แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดบางลำภู(2555-2558)


แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดบางลำภู(2555-2558).doc

แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

โรงเรียนวัดบางลำภู

(Strategy Planning)

พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๘

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๑

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ

เอกสารหมายเลข ๒/๒๕๕๕คำนำ

แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดบางลำภู (Strategy Planning) พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๘ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับนโยบายของต้นสังกัด ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ของโรงเรียนและเหมาะสมกับบริบทของชุมชน ซึ่งประกอบด้วย สภาพปัจจุบัน ผลการศึกษาสถานภาพของสถานศึกษา ทิศทางของการศึกษา กลยุทธ์การจัดการศึกษา ซึ่งคณะผู้จัดทำ ได้ทำการวิเคราะห์สถานภาพของโรงเรียน ปัจจัยสิ่งแวดล้อม นำมาทำข้อมูล ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ และตัวชี้วัด และได้นำมาจัดทำแผนงานที่ประกอบด้วยโครงการต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จ ตามกลยุทธ์ที่กำหนด ในระหว่างปีการศึกษา ๒๕๕๕-๒๕๕๘

ขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนวัดบางลำภู ฉบับนี้จนสำเร็จเรียบร้อยด้วยดี ไว้ ณ โอกาสนี้ และแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาฉบับนี้จะเป็นแผนแม่บทของโรงเรียน อันจะนำโรงเรียนไปสู่เป้าประสงค์ที่วางไว้ต่อไป

โรงเรียนวัดบางลำภู

๙ เมษายน ๒๕๕๕

สารบัญ

เรื่อง หน้า

ส่วนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป

ประวัติโรงเรียน ๑

สภาพปัจจุบันของโรงเรียน ๑

ภารกิจของโรงเรียน ๑๒

ส่วนที่ ๒ สถานภาพสถานศึกษา

ผลการประเมินสถานภาพของสถานศึกษา ๑๓

ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ๒๖

ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal analysis) ๒๙

ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External analysis) ๓๒

ส่วนที่ ๓ ทิศทางของโรงเรียน

วิสัยทัศน์ (Vision) ๓๔

พันธกิจ (Mission) ๓๔

เป้าประสงค์ (Goal) ๓๕

ส่วนที่ ๔ กลยุทธ์การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน(Strategy)

กลยุทธ์ระดับโรงเรียน ๓๖

ส่วนที่ ๕ กรอบกลยุทธ์ ๓๗

ส่วนที่ ๖ โครงการและกิจกรรมสนับสนุนกลยุทธ์ ๔๗

ส่วนที่ ๗ แนวทางการบริหารแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน

การบริหารแผน ๕๑

การกำกับติดตาม ๕๑

ระบบการติดตามประเมินผล ๕๒

ภาคผนวก

ส่วนที่ ๑

ข้อมูลทั่วไป

. ประวัติของโรงเรียน

โรงเรียนวัดบางลำภู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๑สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 4 ตำบลบางครกอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๔ โดยอาศัยศาลาของวัดเป็นที่เรียน มี นายณรงค์ แก้วเนตร เป็นครูใหญ่คนแรก จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๐๘ เจ้าอาวาสวัดบางลำภู พร้อมผู้ปกครองนักเรียนใช้ร่วมกันจัดหาเงินสมทบกับงบประมาณของทางราชการ สร้างอาคารเรียน แบบ ป.๑ ข. ขึ้น ๑หลัง ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ พระครูโสภิตวัชรกิจเจ้าอาวาสวัดบางลำภู เห็นว่าอาคารเรียนตั้งอยู่ในสถานที่ไม่เหมาะสมจึงได้จัดซื้อที่ดิน ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับวัดโดยมีแม่น้ำเพชรบุรีกั้นเป็นที่หมู่ที่ ๔ ตำบลบางครก จำนวน ๔ไร่ พร้อมรื้อย้ายอาคารเรียนและของบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ ๐๑๗ ขึ้น ๑ หลัง มี ๘ ห้องเรียน เปิดทำการสอนตั้งแต่ ชั้นอนุบาลปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

๒.สภาพปัจจุบันของโรงเรียน

ปัจจุบันโรงเรียนวัดบางลำภู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๑สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 4 ตำบลบางครกอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี รหัสไปรษณีย์ ๗๖๑๑๐ โทรศัพท์ (๐๓๒)๔๐๙๔๑๓ โทรสาร (๐๓๒)๔๐๙๔๑๓ E –mail [email protected]www.banglumpoo.net

พื้นที่ตั้งของโรงเรียนอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางครก ระยะทางจากโรงเรียนถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๑ เป็นระยะทาง ๑๑ กิโลเมตร จากโรงเรียนถึงที่ว่าการอำเภอบ้านแหลม เป็นระยะทาง 4 กิโลเมตร

จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีนักเรียนทั้งสิ้น 78 คน

ครูสายผู้สอน ๑ คน ครูอัตราจ้าง ๑ คน พี่เลี้ยงเด็กอนุบาล ๑ คน นักการภารโรง ๑ คน มีนายตรีศูล พงษ์พันธุ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา

ปรัชญาโรงเรียน

ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ “Everyone can learn”

คำขวัญโรงเรียน

ความรู้ดี คุณธรรมเด่น เน้นหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

สีประจำโรงเรียน

ชมพู-ขาว

คติธรรม

สุขา สังฆัสสะ สามัคคี

ความสามัคคี จะนำมาซึ่งความสำเร็จและความสุข

อักษรย่อของโรงเรียน

ว.บ.ภ.

ทรัพยากร

ตารางที่ ๑ อาคารเรียนและอาคารประกอบ

ประเภทอาคาร ที่ รายการ จำนวน ที่มา
อาคารเรียน แบบ ๐๑๗ ๑ หลัง ๘ ห้องเรียน งบประมาณ
สร้างเอง ๑ หลัง ๒ ห้องเรียน เงินบริจาค
อาคารประกอบ อาคารเอนกประสงค์ ๑ หลัง เงินบริจาค
ห้องส้วม แบบ ๖๐๑/๒๖ ๑ หลัง ๔ ที่ งบประมาณ
โรงจอดรถ ๑ หลัง เงินบริจาค
บ้านพักครู แบบกรมสามัญ ๑ หลัง งบประมาณ
บ้านพักครู แบบกรมสามัญ ๑ หลัง งบประมาณ
ศาลาพักผ่อน ๑ หลัง เงินบริจาค
สนามเด็กเล่น สนามเด็กเล่น ๑ สนาม เงินบริจาค
และสนามกีฬา สนามวอลเล่ย์บอล ๑ สนาม เงินบริจาค
สนามเซปัคตะกร้อ ๑ สนาม เงินบริจาค
สนามกีฬาอเนกประสงค์ ๑ สนาม การกีฬาแห่งประเทศไทยผู้สร้าง
สามเปตอง ๑ สนาม เงินบริจาค

ลักษณะของชุมชน

สภาพชุมชนรอบบริเวณสถานศึกษามีลักษณะ เป็นชุมชนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเพชรบุรี มีประชากรประมาณ ๓๒๐ คน อาชีพหลักของชุมชน คือ รับจ้าง เนื่องจาก ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ส่วนใหญ่นับถือศาสนา พุทธ ร้อยละ ๑๐๐

ประชาชนส่วนใหญ่จบการศึกษา ระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพ (คิดเป็นร้อยละ) รับจ้างร้อยละ ๙๘ นับถือศาสนา (คิดเป็นร้อยละ) พุทธร้อยละ ๑๐๐ อื่น ๆ ร้อยละ ๐ ฐานะทางเศรษฐกิจ รายได้โดยเฉลี่ย ต่อครอบครัว ต่อปี ๕,๐๐๐ บาท จำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว ๕ คน

ประเพณีและวัฒนธรรม

ประเพณีและวัฒนธรรมประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายมอญ ดังนั้น ประเพณีและวัฒนธรรมจึงมีความเป็นเอกลักษณ์ชัดเจน เช่น ภาษามอญ ประเพณีสงกรานต์ การกวนกาละแมของมอญ เป็นต้น

ข้อมูลนักเรียน

ตารางที่ ๒ ข้อมูลนักเรียน (ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๔)

ระดับชั้นเรียน จำนวนห้อง เพศ รวม
ชาย หญิง
อ.๑
อ.๒
รวม ๑๐ ๑๕
ป.๑
ป.๒ ๑๐
ป.๓ ๑๑
ป.๔ ๑๐
ป.๕ ๑๐
ป.๖ ๑๔
รวม ๓๑ ๓๒ ๖๓
รวมทั้งหมด ๓๖ ๔๒ ๗๘

ข้อมูลบุคลากร

ตารางที่ ๓ ข้อมูลบุคลากร

ที่ ชื่อ ชื่อสกุล ตำแหน่ง/อันดับ วุฒิการศึกษา/วิชาเอก หน้าที่รับผิดชอบ
๑. นายตรีศูล พงษ์พันธุ์ ผู้อำนวยการโรงเรียน/คศ.๓ คม./บริหารการศึกษา บริหารงานโรงเรียน
๒. นายสพรั่ง อุบลน้อย ครู/คศ.๒ ศษ.บ./ประถมศึกษา -ประจำชั้น ป.๖ - งานวิชาการ
๓. นางปัทมา เผ่าสำราญ ครู/คศ.๒ คบ./ภาษาอังกฤษ -ประจำชั้น ป.๕ - งานการเงิน
๔. นางสาวโสภา เที่ยวหาทรัพย์ ครู/คศ.๒ คบ./สังคมศึกษา -ประจำชั้น ป.๑ - ครูบรรณารักษ์
๕. นางกัญญารัตน์ พูลพิพัฒน์ ครู/คศ.๒ คบ./ประถมศึกษา -ประจำชั้น ป.๒ - งานวิชาการ
๖. นางละเมียด ไทยแท้ ครู/คศ.๑ คบ./เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา -ประจำชั้น ป.๒ - งานวิชาการ
๗. นายชัยวัฒน์ ปานฉ่ำ ครูอัตราจ้าง คบ./พลศึกษา -ประจำชั้น ป.๓-๔ - งานอนามัยโรงเรียน
๘. นางสาวจุลลัดดา วงวิราช พี่เลี้ยงเด็กอนุบาล ม.๓ พี่เลี้ยงเด็กอนุบาล ๑-๒
๙. นายปราโมชย์ ยอดทอง นักการภารโรง ป.๖ นักการภารโรง

แผนภูมิการบริหารงานโรงเรียนวัดบางลำภู

   

แผนที่โรงเรียนวัดบางลำภู

แผนผังโรงเรียนวัดบางลำภู

แปลงเกษตร

ตามหลักปรัชญา

ของเศรษฐกิจ

พอเพียง

   

ถนนภายในโรงเรียน

6 5

4

1 หมายถึง ห้องตัดผม 14 หมายถึง บ่อเลี้ยงปลาดุก

2 หมายถึง บ้านพักครูหลังที่ 15 หมายถึง บ่อเลี้ยงปลานิล

3 หมายถึง บ้านพักครูหลังที่ 2 (บ้านดนตรีไทย) 16 หมายถึง ห้องเก็บของ

4,5,6 หมายถึง ถังเก็บน้ำฝน หมายถึง ต้นไม้

7 หมายถึง เสาธง

8 หมายถึง ป้ายนิเทศ

9 หมายถึง ฐานประดิษฐานพระพุทธรูป

10 หมายถึง ห้องส้วม

11 หมายถึง บ่อปุ๋ยหมัก

12 หมายถึง แปลงพืชสมุนไพร

13 หมายถึง ถังน้ำ

๓. ภารกิจของโรงเรียน

โรงเรียนวัดบางลำภู มีภารกิจในการดำเนินการจัดการศึกษา ๒ ระดับ คือ

๑.การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ ๑ -๒ กำหนดให้มีหลักสูตรโรงเรียนวัดบางลำภู ระดับปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๔๖ เป็นการเฉพาะ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการเสริมสร้างพัฒนาการของผู้เรียนตามวัย

๒.การจัดการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ เป็นการจัดการศึกษาตามหลักสูตรโรงเรียนวัดบางลำภู พุทธศักราช ๒๕๕๓ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

ส่วนที่ ๒

สถานภาพของโรงเรียน

๒.๑ ผลการประเมินสถานภาพโรงเรียน

๒.๑.๑ ด้านปริมาณ

๑) การรับนักเรียน โรงเรียนสามารถรับนักเรียนในเขตพื้นที่บริการเข้าเรียนได้

ร้อยละ ๑๐๐ นอกจากนี้ได้มีนักเรียนนอกเขตพื้นที่บริการเข้ามาเรียนในจำนวนที่ใกล้เคียงกับนักเรียนในเขตบริการ

ตารางแสดงที่ ๔ เปรียบเทียบข้อมูลนักเรียน (ปีการศึกษา ๒๕๕๒,๒๕๕๓,๒๕๕๔)

ระดับชั้นเรียน จำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๕๒ จำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๕๓ จำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๕๔
ชาย หญิง รวม ชาย หญิง รวม ชาย หญิง รวม
อ.๑
อ.๒
รวม ๑๐ ๑๕ ๑๓ ๑๐ ๑๕
ป.๑ ๑๒ ๑๐
ป.๒ ๑๐ ๑๒ ๑๐
ป.๓ ๑๑ ๑๑
ป.๔ ๑๕ ๑๐
ป.๕ ๑๒ ๑๔ ๑๐
ป.๖ ๑๓ ๑๔
รวม ๓๒ ๓๐ ๖๒ ๓๗ ๓๒ ๖๙ ๓๑ ๓๒ ๖๓
รวมทั้งหมด ๔๒ ๓๕ ๗๗ ๔๒ ๔๐ ๘๒ ๓๖ ๔๒ ๗๘

๒) อัตราการออกกลางคันไม่มี

๓) นักเรียนที่จบชั้นประถมปีที่ 6 เข้าศึกษาต่อ ร้อยละ ๑๐๐

๒.๑.๒ ด้านคุณภาพ

๑) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

ตารางที่ ๕ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับโรงเรียน ปีการศึกษา ๒๕๕๓ และ๒๕๕๔

ที่ ชั้น/รายวิชา เป้าหมายของ ร.ร. (คะแนนเฉลี่ย) ปีการศึกษา ๒๕๕๓ (คะแนนเฉลี่ย) ปีการศึกษา ๒๕๕๔ (คะแนนเฉลี่ย) พัฒนาการ

±

ชั้น ป.๓
๑. รายวิชาภาษาไทย 60 73.20 66.4 -6.8
๒. รายวิชาคณิตศาสตร์ 60 74.30 68.5 -5.8
๓. รายวิชาวิทยาศาสตร์ 60 74.30 67.2 -7.1
๔. รายวิชาสังคมศึกษาฯ 60 72.70 66.8 -5.9
รายวิชาประวัติศาสตร์ 60 73.90 62.8 -11.1
๖. รายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา 75 77.40 75.9 -1.5
๗. รายวิชาศิลปะ 75 74.20 71.3 -2.9
๘. รายวิชาการงานอาชีพ 75 75.10 67.6 -7.5
๙. รายวิชาภาษาต่างประเทศ(ภาษอังกฤษ) 60 65.70 62.3 -3.4
รวมเฉลี่ย 65.00 73.42 67.64 -5.78
ชั้น ป.๖
๑. รายวิชาภาษาไทย 60 73.15 74.57 -1.42
๒. รายวิชาคณิตศาสตร์ 60 71.69 66.86 -4.83
๓. รายวิชาวิทยาศาสตร์ 60 84.00 83.36 -0.64
๔. รายวิชาสังคมศึกษาฯ 60 87.07 73.00 -14.07
รายวิชาประวัติศาสตร์ 60 79.76 61.64 -18.12
๖. รายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา 75 87.23 80.71 -6.52
๗. รายวิชาศิลปะ 75 84.77 77.64 -7.13
๘. รายวิชาการงานอาชีพ 75 94.15 83.00 -11.15
๙. รายวิชาภาษาต่างประเทศ(ภาษอังกฤษ) 60 71.23 59.71 -11.52
รวมเฉลี่ย 65.00 81.45 73.38 -8.07

. จากตารางเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับโรงเรียน ปีการศึกษา ๒๕๕๓ และ๒๕๕๔พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับโรงเรียน ชั้น ป.3 ในภาพรวมลดลง ร้อยละ 5.78 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับโรงเรียน ชั้น ป.6 ลดลงร้อยละ 8.07

ตารางที่ ๖ เปรียบเทียบผลการประเมินคุณภาพของนักเรียนระดับท้องถิ่น ( LAS )

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๓ และ๒๕๕๔

ที่ รายวิชา ปีการศึกษา2553 ปีการศึกษา2554 พัฒนาการ + – ปีการศึกษา 2553 ปีการศึกษา 2554 ลำดับพัฒนาการ
คะแนนเฉลี่ย คะแนนเฉลี่ย ร้อยละของนักเรียน ร้อยละของนักเรียน
ปรับปรุง พอใช้ ดี ปรับปรุง พอใช้ ดี
1. ภาษาไทย 14.00 20.30 + 6.30 12.50 87.50 0.00 0.00 80.00 20.00 2
2. คณิตศาสตร์ 16.25 16.50 + 0.25 12.50 87.50 0.00 0.00 90.00 10.00 3
3. วิทยาศาสตร์ 11.75 20.50 + 8.75 37.50 62.50 0.00 0.00 40.00 60.00 1
รวมทุกกลุ่มสาระ 42.00 57.30 + 15.30

จากตารางเปรียบเทียบผลการประเมินคุณภาพของนักเรียนระดับท้องถิ่น ( LAS ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๓ และ๒๕๕๔ พบว่า ผลการประเมินคุณภาพของนักเรียนระดับท้องถิ่น ( LAS ) ในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.30 โดยมีรายวิชาที่มีพัฒนาการสูงสุดคือวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.75 วิชาภาษาไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.30 และวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.25 นอกจากนี้ในปีการศึกษา 2554 ผลการประเมินไม่มีนักเรียนอยู่ในระดับปรับปรุงในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

ตารางที่ ๗ เปรียบเทียบผลการประเมินคุณภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ (NT) ปีการศึกษา ๒๕๕๓

และ๒๕๕๔

ที่ รายวิชา ปีการศึกษา2553 ปีการศึกษา2554 พัฒนาการ + – ปีการศึกษา 2553 ปีการศึกษา 2554 ลำดับพัฒนาการ
คะแนนเฉลี่ย คะแนนเฉลี่ย ร้อยละของนักเรียน ร้อยละของนักเรียน
ปรับปรุง พอใช้ ดี ปรับปรุง พอใช้ ดี
1. ภาษาไทย 15.90 11.14 - 4.67 10.00 50.00 40.00 57.14 28.57 14.29 3
2. คณิตศาสตร์ 11.70 11.14 -0.56 40.00 50.00 10.00 28.57 71.43 0.00 2
3. วิทยาศาสตร์ 9.20 9.57 + 0.37 70.00 20.00 10.00 71.43 28.57 0.00 1
รวมทุกกลุ่มสาระ 36.80 31.86 - 4.94
1. การอ่านออกเสียง 41.10 44.00 +2.90 0.00 0.00 100.00 0.00 0.00 100.00 1
2. *การเขียน* 14.20 7.86 -6.34 0.00 90.00 10.00 28.57 57.14 0.00 3
3. การคิดคำนวณ 13.10 11.86 -1.24 0.00 70.00 30.00 14.29 71.43 14.29 2
รวมทุกกลุ่มทักษะ 68.40 63.71 - 4.69

จากตารางเปรียบเทียบผลการประเมินคุณภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ (NT) ปีการศึกษา ๒๕๕๓ และ๒๕๕๔ พบว่าภาพรวมของผลการประเมินทุกกลุ่มสาระลดลงร้อยละ 4.94 โดยในปีการศึกษา 2554 รายวิชาที่มีพัฒนาการสูงขึ้นได้แก่วิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.37 ส่วนวิชาภาษาไทยลดลงร้อยละ 4.76 วิชาคณิตศาสตร์ลดลงร้อยละ 0.56 สำหรับการประเมินความสามารถด้านทักษะการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา2554 นั้น พบว่าในปีการศึกษา 2554 ผลการประเมินความสามารถด้านทักษะรวมทุกกลุ่มสาระลดลงร้อยละ 4.69 ซึ่ง การเขียนลดลงร้อยละ 6.34 การคิดคำนวณลดลงร้อยละ1.24 ส่วนการอ่านออกเสียงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.90 ซึ่งในปีการศึกษา 2554 มีนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มไม่ผ่านการเขียน ร้อยละ 14.29 ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนาปรับปรุงในภาคเรียนต่อไป

ตารางที่ ๘ เปรียบเทียบผลการประเมินคุณภาพของนักเรียนระดับท้องถิ่น ( LAS ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

ปีการศึกษา ๒๕๕๓ และ๒๕๕๔

ที่ รายวิชา ปีการศึกษา2553 ปีการศึกษา2554 พัฒนาการ + – ปีการศึกษา 2553 ปีการศึกษา 2554 ลำดับพัฒนาการ
คะแนนเฉลี่ย คะแนนเฉลี่ย ร้อยละของนักเรียน ร้อยละของนักเรียน
ปรับปรุง พอใช้ ดี ปรับปรุง พอใช้ ดี
1. ภาษาไทย 12.92 13.78 + 0.86 61.54 38.46 0.00 44.44 55.56 0.00 3
2. คณิตศาสตร์ 12.08 11.33 -0.75 30.77 69.23 0.00 22.22 77.78 0.00 4
3. วิทยาศาสตร์ 8.38 11.22 +2.84 15.38 84.62 0.00 44.44 55.56 0.00 2
4. สังคมศึกษา 14.69 18.44 +3.75 30.77 53.85 15.38 44.44 44.44 11.11 1
5. ภาษาต่าง ประเทศ 11.38 10.22 -1.16 30.77 69.23 0.00 11.11 88.89 0.00 5
รวมทุกกลุ่มสาระ 59.45 64.99 + 5.54

จากตารางเปรียบเทียบผลการประเมินคุณภาพของนักเรียนระดับท้องถิ่น ( LAS ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ปีการศึกษา ๒๕๕๓ และ๒๕๕๔ พบว่า ผลการประเมินในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.54 โดยรายวิชาที่มีพัฒนาการสูงสุดคือสังคมศึกษา เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.75 วิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.84 และวิชาภาษาไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.86 สำหรับรายวิชาคณิตศาสตร์ลดลงร้อยละ 0.75 วิชาภาษาต่างประเทศลดลงร้อยละ 1.16 รายวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ ไม่มีนักเรียนที่ผลการประเมินอยู่ในระดับดี

ตารางที่ ๙ เปรียบเทียบผลการประเมินคุณภาพของนักเรียนระดับชาติ (O-NET ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

ปีการศึกษา ๒๕๕๓ และ๒๕๕๔

ที่

รายวิชา ปีการศึกษา ๒๕๕๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ พัฒนาการ + - ผลการประเมินระดับสูงกว่า ระดับโรงเรียน ปีการศึกษา ๒๕๕๔

ลำดับพัฒนาการ
คะแนนเฉลี่ย คะแนนเฉลี่ย ระดับจังหวัด ระดับสังกัด ระดับประเทศ
1 ภาษาไทย 25.92 41.38 15.46 50.86 49.51 50.04 1
2 คณิตศาสตร์ 31.85 45.77 13.92 53.85 51.69 52.40 2
3 วิทยาศาสตร์ 41.92 37.31 - 4.61 41.06 40.45 40.82 8
4 สังคมศึกษาฯ 44.00 49.54 5.54 52.42 51.08 52.22 5
5 ภาษาอังกฤษ 10.46 24.04 13.58 35.98 37.12 38.37 3
6 สุขศึกษา 48.46 55.71 7.25 59.74 58.17 58.87 4
7 ศิลปะ 45.00 45.77 0.77 47.39 46.20 46.75 7
8 การงานฯ 50.00 55.08 5.08 57.09 54.45 55.38 6
คะแนนรวมเฉลี่ย 37.20 *44.33 7.13 49.80 48.58 *43.10 -

จากตารางเปรียบเทียบผลการประเมินคุณภาพของนักเรียนระดับชาติ (O-NET ) ชั้นประถมศึกษาปีที่

๖ ปีการศึกษา ๒๕๕๓ และ๒๕๕๔ พบว่า ในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.13 และมีคะแนนรวมเฉลี่ย สูงกว่าระดับประเทศ โดยมีรายวิชา รายวิชาที่มีพัฒนาการสูงสุดคือ ภาษาไทย ร้อยละ 15.46 รองลงมา คือ คณิตศาสตร์ ร้อยละ 13.92 ภาษาอังกฤษ ร้อยละ 13.58 สุขศึกษาฯร้อยละ 7.25 สังคมศึกษาฯ ร้อยละ 5.54 การงานอาชีพฯร้อยละ 5.08 และน้อยที่สุด คือ ศิลปะ ร้อยละ 0.77 ส่วนวิทยาศาสตร์เป็นรายวิชาเดียวที่ ลดลง ร้อยละ4.61

กราฟแสดงการเปรียบเทียบผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา พ.ศ.๒๕๕๓ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๕๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ ,๒๕๕๓ และ ๒๕๕๔

   

จากกราฟแสดงการเปรียบเทียบผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา พ.ศ.๒๕๕๓ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๕๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ ๒๕๕๓ และ ๒๕๕๔ พบว่า ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา พ.ศ.2553 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ปีการศึกษา 2552, 2553 และ 2554 เฉลี่ย 3 ปี อยู่ในระดับสูง คือ ร้อยละ 98.44 โดยปีการศึกษา 2553 มีผลการประเมินสูงสุด คือ ร้อยละ 98.55 รองลงมา คือ ปีการศึกษา 2554 คือ ร้อยละ 98.41 และ ปีการศึกษา 2552 ร้อยละ 98.38 ตามลำดับ

๒) ผลงานด้านความดีเด่นของโรงเรียน

โรงเรียน ได้รับรางวัล ดังนี้

๑. ปี ๒๕๔๖โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเหรียญทอง ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

. ปี ๒๕๔๖ โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา รอบแรก จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) (สมศ.)

๓. ปี ๒๕๔๘ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเหรียญทอง ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

๔. ปี ๒๕๔๙ โรงเรียนจัดกิจกรรมวิถีพุทธที่เป็นแบบอย่างได้ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต ๑

๕. ปี ๒๕๕๐ โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา รอบสอง จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) (สมศ.)

๖. ปี ๒๕๕๑ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเหรียญทอง ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

๗. ปี ๒๕๕๒ โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประจำปี 2552 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 1

๘. ปี ๒๕๕๒ โรงเรียนได้รับรางวัล สถานศึกษาแบบอย่างการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประจำปี 2552 “สถานศึกษาพอเพียง 2552”ของกระทรวงศึกษาธิการ

๙. ปี ๒๕๕๔ โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา รอบสาม ระดับการศึกษาปฐมวัย และการศึกษาขั้นพื้นฐาน(ป.๑- ๖) จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) (สมศ.)

๑๐. ปี ๒๕๕๓ โรงเรียนได้รับโล่รางวัล “โรงเรียนสะอาด” ของจังหวัดเพชรบุรี

๑๑. ปี ๒๕๕๔ โรงเรียนได้รับโล่รางวัล “โรงเรียนสะอาด” ของจังหวัดเพชรบุรี

๑๒. ปี ๒๕๕๔ โรงเรียนได้รับเกียรติบัตร “โรงเรียนรักการอ่าน” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๑

๑๓. ปี ๒๕๕๔ โรงเรียนได้รับรางวัลพระราชทาน ประเภท สถานศึกษาระดับประถมศึกษา ขนาดเล็ก ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔ ของกระทรวงศึกษาธิการ

ผู้บริหารสถานศึกษา

๑. ปี ๒๕๕๐ ได้รับรางวัลผู้บริหารดีเด่นของกลุ่มโรงเรียนบางครก

๒.ปี ๒๕๕๐ ได้รับรางวัลผู้บริหารดีเด่นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต ๑

๓. ปี ๒๕๕๔ ได้รับรางวัล “ผู้บริหารรักการอ่าน” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๑

๔. ปี ๒๕๕๔ ได้รับรางวัล “ผู้อุทิศเวลาให้ความรู้ในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมินภายนอกรอบสาม” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๑

๕. ปี ๒๕๕๕ ได้รับรางวัลผู้บริหารดีเด่น เนื่องในวันครู ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๑

ครูผู้สอน

๑.ปี ๒๕๕๓ ครูได้รับเกียรติบัตรผู้ฝึกสอนนักเรียนได้รับรางวัล เหรียญเงิน การคัดลายมือ

และอ่านออกเสียง ระดับชั้น ป.๑- ๓ การแข่งขันทักษะวิชาการ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ประจำปี ๒๕๕๓ ของ สำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี

๒.ปี ๒๕๕๓ ครูได้รับเกียรติบัตรผู้ฝึกสอนนักเรียนได้รับรางวัล เหรียญเงิน การคัดลายมือ

และอ่านออกเสียง ระดับชั้น ป.๔- ๖ การแข่งขันทักษะวิชาการ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ประจำปี ๒๕๕๓ ของ สำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี

๓.ปี ๒๕๕๓ นายสพรั่ง อุบลน้อย ได้รับเกียรติบัตร เป็นวิทยากรอบรมโครงการพัฒนา

คุณธรรมและสร้างจิตสำนึกความเป็นไทยเพื่อพัฒนาเด็กไทยอย่างยั่งยืน ของศูนย์เครือข่ายโรงเรียนคุณธรรมโรงเรียนวชิรธรรมโศภิต

๔.ปี ๒๕๕๓ นางปัทมา เผ่าสำราญ ได้รับเกียรติบัตร เป็นวิทยากรอบรมโครงการพัฒนา

คุณธรรมและสร้างจิตสำนึกความเป็นไทยเพื่อพัฒนาเด็กไทยอย่างยั่งยืน ของศูนย์เครือข่ายโรงเรียนคุณธรรมโรงเรียนวชิรธรรมโศภิต

๕.ปี ๒๕๕๓ นายชัยวัฒน์ ปานฉ่ำ ได้รับเกียรติบัตร เป็นวิทยากรอบรมโครงการพัฒนา

คุณธรรมและสร้างจิตสำนึกความเป็นไทยเพื่อพัฒนาเด็กไทยอย่างยั่งยืน ของศูนย์เครือข่ายโรงเรียนคุณธรรมโรงเรียนวชิรธรรมโศภิต

๖.ปี ๒๕๕๔ นายสพรั่ง อุบลน้อย ได้รับรางวัลครูสอนดี ประจำปี ๒๕๕๔ จากสำนักงาน

ส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)

นักเรียน

๑. ปี ๒๕๕๑ นักเรียนได้รับรางวัลชมเชยอันดับ ๑ ระดับประเทศ จากโครงการตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 26 (ระดับประถมศึกษาตอนปลาย)

๒. ปี ๒๕๕๑ ได้รับรางวัลที่ 8 ของจังหวัดเพชรบุรี จากโครงการตอบปัญหาธรรมะ “ทางก้าวหน้า” ครั้งที่ 26 (ระดับประถมศึกษาตอนปลาย)

๓. ปี ๒๕๕๓ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑ การแข่งขันเปตอง หญิง ระดับประถมศึกษาในกิจกรรกีฬาสีสายสัมพันธ์ กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนบางครก

๔. ปี ๒๕๕๓ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ การแข่งขันเปตอง ชาย ระดับประถมศึกษาในกิจกรรมกีฬาสีสายสัมพันธ์ กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนบางครก

๕. ปี ๒๕๕๓ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ การแข่งขันฟุตซอลระดับประถมศึกษาในกิจกรรมกีฬาสีสายสัมพันธ์ กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนบางครก

๖. ปี ๒๕๕๓ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ การแข่งขันเทเบิลเทนนิสชายระดับประถมศึกษาในกิจกรรมกีฬาสีสายสัมพันธ์ กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนบางครก

๗. ปี ๒๕๕๓ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑ การแข่งขันเทเบิลเทนนิสหญิง ระดับประถมศึกษาในกิจกรรมกีฬาสีสายสัมพันธ์ กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนบางครก

๘. ปี ๒๕๕๓ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ การแข่งขันวิ่ง ๑๐๐ เมตร ๑๒ ปี หญิง ระดับ ประถมศึกษาในกิจกรรมกีฬาสีสายสัมพันธ์ กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนบางครก

๙. ปี ๒๕๕๓ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑ การแข่งขันวิ่ง ๘๐ เมตร ๑๐ ปี ชาย ระดับประถมศึกษาในกิจกรรมกีฬาสีสายสัมพันธ์ กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนบางครก

๑๐. ปี ๒๕๕๓ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑ การแข่งขันวิ่ง ๘๐ เมตร ๑๐ ปี หญิง ระดับประถมศึกษาในกิจกรรมกีฬาสีสายสัมพันธ์ กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนบางครก

๑๑. ปี ๒๕๕๓ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑ การแข่งขันขว้างจักร ๑๒ ปี หญิง ระดับประถมศึกษาในกิจกรรมกีฬาสีสายสัมพันธ์ กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนบางครก

๑๒. ปี ๒๕๕๓ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑ การแข่งขันทุ่มน้ำหนัก ๑๒ ปี หญิง ระดับประถมศึกษาในกิจกรรมกีฬาสีสายสัมพันธ์ กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนบางครก

๑๓. ปี ๒๕๕๓ ได้รับรางวัลชมเชย การแข่งขันการพับเครื่องบินกระดาษแบบร่อนนาน ระดับประถมศึกษาในกิจกรรมงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนบางครก

๑๔. ปี ๒๕๕๓ ได้รับรางวัลชมเชย การแข่งขันการพับเครื่องบินกระดาษแบบร่อนนาน ระดับประถมศึกษาในกิจกรรมงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนบางครก

๑๕ ปี ๒๕๕๓ ได้รับรางวัลชมเชย การแข่งขันการยิงจรวดขวดน้ำ ระดับประถมศึกษาในกิจกรรมงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนบางครก

๑๖. ปี ๒๕๕๓ ได้รับรางวัลชมเชย การแข่งขันวาดภาพ ระดับประถมศึกษาในกิจกรรมงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนบางครก

๑๗. ปี ๒๕๕๓ ได้เข้าร่วมการแข่งขันคิดเลขเร็ว ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖

การแข่งขันทักษะวิชาการ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๑

๑๘. ปี ๒๕๕๓ ได้เข้าร่วมการแข่งขันคิดเลขเร็ว ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖

การแข่งขันทักษะวิชาการ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๑

๑๙. ปี ๒๕๕๓ ได้รับรางวัล เหรียญ เงิน เข้าร่วมการแข่งขันคัดลายมือและอ่านออกเสียง ระดับ ชั้น ป.๑-๓ การแข่งขันทักษะวิชาการ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๑

๒๐. ปี ๒๕๕๓ ได้เข้าร่วมการแข่งขันคิดเลขเร็ว ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓

การแข่งขันทักษะวิชาการ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๑

๒๑. ปี ๒๕๕๓ ได้รับรางวัล เหรียญ เงิน เข้าร่วมการแข่งขันคัดลายมือและอ่านออกเสียง ระดับ ชั้น ป.๔-๖ การแข่งขันทักษะวิชาการ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ประจำปีการศึกษา๒๕๕๓ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๑

๒๒. ปี ๒๕๕๓ ได้รับรางวัล เหรียญ เงิน เข้าร่วมการแข่งขันเดี่ยวฆ้องวงใหญ่ ระดับ ชั้น ป.๑-๖ การแข่งขันทักษะวิชาการ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๑

๒๓. ปี ๒๕๕๔ เด็กหญิงธีรารัตน์ นิ่มนุช สอบเข้าศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โครงการพิเศษคณิต-วิทย์ โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี

๒๔. ปี ๒๕๕๔ เด็กชายทะเล เกิดลอย สอบเข้าศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ประเภททั่วไป โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี

ผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสำนักงานการประเมินมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ (สมศ.)รอบ ๓

ตารางที่ ๑๐ สรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกจำแนกตามกลุ่มตัวบ่งชี้การศึกษาขั้นพื้นฐาน : ระดับการศึกษาปฐมวัย (๒ – ๕ ปี) ประเภทโรงเรียน

การศึกษาขั้นพื้นฐาน : ระดับการศึกษาปฐมวัย น้ำหนัก คะแนน คะแนน ที่ได้ ระดับ คุณภาพ
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน
ตัวบ่งชี้ที่ ๑ เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายสมวัย ๕.๐๐ ๕.๐๐ ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ ๒ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ ๕.๐๐ ๔.๐๐ ดี
ตัวบ่งชี้ที่ ๓ เด็กมีพัฒนาการด้านสังคมสมวัย ๕.๐๐ ๔.๐๐ ดี
ตัวบ่งชี้ที่ ๔ เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญาสมวัย ๑๐.๐๐ ๘.๐๐ ดี
ตัวบ่งชี้ที่ ๕ เด็กมีความพร้อมศึกษาต่อในขั้นต่อไป ๑๐.๐๐ ๑๐.๐๐ ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ ๖ ประสิทธิผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ๓๕.๐๐ ๒๙.๐๐ ดี
ตัวบ่งชี้ที่ ๗ ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและพัฒนาสถานศึกษา ๑๕.๐๐ ๑๒.๕๐ ดี
ตัวบ่งชี้ที่ ๘ ประสิทธิผลของระบบการประกันคุณภาพภายใน ๕.๐๐ ๕.๐๐ ดีมาก
กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์
ตัวบ่งชี้ที่ ๙ ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิธาน/วิสัยทัศน์ พันธกิจและวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา ๒.๕๐ ๒.๕๐ ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่๑๐ ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็น เอกลักษณ์ของสถานศึกษา ๒.๕๐ ๒.๕๐ ดีมาก
กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๑ ผลการดำเนินโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษา ๒.๕๐ ๒.๐๐ ดี
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๒ ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษามาตรฐาน และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศที่สอดคล้องกับแนว ทางการ ปฏิรูปการศึกษา ๒.๕๐ ๒.๐๐ ดี
คะแนนรวม ๑๐๐.๐๐ ๘๖.๕๐ ดี
สรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาปฐมวัย (๒ – ๕ ปี) ประเภทโรงเรียน ผลรวมคะแนนประเมินสถานศึกษา ๘๖.๕๐คะแนน มีคุณภาพระดับดี
การรับรองมาตรฐานสถานศึกษาประเภทโรงเรียน ผลคะแนนรวมทุกตัวบ่งชี้ ตั้งแต่ ๘๐ คะแนนขึ้นไป þ ใช่ ¨ ไม่ใช่ มีตัวบ่งชี้ที่ได้ระดับดีขึ้นไป ๑๐ ตัวบ่งชี้ จาก ๑๒ ตัวบ่งชี้ þ ใช่ ¨ ไม่ใช่

ไม่มีตัวบ่งชี้ใดในระดับคุณภาพต้องปรับปรุงหรือต้องปรับปรุงเร่งด่วน þ ใช่ ¨ ไม่ใช่

ในภาพรวมสถานศึกษาจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน : ระดับการศึกษาปฐมวัย (๒ – ๕ ปี) þสมควรรับรองมาตรฐานการศึกษา ¨ ไม่สมควรรับรองมาตรฐานการศึกษา

ตารางที่ ๑๑ สรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม จำแนกตามกลุ่มตัวบ่งชี้

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : ประถมศึกษา และ/หรือ มัธยมศึกษา

การศึกษาขั้นพื้นฐาน ประถมศึกษา และ/หรือ มัธยมศึกษา น้ำหนัก คะแนน คะแนน ที่ได้ ระดับ คุณภาพ
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน
ตัวบ่งชี้ที่ ๑ ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ๑๐.๐๐ ๙.๖๔ ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ ๒ ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมละค่านิยมที่พึงประสงค์ ๑๐.๐๐ ๙.๔๕ ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ ๓ ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ๑๐.๐๐ ๘.๘๕ ดี
ตัวบ่งชี้ที่ ๔ ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น ๑๐.๐๐ ๘.๕๕ ดี
ตัวบ่งชี้ที่ ๕ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ๒๐.๐๐ ๘.๙๘ พอใช้
ตัวบ่งชี้ที่ ๖ ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ๑๐.๐๐ ๘.๐๐ ดี
ตัวบ่งชี้ที่ ๗ ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนา สถานศึกษา ๕.๐๐ ๔.๘๐ ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ ๘ พัฒนาการของการประกันคุณภาพภายในโดยสถานศึกษา และต้นสังกัด ๕.๐๐ ๕.๐๐ ดีมาก
กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์
ตัวบ่งชี้ที่ ๙ ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิธาน/วิสัยทัศน์ พันธกิจ และ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา ๕.๐๐ ๕.๐๐ ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๐ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา ๕.๐๐ ๕.๐๐ ดีมาก
กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๑ ผลการดำเนินโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษา ๕.๐๐ ๔.๐๐ ดี
ตัวบ่งชี้ที่ ๑๒ ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษามาตรฐาน และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศที่สอดคล้องกับแนวทางการ ปฏิรูปการศึกษา ๕.๐๐ ๔.๐๐ ดี
คะแนนรวม ๑๐๐.๐๐ ๘๑.๓๗ ดี
สถานศึกษามีผลคะแนนรวมทุกตัวบ่งชี้ ตั้งแต่ ๘๐ คะแนนขึ้นไป þ ใช่ ¨ ไม่ใช่ สถานศึกษามีตัวบ่งชี้ที่ได้ระดับดีขึ้นไป ๑๐ ตัวบ่งชี้ จาก ๑๒ ตัวบ่งชี้þ ใช่ ¨ ไม่ใช่ สถานศึกษาไม่มีตัวบ่งชี้ใดในระดับคุณภาพต้องปรับปรุงหรือต้องปรับปรุงเร่งด่วน þ ใช่ ¨ ไม่ใช่
สรุปผลการจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในภาพรวม þสมควรรับรองมาตรฐานการศึกษา ¨ ไม่สมควรรับรองมาตรฐานการศึกษา

จากตารางสรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามทั้ง 2 ระดับ คือ ระดับ การศึกษาปฐมวัย และการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียน พบว่า

ระดับ การศึกษาปฐมวัย กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ ที่มีผลการประเมินคุณภาพในระดับดีมาก คือ ตัวบ่งชี้ที่ 1 เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายสมวัยตัวบ่งชี้ที่ 5 เด็กมีความพร้อมศึกษาต่อในขั้นต่อไปและตัวบ่งชี้ที่ 8 ประสิทธิผลของระบบการประกันคุณภาพภายใน และตัวบ่งชี้ ที่มีผลการประเมินคุณภาพในระดับดี คือ ตัวบ่งชี้ที่ 2 เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจตัวบ่งชี้ที่ 3 เด็กมีพัฒนาการด้านสังคมสมวัย ตัวบ่งชี้ที่ 4 เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญาสมวัยตัวบ่งชี้ที่ 5 ประสิทธิผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญและตัวบ่งชี้ที่ 7 ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและพัฒนาสถานศึกษา

กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ทั้ง 2 ตัวบ่งชี้ คือ ตัวบ่งชี้ที่ 9 ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิธาน/วิสัยทัศน์ พันธกิจ และ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษาและ

ตัวบ่งชี้ที่ 10 ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษากลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริมมีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดี ทั้ง 2 ตัวบ่งชี้ คือตัวบ่งชี้ที่ 11 ผลการดำเนินโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษาและตัวบ่งชี้ที่ 12 ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษามาตรฐาน และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศที่สอดคล้องกับแนว ทางการ ปฏิรูปการศึกษา

สรุปแนวทางในการพัฒนาจากผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามระดับ การศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนคือ

1)รักษาคุณภาพการจัดการศึกษาในตัวบ่งชี้ที่ได้ระดับคุณภาพดีมาก คือ ตัวบ่งชี้ที่ 1,5,8,9 และ10

2)ยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาในตัวบ่งชี้ที่ได้ระดับคุณภาพดีให้มีระดับคุณภาพสูงขึ้น คือ

ตัวบ่งชี้ที่ 2,3,4,6,7,11และ 12

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ ที่มีผลการประเมินคุณภาพในระดับดีมาก คือ ตัวบ่งชี้ที่ ๑ ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีตัวบ่งชี้ที่ ๒ ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมละค่านิยมที่พึงประสงค์ตัวบ่งชี้ที่ ๗ ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา และตัวบ่งชี้ที่ ๘ พัฒนาการของการประกันคุณภาพภายในโดยสถานศึกษาและต้นสังกัด ตัวบ่งชี้ ที่มีผลการประเมินคุณภาพในระดับดี คือ ตัวบ่งชี้ที่ ๓ ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตัวบ่งชี้ที่ ๔ ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็นและตัวบ่งชี้ที่ ๖ ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และตัวบ่งชี้ ที่มีผลการประเมินคุณภาพในระดับพอใช้ คือ ตัวบ่งชี้ที่ ๕ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนกลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ทั้ง 2 ตัวบ่งชี้ คือ ตัวบ่งชี้ที่ 9 ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิธาน/วิสัยทัศน์ พันธกิจ และ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษาและตัวบ่งชี้ที่ 10 ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษากลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริมมีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดี ทั้ง 2 ตัวบ่งชี้ คือตัวบ่งชี้ที่ 11 ผลการดำเนินโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษาและตัวบ่งชี้ที่ 12 ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษามาตรฐาน และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศที่สอดคล้องกับแนว ทางการ ปฏิรูปการศึกษา

สรุปแนวทางในการพัฒนาจากผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนคือ

1) รักษาคุณภาพการจัดการศึกษาในตัวบ่งชี้ที่ได้ระดับคุณภาพดีมาก คือ ตัวบ่งชี้ที่ 1,2,7,8,9

และ10

2) ยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาในตัวบ่งชี้ที่ได้ระดับคุณภาพดีให้มีระดับคุณภาพสูงขึ้น คือ

ตัวบ่งชี้ที่ 3,4,6,11 และ12

3) พัฒนาคุณภาพการศึกษาในตัวบ่งชี้ที่ได้ระดับคุณภาพพอใช้ คือ ตัวบ่งชี้ที่ 5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ให้มีระดับคุณภาพที่สูงขึ้น

ตารางที่ ๑๒ ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในของโรงเรียน (Internal analysis)

ปัจจัยภายใน จุดแข็ง(Strengths) จุดอ่อน(Weaknesses)
ยุทธศาสตร์ - มียุทธศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาที่ชัดเจนและเหมาะสมกับบริบท ของโรงเรียน โดยเน้นการน้อมนำหลัก

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมากำหนดเป็น

ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

ของโรงเรียน

- ยุทธศาสตร์บางยุทธศาสตร์ซึ่งโรงเรียน ล้อมาจากต้นสังกัดดำเนินการได้บางส่วน เนื่องจากเป็นยุทธศาสตร์ที่เกินอำนาจของ

โรงเรียน

โครงสร้าง องค์กร การบริหารงาน - มีการกำหนดโครงสร้างการบริหารที่ชัดเจน - มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบตาม โครงสร้างการบริหาร

- ภาระงานตามโครงสร้างการบริหารมีความ

เหมาะสมกับภารกิจของโรงเรียน

- โครงสร้างการบริหารขาดความยืดหยุ่น
ระบบองค์กร - มีรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาที่น้อม นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมา ประยุกต์ใช้

- มีระบบการประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็ง

- มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ทำให้องค์กรเข้มแข็ง

- องค์กรมีขนาดเล็กสามารถขับเคลื่อนได้ง่าย

และเร็วกว่าองค์กรขนาดใหญ่

- องค์มีการพัฒนา (OD) อย่างเป็นระบบ

ต่อเนื่อง และยั่งยืน

- องค์กรมีสถานภาพเป็นนิติบุคคล

- องค์กรมีความเป็นเอกภาพ

- องค์กรมีเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ที่ชัดเจน

- ระบบการติดตามประเมินผลยังขาดความ ชัดเจนการมีส่วนร่วมในการ ดำเนินการ

ตารางที่ ๑๒ ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในของโรงเรียน (Internal analysis)(ต่อ)

ปัจจัยภายใน จุดแข็ง(Strengths) จุดอ่อน(Weaknesses)
ทักษะของบุคลากร - บุคลากรเป็นผู้มีประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ในวิชาชีพ - บุคลากรมีความสามารถ ด้านดนตรีไทย

- บุคลากรมีความสามารถด้านภาษาอังกฤษ

- บุคลากรมีความสามารถด้านกีฬา

- บุคลากรส่วนใหญ่มีทักษะการใช้

คอมพิวเตอร์

- ขาดครูวิชาเอกภาษาไทย - ขาดครูวิชาเอกคณิตศาสตร์ - ขาดครูวิชาเอกวิทยาศาสตร์

- ขาดครูวิชาเอกปฐมวัย

- ขาดครูวิชาเอกบรรณารักษ์

- ขาดครูวิชาเอกศิลปะ

- ขาดครูที่มีความสามารถด้านนาฏศิลป์

บุคลากร - กำลังใจเกินร้อย ความเสียสละ ความทุ่มเท เต็มความสามารถ พร้อมให้บริการ - ความสมัครใจทำงานร่วมกัน ความ

เตรียมพร้อมและรับปัญหาพร้อมกับแก้ไข

ร่วมกัน ความรับผิดชอบ

- บุคลากรมีความพร้อม ความเสียสละ ตั้งใจ

ทำงาน มีความรับผิดชอบในหน้าที่ ในการ

ทำงานร่วมกัน

- บุคลากรมีอายุเฉลี่ยไม่สูงมาก

- ครูไม่ครบชั้นเรียน - ครูสอนไม่ตรงเอกการศึกษาที่จบ เป็นส่วนใหญ่
ความพร้อมของอาคารสถานที่ สื่อ การสอน และเทคโนโลยีที่จำเป็น - ภูมิทัศน์ของโรงเรียนมีความร่มรื่น สวยงาม - มีแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน - มีสื่อการสอนที่ทันสมัย

- มีขนาดพื้นที่ของโรงเรียนที่พอเหมาะดูแล

รักษาง่าย

- โรงเรียนมีรถตู้ของโรงเรียน จำนวน 2 คัน

- อาคารเรียนมีอายุการใช้งานมานานแล้ว - ห้องที่จะจัดเป็นห้องพิเศษต่างๆมีจำกัดต้อง แบ่งห้องเรียนทำเป็นห้องพิเศษบ้าง

- สื่อการสอนยังไม่เพียงพอ

- คอมพิวเตอร์สำหรับการจัดการเรียนรู้ยังไม่

เพียงพอ

(คอมพิวเตอร์1 เครื่อง ต่อ นักเรียน15 คน )

ตารางที่ ๑๒ ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในของโรงเรียน (Internal analysis)(ต่อ)

ปัจจัยภายใน จุดแข็ง(Strengths) จุดอ่อน(Weaknesses)
รูปแบบการนำองค์กร - มีรูปแบบและแบบแผนที่ชัดเจนโดยน้อม นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมา ประยุกต์ใช้ในการบริหารโรงเรียน

- ทำงานเป็นระบบ

- มีการวางแผนในการทำงานได้ชัดเจน

- มีการจัดทำแผนงานไว้เป็นระบบ

- มีความร่วมมือ ร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมชื่น

ชมในความสำเร็จ

- การกระจายอำนาจยังดำเนินการได้ไม่มาก เนื่องจากกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่างๆ
งบประมาณ - ได้รับการสนับสนุนจากวัด ชุมชน และ หน่วยงานต่างๆ - ได้รับเงินอุดหนุนตามโครงการเรียนฟรี 15

ปี อย่างมีคุณภาพ

- ได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มเติมจากปกติเนื่องจาก

อยู่ในเกณฑ์โรงเรียนขนาดเล็ก

- ระเบียบการใช้เงินอุดหนุนมีความยืดหยุ่น

มากขึ้น

- มีการบริหารจัดการงบประมาณโดยยึดหลัก

ธรรมาภิบาล (Goodgovernace)

- ได้รับเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียนน้อย เนื่องจากจำนวนนักเรียนมีน้อย

ตารางที่ ๑๓ ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกของโรงเรียน (External analysis)

ปัจจัยภายนอก โอกาส(Opportunities) อุปสรรค(Threats)
ผู้รับบริการ -ผู้ปกครองมีความพึงพอใจการจัดการศึกษาของโรงเรียน -ชุมชนมีความพึงพอใจการจัดการศึกษาของโรงเรียน -ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน และวัดให้ความร่วมมือและสนับสนุนโรงเรียนอย่างดีและสม่ำเสมอ - โรงเรียนมีเขตบริการเพียง 1 หมู่ คือ หมู่ที่ 3 หมู่บ้านบางลำภู ต.บางครก - เด็กในเขตบริการมีน้อยเนื่องจาก จำนวน

ครัวเรือนน้อย

- อัตราการเกิดของเด็กต่ำ

- ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่มีอาชีพรับ

และ มีฐานะยากจน

สถานการณ์ทางการเมือง - ระดับท้องถิ่น เช่น อบจ.ให้ความสำคัญกับการศึกษาและสนับสนุนสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอน อุปกรณ์กีฬา และงบประมาณให้กับสถานศึกษามากขึ้น - ระดับชาติ มีนโยบายต่างๆที่จะสนับสนุนให้การศึกษามีคุณภาพมากขึ้น เช่น การเตรียมคนให้พร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ เป็นต้น - ขาดความมั่นคงทางการเมือง - มีการเปลี่ยนรัฐบาลบ่อย - มีการเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงศึกษาธิการบ่อย

- นักการเมืองแตกความสามัคคี

- นโยบายทางการศึกษาเปลี่ยนแปลงบ่อย

ตามตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

- มีการแตกความสามัคคี ไม่ปรองดองสามัคคี

กันของคนในชาติ

สภาพเศรษฐกิจ - มีการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงมาประยุกต์ใช้มากขึ้น -ประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน มีอาชีพไม่มั่นคง ค่าตอบแทนต่ำ รายได้น้อย ค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ -สถานประกอบการในชุมชนมีน้อยมาก

-สภาพเศรษฐกิจของชุมชนไม่ดี

ในชุมชนมีการจ้างงานน้อยมาก

ตารางที่ ๑๓ ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกของโรงเรียน (External analysis) (ต่อ)

ปัจจัยภายนอก โอกาส(Opportunities) อุปสรรค(Threats)
สภาพแวดล้อม - ที่ตั้งของโรงเรียน และชุมชนอยู่ใกล้ แม่น้ำเพชรบุรี - ที่ตั้งของโรงเรียน และชุมชนอยู่ใน

สภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ

- มีการปลูกต้นมะพร้าวเป็นจำนวนมาก

-ที่ตั้งของโรงเรียนเป็นที่ราบต่ำ น้ำท่วมถึง -น้ำทะเลหนุนมาถึงโรงเรียน และชุมชน -ดินไม่เหมาะแก่การทำการเกษตร ยกเว้น การปลูกมะพร้าว

-แหล่งน้ำไม่เหมาะแก่การทำการเกษตร

สภาพสังคม - สภาพสังคมมีเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ที่ เด่นชัด คือ ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาว ไทยเชื้อสายมอญ

- สภาพสังคมเป็นสังคมแบบชนบท มี

ปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีความเอื้ออาทรต่อ

กัน

- บ้าน วัด โรงเรียน มีความสัมพันธ์ที่ดีเป็น

อันหนึ่งอันเดียวกัน

- มีชาวพม่าเข้ามาขายแรงงานในพื้นที่

ใกล้เคียงชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่

- มีความหลากหลายในชาติพันธุ์ คือ ไทย

แขก จีน ลาว และมอญ

- เริ่มมีการนำวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตแบบ สังคมเมืองมากขึ้น - มีปัญหาครอบครัวแตกแยกและหย่าร้าง

- เริ่มมีปัญหาสังคมแบบสังคมเมืองมากขึ้น

- มีการย้ายถิ่นฐานไปทำงานที่อื่นโดยเฉพาะใน

จังหวัดปริมณฑล

- มีแรงงานต่างชาติ(พม่า)เข้ามาทำงานใน

ชุมชน

เทคโนโลยี - ชุมชนมีคู่สายโทรศัพท์ และอินเทอร์เน็ต - มีการใช้โทรศัพท์มือถืออย่างแพร่หลาย - อบต. มีศูนย์อินเทอร์เพื่อบริการชุมชน - ปัญหาเว็ปไซต์ที่ไม่เหมาะสมทำให้ ควบคุมการใช้เทคโนโลยีของเด็กและ เยาวชนได้ยาก

- ปัญหาการติดโทรศัพท์มือของเด็กและ

เยาวชน

- ปัญหาการใช้เทคโลยีแบบฟุ่มเฟือย

- ปัญหาเด็กขาดสมาธิ ขาดความอดทนในการ

รอคอย เนื่องจากมีเทคโนโลยีเข้ามาอำนวย

ความสะดวกในด้านต่างๆมากมาย

ส่วนที่ ๓

ทิศทางของโรงเรียน

วิสัยทัศน์: VISION

โรงเรียนวัดบางลำภู เป็นสถานศึกษาแห่งการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี ๒๕๕๘

พันธกิจ : MISSION

๑. จัดทำและพัฒนามาตรฐานของสถานศึกษา

๒. พัฒนาหลักสูตรและการสอนของโรงเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน

๓. พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสู่โรงเรียนมาตรฐานพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน

๔. สร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนของโรงเรียนพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน

๕. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่มาตรฐาน

๖. พัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข มีทักษะในการดำเนินชีวิตตามหลัก

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมเป็นพลเมืองของประชาคมอาเซียนและความเป็นพลโลก

๗. พัฒนาอาคารสถานที่ให้มีความร่มรื่นสวยงาม น่าอยู่น่าเรียน มีความปลอดภัย เอื้อต่อการจัด

กิจกรรมการเรียนการสอน เป็นแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และความเป็น

ประชาคมอาเซียน

๘. จัดให้มีวัสดุ อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนเทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ ที่เอื้อต่อการจัดการ

เรียนการสอนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และความเป็นประชาคมอาเซียน

๙. ส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน

เป้าประสงค์: GOAL

๑. โรงเรียนมีมาตรฐานสำหรับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

๒. โรงเรียนมีหลักสูตรและการสอนที่สนองต่อการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน

๓. พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสู่โรงเรียนมาตรฐานพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน

๔. โรงเรียนมีเครือข่ายร่วมพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนของโรงเรียนพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน

๕. ครูและบุคลากรทางการศึกษาปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานที่กำหนด

๖. ครูสามารถจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างมีคุณภาพ

๗. ผู้เรียน เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข มีทักษะในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพียง พร้อมเป็นพลเมืองของประชาคมอาเซียนและความเป็นพลโลก

๘. ผู้เรียนเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

๙. ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีความภูมิใจในวัฒนธรรมท้องถิ่น

๑๐. โรงเรียนมีอาคารสถานที่มีความร่มรื่นสวยงาม น่าอยู่น่าเรียน มีความปลอดภัย เอื้อต่อการจัด

กิจกรรมการเรียนการสอน เป็นแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และความเป็น

ประชาคมอาเซียน

๑๑. โรงเรียนมีมีวัสดุ อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนเทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ ที่เอื้อต่อการจัดการ

เรียนการสอนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และความเป็นประชาคมอาเซียน

๑๒. โรงเรียนมีการวิจัย และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน

๑๓. ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน

๑๔. นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนมีความพึงพอใจการจัดการศึกษาของโรงเรียน

๑๕. ชุมชนได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืนจากการจัดการศึกษาของโรงเรียน

ส่วนที่ ๔

กลยุทธ์การจัดการศึกษา( Strategy )

กลยุทธ์ระดับโรงเรียน ( Strategy )

โรงเรียนวัดบางลำภู มีกลยุทธ์หลัก ๕ กลยุทธ์ ดังนี้

กลยุทธ์ ที่ 1 พัฒนาคุณภาพผู้เรียน หลักสูตรโรงเรียนและกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้สมรรถนะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์และทักษะชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ตาม ศักยภาพพร้อมเป็นพลเมืองของประชาคมอาเซียนและพลโลก

กลยุทธ์ ที่ 2 พัฒนาระบบบริหารจัดการโรงเรียน และระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ

กลยุทธ์ ที่ 3 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ

กลยุทธ์ ที่ 4 พัฒนาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ สื่อการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

กลยุทธ์ ที่ 5 พัฒนาระบบภาคีเครือข่ายอุปถัมภ์และทรัพยากรทางการศึกษา เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดศึกษา

ส่วนที่ ๕

กรอบกลยุทธ์

กรอบกลยุทธ์

กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพผู้เรียน หลักสูตรโรงเรียนและกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้

พัฒนาความรู้สมรรถนะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์และทักษะชีวิตตามหลักปรัชญาของ

เศรษฐกิจพอเพียงได้ตามศักยภาพพร้อมเป็นพลเมืองของประชาคมอาเซียนและพลโลก

วัตถุประสงค์ เชิงกลยุทธ์ วิธีการและกิจกรรม ตัวชี้วัดความสำเร็จ เป้าหมาย
2555 2556 2557 2558
1. ผู้เรียนมีคุณภาพ ตามหลักสูตร 1. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามที่หลักสูตรกำหนด 1. ร้อยละของผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์การเรียนผ่านการประเมินระดับชาติ(ผ่านขีดจำกัดล่าง)ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 60 70 80 90
2. ร้อยละของผู้เรียนที่มีสมรรถนะตามที่หลักสูตรกำหนด 65 75 85 95
3. ร้อยละของผู้เรียนที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่หลักสูตรกำหนด 65 75 85 95
4. ร้อยละของผู้เรียนที่มีทักษะชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 65 75 85 95
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ วิธีการและกิจกรรม ตัวชี้วัดความสำเร็จ เป้าหมาย
2555 2556 2557 2558
2. ผู้เรียนร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมพร้อมเป็นพลเมืองของประชาคมอาเซียนและพลโลก 1. ส่งเสริมผู้เรียน ให้มีจิตสาธารณะ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 1.ร้อยละของผู้เรียนที่ปฏิบัติตนเป็นผู้มีจิตสาธารณะ 75 80 85 90
2. ร้อยละของผู้เรียนที่ปฏิบัติตนเป็นผู้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 75 80 85 90
2 ส่งเสริมพัฒนาการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ กับครูเจ้าของภาษา 1. ร้อยละของนักเรียนใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศอื่นๆ ในการสื่อสารได้ 60 70 80 90
3 ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในความหลากหลายทางวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติในประชาคมอาเซียนและนานาชาติ 1 ร้อยละของนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในความหลากหลายทางวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติในประชาคมอาเซียนและนานาชาติ 60 70 80 90
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ วิธีการและกิจกรรม ตัวชี้วัดความสำเร็จ เป้าหมาย
2555 2556 2557 2558
3. โรงเรียนจัดหลักสูตรที่ส่งเสริมความถนัดและศักยภาพตามความต้องการของผู้เรียน 1. จัดหลักสูตรที่ส่งเสริมความถนัดและศักยภาพตามความต้องการของผู้เรียน 1.โรงเรียนมีหลักสูตรที่ส่งเสริมความถนัดและศักยภาพตามความต้องการของผู้เรียน อย่างน้อย 1 หลักสูตร อย่างน้อย 1 หลักสูตร อย่างน้อย 1 หลักสูตร อย่างน้อย 1 หลักสูตร
4. โรงเรียนจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายและมีคุณภาพ 1. จัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายและมีคุณภาพ 1. ร้อยละของห้องเรียนที่จัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายและมีคุณภาพ ป.5,6 ป.4,5,6 ป.3,4,5,6, ทุกชั้น
5. โรงเรียนจัดระบบการวัดและประเมินผลอย่างหลากหลายและครอบคลุม 1. ใช้ระบบการวัดและประเมินผลอย่างหลากหลายและครอบคลุม ทั้งด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัยโดยประเมินจากการสอบข้อเขียน สัมภาษณ์ สังเกตพฤติกรรม เป็นต้น 1. ร้อยละของห้องเรียนที่จัดระบบการวัดและประเมินผลอย่างหลากหลายและครอบคลุม ป.5,6 ป.4,5,6 ป.3,4,5,6, ทุกชั้น

กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาระบบบริหารจัดการโรงเรียน และระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้มี

ประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์

เชิงกลยุทธ์

วิธีการและกิจกรรม ตัวชี้วัดความสำเร็จ เป้าหมาย
2555 2556 2557 2558
1. พัฒนาระบบบริหารจัดการ 1. พัฒนาระบบบริหารจัดการที่มีคุณภาพโดยใช้รูปแบบPDCA 1. ร้อยละของงานและโครงการที่ใช้ระบบบริหารจัดการที่มีคุณภาพโดยใช้รูปแบบPDCA 70 80 90 95
2. พัฒนาระบบเทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการ 1. ร้อยละของความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการบริหารจัดการของโรงเรียน 80 85 90 95
3. จัดโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจนและครอบคลุมภาระงาน 1. ร้อยละของบุคลากรที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในโรงเรียน(Best Practice) 60 70 80 90
4. กำหนดภาระงานตามโครงสร้างที่ชัดเจนไม่ซ้ำซ้อน 1. ร้อยละของภาระงานตามโครงสร้างที่มีการมอบหมายที่ชัดเจนไม่ซ้ำซ้อน 80 85 90 95
5. มีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการเพื่อการบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ 1.ร้อยละของภาระงานที่มีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการเพื่อการบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ 80 85 90 95
6. มีระบบการติดตามงานที่รวดเร็ว ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ 1. ร้อยละของภาระงานที่มีระบบการติดตามงานที่รวดเร็ว ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ 80 85 90 95
วัตถุประสงค์ เชิงกลยุทธ์ วิธีการและกิจกรรม ตัวชี้วัด เป้าหมาย
2555 2556 2557 2558
2.พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 1. จัดจัดทำมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 1.โรงเรียนมีมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย 100 100 100 100
2.โรงเรียนมีมาตรฐานการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน 100 100 100 100
2.จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา 1.โรงเรียนมีแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา 100 100 100 100
3.จัดระบบบริหารสารสนเทศ 1.โรงเรียนมีข้อมูล สารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ที่เป็นระบบ ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และนำมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ 80 85 90 95
4. ดำเนินงานแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา 1. ร้อยละของโครงการที่สนองมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 80 85 90 95
2. ร้อยละของกิจกรรมที่สนองมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 80 85 90 95
วัตถุประสงค์ เชิงกลยุทธ์ วิธีการและกิจกรรม ตัวชี้วัด เป้าหมาย
2555 2556 2557 2558
5. จัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา 1. โรงเรียนมีคณะกรรมการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา 100 100 100 100
2. ร้อยละของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจคณะกรรมการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาที่โรงเรียนแต่งตั้ง 80 85 90 95
6.จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 1.โรงเรียนมีการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 100 100 100 100
7. จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา 1.โรงเรียนจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา 100 100 100 100
8.จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง 1.โรงเรียนมีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง 100 100 100 100

กลยุทธ์ ที่ 3 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ

วัตถุประสงค์

เชิงกลยุทธ์

วิธีการและกิจกรรม ตัวชี้วัดความสำเร็จ เป้าหมาย
2555 2556 2557 2558
1. ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ วิสัยทัศน์ ด้านการบริหารจัดการ และสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพ 1. ประชุม สัมมนา ฝึกอบรม ศึกษาดูงาน และนิเทศแบบ

กัลญาณมิตร

1. ร้อยละของผู้บริหารที่ ผ่านการประชุม สัมมนา ฝึกอบรม ศึกษาดูงาน 100 100 100 100
2. ร้อยละของผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำ วิสัยทัศน์ ด้านการบริหารจัดการ และสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพ 100 100 100 100
2. ครูมีความรู้ความสามารถในด้านจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ 1. ประชุม สัมมนาฝึกอบรม ศึกษาดูงานและนิเทศแบบ กัลป์ญาณมิตร 1. ร้อยละของครูที่ ผ่านการประชุม สัมมนา ฝึกอบรม ศึกษาดูงาน อย่างน้อย ภาคเรียนละ 2 ครั้ง 70 80 90 100
2.ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ 1. ร้อยละของครูที่จัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 70 80 90 100
2. ร้อยละของครูที่มีผลงานวิจัยในชั้นเรียน 70 80 90 100
3. ร้อยละของครูที่สามารถใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน 70 80 90 100
4. ร้อยละของครูที่ใช้สื่อ เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน 70 80 90 100

กลยุทธ์ ที่ 4 พัฒนาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ สื่อการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของ

เศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุประสงค์ เชิงกลยุทธ์ วิธีการและกิจกรรม ตัวชี้วัดความสำเร็จ เป้าหมาย
2555 2556 2557 2558
1.พัฒนาอาคารสถานที่ให้มีความร่มรื่นสวยงาม น่าอยู่น่าเรียน มีความปลอดภัย เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และความเป็นประชาคมอาเซียน 1.ปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารเรียนและอาคารประกอบให้แข็งแรง มั่นคง และสวยงามอยู่เสมอ 1.โรงเรียนมีอาคารเรียนและอาคารประกอบที่เพียงพอต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แข็งแรง มั่นคง และสวยงามอยู่เสมอ 80 85 90 95
2. ปรับปรุง ดูแลและพัฒนาภูมิทัศน์ของโรงเรียนให้ร่มรื่นสวยงาม น่าอยู่น่าเรียน มีความปลอดภัย และเอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และความเป็นประชาคมอาเซียน 1.โรงเรียนมีภูมิทัศน์ที่ร่มรื่นสวยงาม น่าอยู่น่าเรียน มีความปลอดภัย และเอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และความเป็นประชาคมอาเซียน 80 85 90 95
วัตถุประสงค์ เชิงกลยุทธ์ วิธีการและกิจกรรม ตัวชี้วัดความสำเร็จ เป้าหมาย
2555 2556 2557 2558
2.จัดให้มีวัสดุ อุปกรณ์ และพัฒนาสื่อการเรียนการสอนเทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และความเป็นประชาคมอาเซียน 1.จัดหาHardware และSoftwareสำหรับการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน 1.โรงเรียนมีHardware สำหรับการบริหารจัดเพียงพอกับความต้องการ 3 4 5 6
2.โรงเรียนมีHardware สำหรับการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนที่เพียงพอกับความต้องการ 15 16 18 20
3.โรงเรียนมี Softwareสำหรับการบริหารจัดการ 80 85 90 95
4.โรงเรียนมี Softwareสำหรับการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนที่เพียงพอกับความต้องการ 80 85 90 95
2.จัดระบบข้อมูล สารสนเทศ และสื่อการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย 1.โรงเรียนมีระบบข้อมูล สารสนเทศ และสื่อการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย 80 85 90 95
3.จัดให้มีข้อมูล สารสนเทศ และสื่อการเรียนรู้ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและประชาคมอาเซียน 1.โรงเรียนมีระบบข้อมูล สารสนเทศ และสื่อการเรียนรู้ใช้ในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 80 85 90 95
2.โรงเรียนมีระบบข้อมูล สารสนเทศ และสื่อการเรียนรู้ใช้ในการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 80 85 90 95

กลยุทธ์ ที่ 5 พัฒนาระบบภาคีเครือข่ายอุปถัมภ์และทรัพยากรทางการศึกษา เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาค

ส่วน และความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดศึกษา

วัตถุประสงค์

เชิงกลยุทธ์

วิธีการและกิจกรรม ตัวชี้วัดความสำเร็จ เป้าหมาย
2555 2556 2557 2558
1.โรงเรียนสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาของโรงเรียนในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ระดับประเทศและระดับอาเซียน 1.ระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วนเพื่อใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน 1.1 รายได้จากกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้น เช่น สหกรณ์ร้านค้า ชุมนุมยุวเกษตรกรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โครงการคัดแยกขยะเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม งานประจำปีของโรงเรียน เป็นต้น 1.2 ขอรับการสนับสนุนจากชุมชน

1.3 ขอรับการสนับสนุนจากวัดบางลำภู

1.4 ขอรับการสนับสนุนจากวัดสุทธาวาส(ใหม่)

1.5 ขอรับการสนับสนุนจากอ.บ.ต.บางครก

1.6 ขอรับการสนับสนุนจาก อบจ.เพชรบุรี

1. โรงเรียนได้รับการสนับสนุนทรัพยากรจากทุกภาคส่วนเพื่อใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน 1.1 โรงเรียนมีรายได้จากกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้น เช่น สหกรณ์ร้านค้า ชุมนุมยุวเกษตรกรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โครงการคัดแยกขยะเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม งานประจำปีของโรงเรียน เป็นต้น 1.2 โรงเรียนได้รับการสนับสนุนในด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นจากชุมชน

1.3 โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากวัดบางลำภู

1.4 โรงเรียนได้รับการสนับสนุนพระวิทยากรสอนศีลธรรมจากวัดสุทธาวาส(ใหม่)

1.5 โรงเรียนได้รับการสนับสนุนโครงการของโรงเรียน

จากอ.บ.ต.บางครก

1.6 โรงเรียนได้รับการสนับสนุนโครงการของโรงเรียน

จากสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเพชรบุรีจำกัด

1.7 โรงเรียนได้รับการสนับสนุนโครงการของโรงเรียนจาก อบจ.เพชรบุรี

50,000

3

20,000

1

1

1

1

50,000

4

20,000

1

2

1

1

50,000

5

20,000

1

3

1

1

50,000

6

20,000

1

4

1

1

วัตถุประสงค์ เชิงกลยุทธ์ วิธีการและกิจกรรม ตัวชี้วัดความสำเร็จ เป้าหมาย
2555 2556 2557 2558
2.สร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาทั้งระดับท้องถิ่นระดับภูมิภาคระดับประเทศและต่างประเทศ 1.จำนวนของโรงเรียนที่มีเครือข่ายร่วมพัฒนาทั้ง - ระดับท้องถิ่น - ระดับภูมิภาค

-ระดับประเทศ

-ระดับต่างประเทศ

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

3.จัดกิจกรรมศึกษาดูงานกับโรงเรียนเครือข่ายในระดับภูมิภาค ระดับประเทศและระหว่างประเทศ 1.2 จำนวนของกิจกรรมศึกษาดูงานกับโรงเรียนเครือข่ายใน - ระดับภูมิภาค - ระดับประเทศ

-ระดับต่างประเทศ

1

-

-

-

1

-

-

1

-

-

-

1

2.จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างโรงเรียนเครือข่ายสู่ประชาคมอาเซียน 2.1.จัดกิจกรรมการเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทรัพยากรและภูมิปัญญาระหว่างเครือข่ายโรงเรียนร่วมพัฒนา 2.1 จำนวนกิจกรรมการเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทรัพยากรและภูมิปัญญาระหว่างเครือข่ายโรงเรียนร่วมพัฒนา 1 1 1 1
2.2.จัดกิจกรรมให้ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลอื่นทั้งในและต่างประเทศ 2.2ร้อยละของนักเรียนที่จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลอื่นทั้งในและต่างประเทศ 1 1 1 1

ส่วนที่ ๖

โครงการและกิจกรรมสนับสนุนกลยุทธ์

เพื่อการดำเนินการจัดการศึกษาของโรงเรียน เป็นไปตามแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนที่วางไว้จึงได้กำหนดโครงการและกิจกรรมตามกลยุทธ์ของโรงเรียน ดังนี้

กลยุทธ์ ที่ 1 พัฒนาคุณภาพผู้เรียน หลักสูตรโรงเรียนและกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้สมรรถนะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์และทักษะชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ตาม ศักยภาพพร้อมเป็นพลเมืองของประชาคมอาเซียนและพลโลก

ประกอบด้วยโครงการและกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

1.1 โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

1.2 โครงการพัฒนาทักษะทางการสื่อสารภาษาอังกฤษกับครูต่างประเทศ

1.3 โครงการพัฒนาทักษะทางด้านดนตรีไทยของนักเรียน

1.4 โครงการพัฒนาทักษะทางคอมพิวเตอร์ของนักเรียน

1.5 โครงการพัฒนาทักษะทางด้านนาฏศิลป์ของนักเรียน

1.6 โครงการพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักเรียน

1.7 โครงการเสริมสร้างสุขลักษณะนิสัยปฐมวัย

1.8 โครงการปฐมวัยรักภาษาอังกฤษ

1.9 โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาปฐมวัย

1.8 โครงการค่ายวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์

1.9 โครงการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1.10 โครงการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีโดยการออม

1.11 โครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอ่าน

1.12 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

- งานแนะแนว

- โครงการเข้าค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารี

- โครงการค่ายพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน

- โครงการทัศนศึกษา

- กิจกรรมชุมนุมยุวเกษตรกรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

- โครงการค่ายวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

- โครงการค่ายวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

1.13. โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

1.14 โครงการอาหารกลางวันนักเรียน

1.15 โครงการเยี่ยมบ้านนักเรียน 100%

1.16 โครงการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดในสถานศึกษา

1.17 โครงการอนุรักษ์กิจกรรมวันสำคัญ

1.18 โครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน

1.19 โครงการเด็กดีศรีบางลำภู

กลยุทธ์ ที่ 2 พัฒนาระบบบริหารจัดการโรงเรียน และระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้มี

ประสิทธิภาพ

ประกอบด้วยโครงการและกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

2.1 โครงการพัฒนาจัดเก็บข้อมูลการบริหารงานวิชาการอย่างเป็นระบบ

2.2 โครงการจัดหาวัสดุ และครุภัณฑ์ทางการศึกษาของโรงเรียน

2.3 โครงการพัฒนาระบบการเงินและบัญชี

2.4 จัดทำแผนการใช้งบประมาณประจำปีงบประมาณ

2.5 จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา

กลยุทธ์ ที่ 3 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ

ประกอบด้วยโครงการและกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

3.1 โครงการนิเทศภายในแบบกัลญาณมิตร

3.2 โครงการพัฒนาพัฒนาบุคลากรสู่มืออาชีพ

3.3 โครงการส่งเสริมการวิจัยเพื่อการเรียนรู้

3.4 โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายการศึกษา

3.5 โครงการจัดนิทรรศการแสดงผลงานทางวิชาการของครูและนักเรียน

3.6 โครงการครูดีศรีบางลำภู

กลยุทธ์ ที่ 4 พัฒนาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ สื่อการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ประกอบด้วยโครงการและกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

4.1 โครงการ จัดหาและจัดทำแหล่ง เรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4.2 โครงการจัดหาและจัดทำแหล่งเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน

4.3 โครงการจัดทำ และจัดหาสื่อการเรียนรู้

4.4 โครงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีและ สารสนเทศ

4.5 โครงการโรงเรียนพร้อมใช้

4.6 โครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอ่าน

4.7 โครงการห้องสมุดสมาร์ท (Smart Library)

4.8 โครงการห้องเรียนคุณภาพ

กลยุทธ์ ที่ 5 พัฒนาระบบภาคีเครือข่ายอุปถัมภ์และทรัพยากรทางการศึกษา เน้นการมีส่วนร่วมจาก

ทุกภาคส่วน และความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดศึกษา

ประกอบด้วยโครงการและกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

5.1 โครงการเปิดประตูโรงเรียนวัดบางลำภูสู่อาเซียน

5.2 โครงการโรงเรียนทวิภาคีร่วมพัฒนาการศึกษา

5.3 โครงการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

5.4 โครงการประชุมผู้ปกครองนักเรียน

5.5 โครงการคลังภูมิปัญญาท้องถิ่น

5.6 โครงการโรงเรียนดีด้วยมือเรา

ส่วนที่ ๗

แนวทางการบริหารแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน

. การบริหารแผน

โรงเรียนวัดบางลำภู ใช้หลักธรรมาภิบาล “Good Governance” ในการบริหารแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน ซึ่งมีองค์ประกอบที่สาคัญ 6 ประการดังนี้

๑) หลักนิติธรรม คือ การดำเนินการใดๆจะต้องถูกต้องตาม กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นหลักในการดำเนินการในทุกขั้นตอน

๒) หลักคุณธรรม คือ การดำเนินการใดๆจะต้องคำนึงถึงความถูกต้องไม่ผิดศีลธรรมอันดี ไม่ทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสียเดือดร้อน

๓) หลักความโปร่งใส คือ การดำเนินการใดๆจะต้องสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน

๔) หลักความมีส่วนร่วม คือ การดำเนินการใดๆจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ

๕) หลักความรับผิดชอบ คือ การดำเนินการใดๆจะมีผู้ได้รับมอบหมายและต้องมีความรับผิดชอบ พร้อมที่จะปรับปรุงและแก้ไขได้ต่อไป

๖) หลักความคุ้มค่า คือ การดำเนินการใดๆ ต้องตระหนักว่ามีทรัพยากรค่อนข้างจากัด ดังนั้นในการบริหารจัดการจำเป็นจะต้องยึดหลักความประหยัด ความคุ้มค่า และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

. การกำกับติดตาม

โรงเรียนวัดบางลำภู กำหนดแนวทางการกำกับติดตามการดำเนินงานในการบริหารแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๘ โดยยึดหลัก PDCA : DEMING CYCLE ( วงจรคุณภาพ) โดย Dr.Edward W. Deming ดังนี้

๑) P : PLAN การวางแผนจัดทำโครงการ

- วัตถุประสงค์เหมาะสม และสอดคล้องกับแผนของพันธกิจหรือไม่

- มีการกำหนดผู้รับผิดชอบหรือไม่

- ระยะเวลาดำเนินการที่กำหนดไว้เหมาะสมหรือไม่

- งบประมาณที่กำหนดเหมาะสมหรือไม่

- มีการเสนอเพื่อขออนุมัติก่อนดำเนินการหรือไม่

๒) D : DO การกำกับติดตามการปฏิบัติงานตามโครงการ

- มีการกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินการหรือไม่

- มีผู้รับผิดชอบดำเนินการได้ตามที่กำหนดไว้หรือไม่

- มีการประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องมากน้อยเพียงไร

- สามารถดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่

- สามารถดำเนินการได้ตามงบประมาณที่กำหนดไว้หรือไม่

๓) C : CHECK ตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงาน

- ได้มีการกำหนดวิธี/รูปแบบการประเมินหรือไม่

- มีรูปแบบของการประเมินเหมาะสมหรือไม่

- ผลของการประเมินตรงกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่

- ปัญหา/จุดอ่อนที่พบในการดำเนินการมีหรือไม่

- ข้อดี/จุดแข็ง ของการดำเนินการมีหรือไม่

๔) A : ACTION นำข้อมูลที่ได้จากการกำกับติดตามการดำเนินงานไปปรับปรุงต่อไป

- มีการระดมสมองเพื่อหาทางแก้ปัญหา/จุดอ่อนที่ค้นพบ

- มีการระดมสมองเพื่อหาทางเสริมข้อดี/จุดแข็งเพิ่มขึ้น

- มีการนำผลที่ได้จากการระดมสมองเสนอผู้บริหารเพื่อพิจารณาสำหรับใช้ วางแผนจัดทำโครงการในครั้งต่อไป

- กำหนดกลยุทธ์ในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาในครั้งต่อไป

.ระบบการติดตามประเมินผล

โรงเรียนวัดบางลำภู ได้กำหนดให้มีระบบการติดตามและประเมินผลการบริหาร

จัดการแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดบางลำภู พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๘ ดังนี้

๑) มอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ

๒) จัดทำคำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบ

๓) จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานและการติดตามประเมินผล

๔) ดำเนินการตามปฏิทินการปฏิบัติงานและการติดตามประเมินผล

๕) รายงานผลการปฏิบัติงานและการติดตามประเมินผล โดยแบ่งเป็น ๒ ระยะ คือ

๕.๑) ระยะที่ ๑ รายงานผลการปฏิบัติงานและการติดตามประเมินผลระหว่างปฏิบัติ

๕.๒) ระยะที่ ๒ รายงานผลการปฏิบัติงานและการติดตามประเมินผลเมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว

๖. นำข้อมูลที่ได้จากการรายงานทั้ง ๒ ระยะ มาศึกษาวิเคราะห์ เพื่อนำผล

การศึกษาวิเคราะห์ดังกล่าวไปพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้ดีขึ้นต่อไป

ภาคผนวก

คณะผู้จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดบางลำภู

พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๘

๑. พระครูโสภิตวัชรกิจ เจ้าคณะอำเภอบ้านแหลม ประธานที่ปรึกษา

เจ้าอาวาสวัดบางลำภู

๒. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดบางลำภู คณะที่ปรึกษา

๓. นายตรีศูล พงษ์พันธุ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบางลำภู ประธานคณะทำงาน

๔. นายสพรั่ง อุบลน้อย ครู คศ.2 กรรมการ

๕. นางปัทมา เผ่าสำราญ ครู คศ.2 กรรมการ

๖. นางสาวโสภา เที่ยวหาทรัพย์ ครู คศ.2 กรรมการ

๗. นางกัญญารัตน์ พูลพิพัฒน์ ครู คศ.2 กรรมการ

๘. นางปัทมา เผ่าสำราญ ครู คศ.2 กรรมการ

๙. นายชัยวัฒน์ ปานฉ่ำ ครู อัตราจ้าง กรรมการ

๑๐. นางสาวจุลลัดดา วงวิราช พี่เลี้ยงเด็กอนุบาล กรรมการ

๑๑. นางสาวรักษิณา วชิรภูษิต เจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียน กรรมการและเลขานุการ

************************************************แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดบางลำภู(2555-2558).doc

หมายเลขบันทึก: 577053เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2014 21:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กันยายน 2014 21:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท