มาตรฐานครูสอนภาษาอังกฤษ


มาตรฐานครูสอนภาษาอังกฤษ


         ครูผู้สอนต้องมีการพัฒนาทั้งด้านความรู้ ความสามารถ หรือที่เรียกว่า พัฒนาตนเอง ครูผู้สอนทุกคนมีภารกิจในการสอนให้ความรู้ให้แก่ผู้เรียน ให้รู้จักคิด วิเคราะห์เขียน มีประสบการณ์ มีกระบวนการในการทำงาน ตลอดจนมีคุณธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สามารถอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

นอกจากนี้ครูผู้สอนต้องมีการพัฒนาทั้งด้านความรู้ ความสามารถ หรือที่เรียกว่า พัฒนาตนเอง

ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ มีขอบข่ายและมาตรฐานครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ดังนี้

ขอบข่ายสาระที่ 1 ความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษ

มาตรฐานที่ 1 มีความเข้าใจธรรมชาติและองค์ประกอบทางภาษา(Linguistic Competence)

มาตรฐานที่ 2 มีความสามารถในการสื่อสาร (Communicative Competence)

ขอบข่ายสาระที่ 2 ความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้

มาตรฐานที่ 3 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี วิธีสอนภาษาต่างประเทศ และกลยุทธ์การเรียนรู้

มาตรฐานที่ 4 มีความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา

ขอบข่ายสาระที่ 3 การพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ

มาตรฐานที่ 5 พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้น ครูผู้สอนภาษาอังกฤษจึงมีมาตรฐานเหล่านี้ นอกจากการจัดการเรียนรู้ที่เป็นมาตรฐานแล้ว ยังเป็นการพัฒนาตนเองของเพื่อนครูไปด้วย

มาตรฐานวิชาชีพมาตรฐานครูสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย

มาตรฐานวิชาชีพ ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพที่พึงประสงค์ ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผู้ที่จะประกอบวิชาชีพ ต้องประพฤติประปฏิบัติตาม ประกอบด้วยมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงานและมาตรฐานการปฏิบัติตน

1.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ข้อกำหนดเกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษา ซึ่งผู้ต้องการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีความพอเพียงที่สามารถนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพได้

กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครูมีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์

มีวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาหรือเทียบเท่าที่คุรุสภารับรองผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี

2.มาตรฐานการปฏิบัติงาน ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ หรือการแสดงพฤติกรรมการปฏิบัติงานและการพัฒนางานซึ่งผู้ที่จะประกอบวิชาชีพ ต้องประพฤติประปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษา รวมทั้งต้องฝึกฝนให้มีทักษะ หรือความชำนาญสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

1. ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ

2. ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่เกิดแก่ผลเรียน

3. มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ

4. พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง

5. พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ

6.จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน

7. รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ

8. ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน

9. ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์

10. สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์

3.มาตรฐานการปฏิบัติตน จรรยาบรรณของวิชาชีพที่กำหนดขึ้นเป็นแบบแผนในการประพฤติตน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องปฏิบัติตาม เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และฐานะของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา

จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติตนจรรยาบรรณต่อวิชาชีพและแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ

จรรยาบรรณต่อตนเอง ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวีนัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ

จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจ ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอ

คำสำคัญ (Tags): #มาตรฐานครูสอน
หมายเลขบันทึก: 576754เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2014 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2014 11:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท