอ 3)ใช้กระบวนการกลุ่มแจกใบกิจกรรม 4)แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่ม 5)แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มอื่นๆ 6)กลับกลุ่มตนเอง ปรับปรุงงานจากการสะท้อนความคิดจากกลุ่มอื่นๆ 7)นำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน 8) เด็กสร้างความรู้ แล้วสร้างผัง GOs นำเสนอ

    จากการอบรมครั้งนี้ ดิฉันคิดว่า ได้รับความรูในหลายๆเรื่องที่ดิฉันไม่เข้าใจ เมื่อเข้ารับฟังการอบรมแล้วทำให้ดิฉันเข้าใจมากขึ้นสำหรับวิธีการสอนในรูปแบบต่างๆ ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้จริง

     สิ่งที่ดิฉันจะนำไปประยุกต์ใช้ก็คือการเรียนการสอนแบบอุปนัย โดยเน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง จะเน้นทั้งด้าน K P และ A ให้กับผู้เรียน ซึ่งครูเป็น Facilitator นักเรียนเป็น Learner ดิฉันคิดว่าน่าจะใช้ได้ดีกับวิชาวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เด็กสร้างความรู้ด้วยตนเอง มีปฏิสัมพันธ์ที่ดี และรู้จักใช้กระบวบการเรียนรู้

คำสำคัญ (Tags): #ljkk
หมายเลขบันทึก: 577246เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2014 12:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กันยายน 2014 12:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท