บันทึกอนุทินครั้งที่ 2 เรื่อง รับฟังบรรยาย การศึกษาในประเทศสมาชิกอาเซียน 4 ประเทศ


บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

เรื่อง รับฟังบรรยาย การศึกษาในประเทศสมาชิกอาเซียน 4 ประเทศ

รายวิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ 102611

วันที่เข้ารับฟังบรรยาย วันอาทิตย์ ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วันที่บันทึก วันจันทร์ ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557

อาจารย์ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์

ผู้บันทึก นางสาวศุภรัตน์ ภิรมย์ชม รหัสนักศึกษา 57D0103117 ป.โท หลักสูตรและการสอน ภาคพิเศษ รุ่นที่ 13 หมู่ 1

1 . การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าห้องเรียน/ความคาดหวัง

     ได้ศึกษาเรื่อง การจัดการความรู้ หรือ Knowledge Management เป็นการรวบรวมองค์ความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่ในองค์กรนั้นๆ มาพัฒนาให้เป็นระบบเดียวกัน เพื่อให้คนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ของบุคคลอื่นได้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

     ความรู้ คือ ประสบการณ์ต่างๆ จากการเล่าเรียน จากการค้นคว้า ค้นพบ สิ่งที่เราได้ยิน ได้ฟัง รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติ ดังนั้น การรวบรวมองค์ความรู้ก็คือการรวบรวบประสบการณ์ทำงานเข้าด้วยกันเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเอง

      ซึ่งการจัดการความรู้นั้น มีเป้าหมายอยู่ 4 หัวข้อคือ 1)พัฒนางาน 2)พัฒนาคน 3)พัฒนาฐานความรู้ขององค์กร และ 4)พัฒนาองค์กร โดยจะมีองค์ประกอบหลัก คือ คน สังคม-วัฒนธรรมองค์กร กระบวนการจัดการความรู้ และเทคโนโลยี ส่วนประโยชน์จากการจัดการความรู้นี้ก็คือ การสร้างนวัตกรรม เพิ่มคุณภาพองค์กร ลดอัตราการลาออก ลดเวลาการบริหาร ลดค่าใช้จ่าย ปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กร และเพิ่มผลผลิต

      และสิ่งที่ดิฉันอยากรู้ คือ ทำไม KM เกิดขึ้นมาได้ มีเหตูผลอะไรที่ทำให้เกิด KM ขึ้นในองค์กรนั้นๆ

2. ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากการฟังบรรยาย

จากการฟังบรรยาย การศึกษาของประเทศฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และกัมพูชา ณ หอประชุมฯ 70 ปี สิ่งที่ได้รับคือ การจัดการศึกษาของแต่ละประเทศ และความคิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับการศึกษาไทย

การศึกษาของประเทศฟิลิปปินส์

      ประเทศฟิลิปปินส์เคยตกเป็นอาณานิคมของสเปน และสหรัฐอเมริกาเมื่อหลายร้อยปีก่อน ทำให้คนในประเทศเก่งภาษาอังกฤษ พูดภาษาอังกฤษได้เยอะ การศึกษาในประเทศฟิลิปปินส์มีการแข่งขันสูงมาก มีการปรับหลักสูตรอยู่ตลอดเวลา และพร้อมที่จะเข้าสู่อาเซียนอย่างเต็มตัว ปัจจุบันประเทศฟิลิปปินส์ได้ปรับเปลี่ยนหลักสูตร คือ หลักสูตร K-12 program เป็นหลักสูตรที่สอน ประถม 6 ปี(6-11 ขวบ) ม.ต้น 4 ปี(12-15 ขวบ) ม.ปลาย 2 ปี(16-17 ขวบ) การศึกษาจะเน้นเสริมสร้างทักษะเป็นนักลงทุนในอนาคต

     การจัดการเรียนการสอนชั้นอนุบาล จะเป็นการเตรียมพร้อมเด็ก จะเรียนเกี่ยวกับ ตัวอักษร ตัวเลข ความแตกต่างของสี การเต้น การร้องเพลง โดยใช้ภาษาฟิลิปปินส์ในการสอน(ยังไม่ใช้ภาษาอังกฤษ)

     การจัดการเรียนการสอนชั้นประถม จะเริ่มเรียนภาษาอังกฤษ เน้นทักษะการอ่าน ในชั้นประถมจะเน้น 2 ภาษาในการสอนคือ ภาษาฟิลิปปินโน(ภาษาถิ่น) กับภาษาอังกฤษ

      การจัดการเรียนการสอน ชั้น ม.ต้นโดยจะเรียนเป็นเกรด 7-10

เกรด 7 อายุ 12 ขวบ เรียนเกี่ยวกับ Integrated science

เกรด 8 อายุ 13 ขวบ เรียนเกี่ยวกับ Biology

เกรด 9 อายุ 14 ขวบ เรียนเกี่ยวกับ Chemistry

เกรด 10 อายุ 15 ขวบ เรียนเกี่ยวกับ Physios

     การจัดการเรียนการสอน ชั้น ม.ปลาย จะเป็นการเรียนเพื่อเตรียมเข้าสู่มหาวิทยาลัย จะเน้นในเรื่อง ภาษา วรรณคดี การสื่อสาร วิทยาศาสตร์ ปรัชญา คณิตศาสตร์ และประวัติศาสตร์

การศึกษาของประเทศเวียดนาม

    ระบบการศึกษา ขั้นพื้นฐาน 12 ปี การจัดเวลาเรียน เช้า 07.77-11.30 น.บ่าย 13.00-17.30 น. เรียนวันจันทร์ ถึง วันเสาร์ วันละ 4 – 5 วิชาๆ ละ 45 นาที เรียน 2 ภาคเรียน ภาคเรียนที่ 1 เดือนกันยายน – ธันวาคม ภาคเรียนที่ 2 เดือนมกราคม – พฤษภาคม ส่วนเดือน มิถุนายน – สิงหาคม เป็นช่วงพักร้อน

     การจัดการเรียนการสอน ม.ต้น เน้นเรียนทุกวิชาเท่าๆ กัน ส่วน ม.ปลาย จะแบ่งเป็นสายการเรียนตามความสามารถ สาย A เรียนคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี สาย B เรียนคณิตศาสตร์ เคมี ชีวะ สาย C เรียนวรรณคดี ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สาย D เรียนภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ

     การตัดเกรด เต็ม 10 จะแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วง 8.5 – 10 อยู่ในระดับดีเยี่ยม (แต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า 6.5) ช่วง 6.5 – 8.4 อยู่ในระดับดี (แต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า 5.0) ช่วง 3.5 – 6.4 อยู่ในระดับผ่าน (แต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า 3.5) และถ้ามีวิชาใดวิชาหนึ่งต่ำกว่า 3.5 ต้องเรียนใหม่ทุกวิชา

การศึกษาของประเทศกัมพูชา (คล้ายประเทศไทย)

    สมัยก่อนไม่มีโรงเรียน ผู้ชายไปเรียนที่วัด ผู้หญิงไม่ได้เรียน ปัจจุบัน การเรียนแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ อนุบาล(3-5 ขวบ) ประถม(6-11 ขวบ) ม.ต้น(12-14 ขวบ) ม.ปลาย(15-17 ขวบ) 18 – 24 เรียนมหาวิทยาลัย

     การศึกษาของประเทศสิงคโปร์ ประชากร คือทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของประเทศ เพราะฉะนั้นจึงให้ความสำคัญทางศึกษา หนังสือเรียนเป็นภาษาอังกฤษ การเรียนเริ่ม วันที่ 2 มกราคม ของทุกปีเรียน 4 เทอมๆ ละ 10 สัปดาห์ ปิดเทอมเดือนครึ่ง ระดับการเรียนแบ่งเป็น ก่อนอนุบาล(ไม่บังคับ) อนุบาล ประถม มัธยม

     การเรียนระดับประถม ใช้หลักสูตรเดียวกันกับไทย จบแล้วเข้าสอบวัดระดับเพื่อเรียนมัธยม โดยการสอบวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ การเรียนระดับมัธยม ถูกแยกสาขา เป็น พิเศษ 4 ปี และธรรมดา 5 ปี แยกเพื่อปลูกฝังให้เด็กรู้ตัวตนกับอาชีพของตน เมื่อจบมัธยม เข้าเรียนมหาวิทยาลัยโดยแยกสาขาตามถนัด

ความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ของแต่ละประเทศ เกี่ยวกับการศึกษาไทย

     การศึกษาฟิลิปปินส์กับไทย ฟิลิปปินส์จะใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน ไม่ใช้ภาษาถิ่น แต่ประเทศไทยใช้ภาษาไทยในการเรียนการสอน ส่วนการประเมินผล ประเทศไทยชอบประเมินให้นักเรียนผ่านโดยไม่ค่อยให้นักเรียนเรียนซ้ำชั้น จึงทำให้นักเรียนไทยไม่มีประสิทธิภาพ

     การศึกษาประเทศสิงคโปร์กับไทย ประเทศสิงคโปร์เน้นให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง พ่อแม่ของเด็กคอยผลักดันลูกอยู่ตลอดเวลา แต่ประเทศไทยเด็กไม่ค่อยเรียนรู้ด้วยตนเอง ให้ครูเป็นคนป้อนความรู้อยู่ตลอดเวลา ทำให้ระเบียบวินัยทั้งครูและนักเรียนยืดหยุ่น จึงเกิดการขาดระเบียบวินัยทั้งครูและนักเรียน

    การศึกษาประเทศเวียดนามกับไทย เวียดนามจะเน้นทักษะด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ไม่มีกิจกรรมเยอะเหมือนประเทศไทย เวียดนามใช้เวลาว่างในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เข้าห้องสมุด เรียนพิเศษ แต่เด็กไทยใช้เวลาว่างในการเล่น เที่ยว หาความสนุก ไม่สนใจหาความรู้ ครูเวียดนามเน้นให้เด็กทำทุกอย่างด้วยตนเอง เรียนรู้ด้วยตนเอง แต่ครูไทยทำทุกอย่างให้เด็ก

     การศึกษาประเทศกัมพูชากับไทย เด็กกัมพูชาจะตั้งใจเรียนเพราะกลัวสอบตก ตรงต่อเวลา แต่เด็กไทยไม่ตั้งใจเรียน เรียนพอจบๆ ไป และนักเรียนไทยไม่ตรงต่อเวลา ทำให้ขาดระเบียบวินัยในตนเอง การศึกษาจึงไม่มีประสิทธิภาพ

3. บรรยากาศในการฟังบรรยาย

     นักศึกษาตั้งใจฟังเป็นอย่างมาก และช่วยกันวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการศึกษาในประเทศไทย เมื่อได้รับฟังก็รู้สึกภูมิใจที่ได้รับฟังบรรยายในครั้งนี้ เพราะทำให้เรามองเห็นปัญหาของเด็กมากยิ่งขึ้น และได้ทราบถึงการจัดการเรียนการสอนของแต่ละประเทศเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหานักเรียนไทยของเรา

คำสำคัญ (Tags): #pukky
หมายเลขบันทึก: 577240เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2014 12:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กันยายน 2014 12:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท