​Story Teelling เรื่อง กล้าคิดกล้าทำ


Story Teelling

เรื่อง กล้าคิดกล้าทำ

รายวิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ 102611

วันที่บันทึก วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557

อาจารย์ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์ อาจารย์สิริรัตน์ นาคิน

ผู้บันทึก นางสาวศุภรัตน์ ภิรมย์ชม รหัสนักศึกษา 57D0103117 ป.โท หลักสูตรและการสอน ภาคพิเศษ รุ่นที่ 13 หมู่ 1

          เรื่องราวที่ดิฉันประสบความสำเร็จ ขอเล่าเรื่องราวระหว่างช่วงฝึกสอน ตอนปริญญาตรี ปีที่ 5 ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา ดิฉันได้รับหน้าที่การสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากการสอบถามประวัติของนักเรียนห้องนี้แล้วได้ทราบว่า เป็นนักเรียนที่เกเรที่สุดในระดับชั้น ขาดเรียนมากที่สุด หนีเรียนบ่อยที่สุด ติด 0 ร มส. เยอะที่สุดในระดับชั้น มีปัญหาเยอะที่สุด และนักเรียนห้องนี้จะไม่เกรงใจครู โดยเฉพาะครูฝึกสอน เมื่อเราทราบประวัติของนักเรียนห้องนี้แล้ว ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกท้อ แต่ดิฉันก็ไม่สามารถที่จะปฏิเสธการสอนนักเรียนห้องนี้ได้ เพราะทางโรงเรียนจัดตารางสอนให้กับครูทุกคนเรียบร้อยแล้ว เมื่อดิฉันเข้าพบนักเรียนห้องนี้วันแรก นักเรียนมาโรงเรียนแค่ครึ่งห้องเท่านั้น ดิฉันได้แจกคำอธิบายรายวิชา การให้คะแนน และการตัดเกรดให้นักเรียนได้ศึกษา จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า นักเรียนไม่สนใจเรียน ไม่มีความเกรงใจ แม้กระทั่งตอนที่ดิฉันแนะนำตัว นักเรียนก็ไม่สนใจ ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปด้วยความยากลำบาก ดิฉันจึงตัดสินใจถามนักเรียนว่า “ทำไมถึงไม่ตั้งใจเรียน ไม่สนใจเรียน” นักเรียนหลายคนตอบคำถามมาว่า วิทยาศาสตร์เรียนยาก เรียนแล้วไม่เข้าใจ เป็นวิชาที่น่าเบื่อ เรียนไปก็ไม่รู้เรื่อง สับสน ต้องใช้สมองเยอะ และเด็กไม่มีทักษะทางวิทยาศาสตร์ จะไม่ชอบเรียนวิทยาศาสตร์ ซึ่งวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่น่าเบื่อสำหรับนักเรียนห้องนี้มาก

         ดิฉันจึงได้คิดหาวิธีแก้ปัญหาเหล่านี้ โดยการให้นักเรียนเรียนด้วยการทดลองทุกคาบ ซึ่งจะใช้กระบวนการกลุ่มในการจัดการเรียนรู้ โดยดิฉันจะอธิบายทฤษฎีให้นักเรียนฟังก่อน และอธิบายขั้นตอนวิธีการทดลองโดยการวาดภาพประกอบเพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น พร้อมให้นักเรียนแต่ละกลุ่มบันทึกลงในสมุด หลังจากนั้นก็ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำการทดลองโดยการจับเวลา กลุ่มไหนเสร็จก่อนและถูกต้องที่สุดจะได้คะแนนเพิ่ม +1 และให้บันทึกการทดลองโดยทำลงในใบกิจกรรมที่ครูได้เตรียมไว้ โดยให้คะแนนความสวยงามที่สุด +1 และคะแนนตัวหนังสือสวย +1 ด้วยเช่นกัน หลังจากนั้นครูและนักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปโดยการเล่นเกมส์ตอบคำถามสะสมแต้ม(คาบละ 10 แต้ม) หลังจากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มรวมคะแนนที่ได้จากคะแนนความถูกต้อง รวดเร็ว คะแนนตัวหนังสือสวย คะแนนความสวยงาม ของกลุ่มตนเอง กลุ่มไหนได้คะแนนมากสุดจะได้สติกเกอร์รูปดาว สะสมคะแนนเป็นรายกลุ่มจำนวน 5 ดวง และไล่ระดับ 4 ดวง 3 ดวง 2 ดวง และ 1 ดวง ตามลำดับคะแนน เมื่อจบภาคเรียนก็จะมีของขวัญเล็กๆน้อยๆ ให้ตามลำดับดวงดาวที่ได้รับ ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นนักเรียนอีกวิธีหนึ่ง

        สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ นักเรียนสนใจเรียนกันมากขึ้น นักเรียนที่ไม่มีทักษะทางวิทยาศาสตร์ก็ให้ความสนใจมากขึ้น นักเรียนตั้งใจเรียนกันอย่างสนุกสนาน มีความสุขในการเรียน ไม่หนีเรียน และให้ความสำคัญกับวิชาวิทยาศาสตร์มากขึ้น ดิฉันรู้สึกภูมิใจเมื่อได้เห็นนักเรียนรักที่จะเรียนวิทยาศาสตร์ ถึงจะเหนื่อยแต่ก็คุ้มค่า สำหรับครู

คำสำคัญ (Tags): #pukky
หมายเลขบันทึก: 577232เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2014 12:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กันยายน 2014 12:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท