​จาก “คนเร่ร่อน” ถึง “บ้านผู้พิการ” บทเรียนนอกห้องบ่มคนดนตรีรุ่นใหม่


จาก “คนเร่ร่อน” ถึง “บ้านผู้พิการ”

บทเรียนนอกห้องบ่มคนดนตรีรุ่นใหม่

การขอร่วมเป็นอาสมัครช่วยเหลือคนไร้บ้านเมื่อครั้งล่าสุดอาจจะไม่ตื่นเต้นเท่าครั้งแรกที่เกิดขึ้นเมื่อหลายเดือนก่อนแต่ทุกครั้งที่ไปร่วมกิจกรรมภาพที่เห็นตรงหน้าทำให้คนหนุ่มอย่างพวกเขามีเรื่องกลับมาคิดต่อแทบทุกครั้ง “ใครจะมองว่าความยากจน เป็นผลมาจากความขี้เกียจก็เป็นความเห็นส่วนบุคคล แต่สำหรับผม จะไปสรุปกันแบบนั้นไม่ได้เพราะปัญหามันมีสาเหตุมากกว่านั้น บางคนอาจจะขยันแต่งานที่เขาทำได้ค่าตอบแทนน้อย จะให้ไปหางานที่ดีกว่านี้โอกาสมันก็ไม่มี” พี พีระศักดิ์ พันธ์ศรี บอกด้วยน้ำเสียงจริง จังสามทุ่มของวันจันทร์ บริเวณใกล้เสาชิงช้าหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานครถูกดำเนินไปตามปกติอย่างที่เป็นมา ไม่ว่าจะเป็นความปกติของเสียงเครื่องยนต์ แสงไฟของร้านค้า หรือผู้สัญจรอื่นๆ ที่เลือกเดินตามวิถีคนกลางคืน หากคืนนั้นจะต่างออกไปก็น่าจะอยู่ที่บรรดานักดนตรีสมัครเล่น ตามโครงการ “พลังเพลง พลังปัญญา” ซึ่งไปเก็บข้อมูลประเด็น “คนเร่ร่อน” ร่วมกับมูลนิธิกระจกเงา ที่ดูจะคึกคักกว่าสิ่งรอบข้าง

หนนี้เป็นอีกครั้งที่ วง “ฮาร์ดแวร์” จากมหาวิทยาลัยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือไปคลุกคลี และร่วมสมทบแรงงานแจกอาหารเย็นแก่กลุ่มคนเร่ร่อน-ไร้บ้านละแวกใกล้สนามหลวงโดยใช้พื้นที่ใกล้เสาชิงช้าเป็นที่แจกอาหาร พี-พีระศักดิ์ ซึ่งเพิ่งร่วมโครงการพลังเพลงฯ เป็นครั้งแรก บอกว่า การลงพื้นที่เก็บข้อมูลคนไร้บ้านได้ช่วยให้เกิดแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับสังคม เกิดประสบการณ์จริง อารมณ์ร่วม ที่จะใช้ในการผลิตเพลงที่มีเนื้อหาสะท้อนสังคม แบบที่กลุ่ม Triple H กับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) วางแนวทางร่วมกันนั่นเพราะความเข้มข้นของเนื้อหาในกิจกรรมพลังเพลง พลังปัญญา ปีที่4 จะส่งเสริมให้เยาวชนที่รักดนตรีมีสุขภาวะทางปัญญาด้วยการผสานความสามารถทางด้านดนตรีของเยาวชนที่มีอยู่เดิมกับแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมโดยสร้างทักษะเรียนรู้และวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงแก่เยาวชนเพื่อให้เยาวชนนำเสนอประเด็นผ่านดนตรีหรือบทเพลงซึ่งเป็นศิลปะร่วมสมัย

การเรียนรู้ชีวิตคนเร่ร่อนจึงเป็นบันไดขั้นแรกก่อนการผลิตเพลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

“ประสบการณ์ที่ได้จากการรู้จักวิถีชีวิตของคนเร่ร่อน ไร้บ้านจะเป็นส่วนหนึ่งของเพลงที่พวกผมจะทำ พวกผมอยากจะสะท้อนให้คนอื่นเห็นเหมือนกันว่าคนที่ยากจนไม่มีบ้านอาศัยแบบที่เรียกว่าคนเร่ร่อนนั้นคือคนกลุ่มไหนกันแน่อย่างบางคนที่ผมรู้จักจริงๆอยู่ต่างจังหวัด ในตอนกลางวันก็ทำงาน รับจ้างตามปกติทั่วไป แต่เขาไม่มีบ้าน ไม่มีเงินพอจะไปเช่าอยู่ จึงต้องอาศัยนอนตามถนน ใช้ห้องน้ำสาธารณะ อาศัยอาคารใกล้ๆนี้เป็นที่หลบฝน” “สาเหตุของการเป็นคนไร้บ้าน ต้องเร่ร่อน มีมากกว่าความจนหรือความขี้เกียจจริงหรือไม่” ตัวแทนนักศึกษากล่าวทิ้งท้ายและตั้งคำถามในเวลาเดียวกัน อีกด้านหนึ่ง ผู้บันทึกได้ร่วมสังเกตการณ์กลุ่มเยาวชนวงดนตรี ”North west” ซึ่งมาจากรั้วการศึกษาเดียวกัน ซึ่งหนนี้พวกเขาตรงดิ่งมาเรียนรู้ประเด็นเรื่องเด็กพิการกับมูลนิธิสุขภาพไทย ณ สถานสงเคราะห์เด็กพิการและทุพพลภาพปากเกร็ด (บ้านนนทภูมิ) เดฟ-ยืนหยัด พูลเทพ” นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ สมาชิกวง “ฮาร์ดแวร์” บอกว่า นอกจากทักษะทางดนตรีที่เพิ่มขึ้น กิจกรรมครั้งนี้ยังสร้างแรงบันดาลใจให้เขาอดทนต่อทุกสิ่งในชีวิต เพราะการที่มีอวัยวะสมบูรณ์ครบ32ประการ ถือเป็นความโชคดี เหตุนี้แม้ชีวิตข้างหน้า หากชีวิตต้องอยู่อย่างมีความหวังและมีความสุข เนื่องด้วยตลอด4-5ครั้งที่ร่วมกิจกรรมดนตรีกับผู้พิการ เขาได้พูดคุยและสังเกตพฤติกรรมของผู้พิการเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่พิการแต่กำเนิดหรือประสบอุบัติเหตุ บ้างเป็นเด็ก เยาวชน มีไม่น้อยที่อายุมากกว่านั้น เพลงที่พวกเขาจะผลิตขึ้น จึงเป็นการบอกเล่าถึงชีวิตของผู้พิการ ผ่านรั้วสถานสงเคราะห์ที่กั้นระหว่างโลก “ภายนอก” กับ “ภายใน” โดยมี “ร่างกาย” คือตัวแปรความแตกต่าง ขีดเส้นความปกติกับความพิเศษ

อย่างไรก็ตามหัวใจของความเป็นมนุษย์ทุกชีวิตล้วนไม่ต่างกัน

“แบงค์-ณัฐพงศ์ ชื่นใจ” นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งรับตำแหน่งมือกีตาร์วงฮาร์ดแวร์ นิยามว่า กิจกรรมที่พวกเขาทำอยู่นั้น คือการเรียนรู้ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคม นั่นเพราะก่อนการผลิตสื่อที่มีอิทธิพลอย่างดนตรี การสัมผัสด้วยตา เก็บข้อมูล และนำไปคิด จึงเปรียบเสมือนการศึกษาจริงก่อนจะลงมือทำ กิจกรรมที่มีดนตรีเป็นธงนำ โดยไม่ลืมการรับรู้ร่วมผิดชอบสังคมอย่าง โครงการพลังเพลงฯจึง ไม่ได้ให้ความสนใจที่ชัยชนะในเรื่องดนตรีอย่างเดียว แต่ยังสอนให้รู้จักสังคมในแง่มุมต่างๆ เช่น เรื่องคนพิการ คนเร่ร่อน ไร้บ้าน ได้เป็นอย่างดี “ครั้งหนึ่งเราอาจรู้จักคนพิการอย่างผิวเผิน แต่วันนี้พวกเราเห็นมันในระดับลึกขึ้น อาจจะไม่ถึงขนาดรู้จริง แต่มุมมองที่ได้ทำให้ตัวเองเปลี่ยนไป ไม่รู้สึกไม่ท้อใจกับเรื่องต่างๆได้ง่าย” แบงค์ว่า การเล่นดนตรีของพวกเขาจึงคุ้มค่า ทั้งได้ฝึกฝนเรื่องดนตรีที่พวกเขารัก และเข้าใจโลกเข้าใจสังคมในคราวเดียวกัน จากห้องเรียนคนไร้บ้านสู่ห้องเรียนผู้พิการ จึงเป็นแนวทางการเรียนรู้สังคมแบบวิถีคนดนตรีที่น่าติดตาม

ภาพประกอบ จาก กลุ่ม Triple H music 

หมายเลขบันทึก: 576729เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2014 08:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2014 08:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท