อาจารย์คณะเกษตรฯ มข. ส่งเสริมเกษตรกรทำปุ๋ยอินทรีย์ลดการใช้ปุ๋ยเคมี


โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน มหาวิทยาลัยขอนแก่น พื้นที่พัฒนาโมเดลตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี ให้เกษตรกร

              ดร.นิสิต คำหล้า ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และนางสาวจาวภา มะนาวนอก อสพ. มข. ได้ดำเนินกิจกรรมโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยจัดอบรม การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีให้แก่เกษตรกร มีผู้เข้าร่วมจำนวน 13 คน ณ ศาลปู่ตา บ้านจอมศรี ตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2557
            ปุ๋ยอินทรีย์ (Organic Fertilizer) คือ ปุ๋ยที่ได้จากอินทรีย์สาร ซึ่งผลิตขึ้นโดยกรรมวิธีต่างๆ และจะเป็นประโยชน์ต่อพืช เมื่อผ่านขบวนการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทางชีวภาพก่อน ซึ่งมีวัสดุหลายประเภทที่สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้ เช่น กากตะกอนหม้อกรองอ้อย(Filter Cake) กากน้ำตาลหัวเชื้อปุ๋ย เศษพืชต่างๆ อาทิ ต้นกล้วย ใบมันสำปะหลัง วัชพืช เป็นต้น โดยข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์นั้นคือ ช่วยปรับปรุงดิน โดยเฉพาะคุณสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น อยู่ในดินได้นานและค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชอย่างช้า ๆ และเมื่อใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะเสริมให้ปุ๋ยเคมีเป็นประโยชน์แก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้ในครั้งนี้ เมื่อผ่านกระบวนการหมักจนครบกำหนดเวลาแล้วจะนำไปใช้ประโยชน์ในการปลูกผักและไม้ผลภายในหมู่บ้านต่อไป

           จาวภา มะนาวนอก ข้อมูลข่าว/ภาพ
          กิตติศักดิ์ สิงหา วิเคราะห์ สังเคราะห์และเผยแพร่

หมายเลขบันทึก: 576648เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2014 15:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2014 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท