เขียนได้;เขียนเป็น;ไม่พอสำหรับขอตำแหน่งทางวิชาการ


พระมหาหรรษา รศดร.ผู้ช่วยอธิการฝ่ายวิชาการมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและ ผู้อำนวยการสถาบันสอนภาษามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้บรรยายในการอบรมเรื่องเทคนิคและวิธีการเขียนผลงานทางวิชาการที่วิทยาเขตแพร่เมื่อวันที่๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๗ที่ผ่านมามีหลายประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องของการเขียนริ่มตั้งแต่ ต้องมีการนำพุทธศาสนามาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ซึ่งหลักพุทธศาสนามี๔สายคือ ๑.พุทธแนวคัมภีร์คือการเรียนไว้ตอบคำถาม ๒.พุทธแบบตีความคือการตีความจากคัมภีร์๓.พุทธแนวปฎิบัติคือการเน้นการปฎิบัติแบบวิปัสสนาธุระและสุดท้าย๔.พุทธศาสนาเพื่อสังคมทำไมต้องมีการบูรณาการก็เพราะ สถาบันมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นสถาบันพุทธศาสนาเพื่อรับใช้สังคมจึงนำหลักพุทธศาสนามาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่สำหรับนำไปใช้มีอยู่ ๒แบบคือ ๑.แบบธรรมวิทยา เน้นศาสนาเป็นตัวตั้งเป้าหมายในการนำไปแก้ปัญหา ทำความเข้าใจ ปรับทัศคติและพฤติกรรม ๒.แบบพุทธวิทยาคือเอาของเราไปขายเขา ในลักษณะนี้เรียกว่า แบบอุ้มบุญคือถ้าไม่ขึ้นต้นด้วยปัญญาคือการไปสอน ถ้าเราเข้าใจพุทธเราก็เขียนพุทธศาสนาขึ้นก่อน ถ้าออกมาในรูปแบบพฤติกรรมคือการนำไปเผยแพร่

จะเห็นได้ว่าปัญหาส่วนใหญ่ของผู้เขียนไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ในหัวข้อเรื่องหลักการง่ายๆคือถ้าเกี่ยวกับพุทธศาสนา ให้เอาหลักพุทธศาสนาเขียนขึ้นก่อนในเกริ่นนำ แต่ถ้าต้องการแก้ปัญหาให้เอาตะวันตกขึ้นก่อน

สรุปง่ายๆคือ ธรรมวิทยาคือการนำเอาวิทยาการสมัยใหม่หรือศาสตร์สมัยใหม่หลอมรวมหลักพระพุทธศาสนามาบูรณการเรียกว่า พุทธบูรณาการ

สำหรับคำว่าศาสตร์สมัยใหม่ในโลก ทางวิชาการจัดเป็น ๓ กลุ่ม คือ๑.วิทยาศาสตร์เป็นเรื่อของโอกาสที่นำสู่โลกภายนอกได้แก่ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ ธรณีวิทยา พฤกษศาสตร์ ๒. มนุษยศาสตร์เป็นเรื่องของสังขารคือโลกภายใน ได้แก่ ศิลปะ ภาษา ปรัชญา ประวัติศาสตร์ ดนตรี วรรณคดีและศาสนา ๓.สังคมศาสตร์ เป็นเรื่องของสัตว์สังคมโลกภายนอก ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษวิทยา เป็นต้น คำว่า ศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่จุดมุ่งหมายเพื่อนำความรู้ที่ได้รับมาตอบสนองความต้องการและประโยชน์ของมนุษย์เป็นสำคัญ เมื่อรู้รายละเอียดหลักการเบื้องต้นแล้ว การที่จะเลือกว่าควรจะเขียนเอกสาร แบบไหน ตำรา เอกสารประกอบกรสอน หรืองานวิจัย แม้กระทั้งบทความจึงมีความสำคัญก่อนที่เราจะลงมือเขียน

ความสำคัญในการเลือกการเขียนเอกสารเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ

สำหรับเอกสารที่สำคัญหมายเลข๑.ในการขอผลงานทางวิชาการที่สำคัญคือการเขียนตำราโดยต้องผ่านการตรวจจากผู้เชี่ยวชาญระดับศาสตราจารย์๒ท่านที่แต่งตั้งโดยมีอธิการบดีเป็นผู้แต่งตั้งซึ่งผู้เขียนต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ให้ท่านละประมาณ๑o,ooo บาท และเอกสารตำราต้องมีการพิมพ์ซ้ำ๒ครั้ง ประเด็นสำคัญของการเขียนตำราวิชาการคือควรเลือกจากวิชาบังคับหรือที่เราเรียกว่าวิชาเอกที่สะท้อนให้เห็นความสำคัญของปัญหานั้นๆโดยผู้สอนต้องสอนรายวิชานั้นเป็นระยะเวลายาวนานจนเกิดความเชี่ยวชาญแล้วสามารถพัฒนามาเป็นเอกสารประกอบการสอนหรือเอกสารคำสอนรวมทั้ง การเขียนเป็นหนังสือ หรือบทความที่เริ่มแรกอาจจะเขียนประมาณ๑๕หน้าแล้วค่อยขยายเป็น๔oหน้า สำหรับเทคนิคการเขียนตำรามาเป็นหนังสือไม่จำเป็นต้องมีผู้อ่านแต่ผู้เขียนสามารถผ่านผอ.ฝ่ายวิชาการโดยมีหนังสือนำถึงรองอธิการบดีให้ท่านเขียนคำนิยมและแนบข้อความท้ายเล่มว่ารายจ่ายในการจัดพิมพ์ทั้งหมดผู้เขียนเป็นผู้รับผิดชอบ

สำหรับเอกสาร ตำรา ที่มาจากบทความ ควรสั้น กระชับ ซึ่งสามารถนำไปฝากไว้ในบล็อกต่างๆและสามารถนำมาใช้อ้างอิงได้แต่ก่อนที่เราจะลงมือเขียนอะไรนั้นเราต้องคิดก่อนว่าในการเขียนขอผลงานทางวิชาการจะใช้เอกสารประเภทไหนเพราะต้องใช้๒ชิ้น ตัวอย่าง เช่น งานวิจัยกับเอกสารประกอบการสอน หรือเอกสารคำสอน ในการเขียนเอกสารต้องสัมพันธ์กับวิชาที่สอน สัมพันธ์กับ สาขาวิชารวมทั้ง หนังสือ ที่ใช้ศึกษาวิเคราะห์ สรุปก็คือ สอนวิชาใดก็ทำตำราวิชานั้น ทำงานวิจัยวิชานั้นแต่ข้อควรระวังคืออย่ายกเอาข้อความมาเป็นท่อนๆ ข้างล่างต้องมีอ้างอิง การเขียนขอตำแหน่งทางวิชาการการเขียนผลงานที่นำเสนอสิ่งที่ควรเลือกเป็นอันดับแรกคือตำรา (หนังสือ) กับเอกสารประกอบการสอน หรือจะเลือกเขียนงานวิจัยกับเอกสารประกอบการสอนก็ได้เพราะจะได้แต้มคะแนนประมาณ๘o แต้ม แต่สิ่งที่ไม่ควรเขียนเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการคือการเขียนบทความคู่กับเอกสารประกอบการสอนเพราะจะได้คะแนนต่ำที่สุดเมื่อทราบรายละเอียดอย่างนี้แล้วจึงควรเริ่มต้นลงมือเขียน

แล้วควรเริ่มต้นการเขียนและมีแนวทางอย่างไร ในการเขียนถ้าตั้งคำถามที่ดีย่อมนำไปสู่คำตอบที่ดีข้อคิดก็คือ๑.ค้นปัญหาที่จะเขียน ๒.หาทฤษฎีมาเป็นกรอบหรือแนวทางเครื่องมือในการศึกษา ๓.ใช้เครื่องมือที่ได้มาค้นหาสิ่งที่เราต้องการในพุทธศาสนา๔.วิเคราะห์/ตีความ/สงเคราะห์/บูรณาการเครื่องมือทั้งสองเพื่อสร้างสิ่งใหม่๕.ได้คำตอบประเด็นปัญหา แต่เราก็มักจะพบปัญหาในการเขียนบทนำมักเกิดจาก ขาดปัญหาไม่รู้ว่าปัญหาคืออะไร ขาดการตั้งคำถาม หรือ ถ้ามีการตอบคำถามแต่ความเป็นมาก็ไม่ชัดเจนและขาดการอ้างอิงที่มาของปัญหา เมื่อเริ่มลงมือเขียนหลายครั้ง

ข้อความไม่ต่อเนื่อง สะดุด เราต้องมีคำเชื่อมระหว่างคำ ดังนั้นจึงควรจะใช้คำเหล่านี้ เมื่อไร สถานการณ์ไหน เช่น คำว่าอย่างไรก็ตาม(ก็ดี) ใช้เมื่อเราจะเขียนปฎิเสธประโยคข้างหน้า,ยิ่งกว่านั้นใช้เมื่อขยายคำหน้า,หรือใช้ในกรณีที่ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง,และ ให้น้ำหนักสองข้างเท่ากัน(อำนาจการใช้คำ) , เพราะฉะนั้นหรือฉะนั้นใช้เมื่อให้เหตุผลหรือสรุป การเขียนที่สำคัญคือต้องมีตั้งแต่การเกริ่นนำ นำไปสู่เนื้อหา และการสรุปฉะนั้นการเขียนเกริ่นนำที่ดีคือต้องชัดเจนในประเด็นว่าคืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร ความสำคัญอะไร จึงนำไปสู่การตั้งคำถามเพื่อหาทางออก สำหรับการเขียนเนื้อเรื่อง มีวิธีการเขียนแบบเป็นประโยค ,การเขียนแบบย่อหน้า ,การเขียนแบบการลำดับเรื่องส่วนเรื่องของการสรุป มีวิธีเขียนแบบ๑.ให้ข้อเสนอแนะ ๒.ให้ความหวัง ๓.ชักชวนให้อ่าน ๔.การสรุปความ ๕.การตั้งคำถามให้คิด ๖.ฝากไปถึงผู้เกี่ยวข้อง ๗.ย้ำความสำคัญ

ในสิ่งที่เขียนมาทั้งหมดข้าพเจ้าผู้เขียนรวบรวมมาจากการบรรยายของพระอาจารย์พระมหาหรรษาในตอนแรก คิดว่าคงจะไม่เขียนอะไรที่เกี่ยวกับงานด้านวิชาการอีกต่อไปเพราะไม่รู้จะเขียนไปทำไม เพื่ออะไร ประการสำคัญคือเกิดความกลัวที่จะเขียนเพราะไม่มีหน้าที่การทำงานอะไรที่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยสงฆ์เชียงรายอีกแล้วกลัวจะเกิดผลกระทบเชิงลบต่อผู้ที่มีเมตตาต่อข้าพเจ้าที่มองเห็นในสิ่งข้าพเจ้าชอบทั้งยังส่งเสริมและสนับสนุนพร้อมเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้กลัวว่าท่านเหล่านั้นจะได้รับผลกระทบ กลัวจะมีผลต่อการเสนอผ่านผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์เชียงรายในการเซ็นต์ขออนุมัติผ่านขอตำแหน่งทางวิชาการหรือไม่ กลัวจะทำให้คนอื่นเดือดร้อน กลัวไปหมด แต่เมื่อมาคิดกลับไปกลับมาถึงหลักการและเหตุผลแล้ว ระดับพระเดชพระคุณ พระธรรมราชานุวัตร เจ้าคณะภาค๖เชียงรายท่านต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกลในการมองผู้มาบริหารใหม่ว่า ต้องเป็นคนยุติธรรม บริหารงานเก่ง โปร่งใส ไร้การคอรัปชั่น มีการปกครองปฎิบัติกับผู้ใต้บังคับบังชาอย่างเสมอภาคเท่าเทียมเพราะระดับผู้อำนวยการที่มีตำแหน่งระดับท่านเจ้าคุณท่านย่อมประพฤติปฎิบัติตามหลักพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัดยึดหลัก รักและเมตตา สนับสนุนผู้ใต้ปกครองทุกฝ่ายให้เจริญก้าวหน้าทางการงานซึ่งท่านเป็นนักปกครองที่ดี มีอยู่ครบแน่นอนจึงได้รับการไว้วางใจให้บริหารงานที่สำคัญท่านต้องมีนิสัย ความเสียสละเพื่อส่วนรวมอยู่แล้ว ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ใส่ใจที่จะขอผลงานผู้อื่นมาเป็นผลงานตัวเอง เพราะท่านเป็นผู้บริหารที่เก่ง ทำงาน ดี บริหารเป็น เชี่ยวชาญและชำนาญด้านการเขียนวิชาการอยู่แล้วท่านย่อมมีวิสัยทัศน์กว้างไกลสนับสนุนผู้ใต้บังคับบัญชาทุกฝ่ายให้เจริญก้าวหน้าด้วยเหตุนี้ ผู้ใต้บังคับบัญชา จึงรักและเลื่อมใสศรัทธา ในการบริหารงาน บวกกับที่ข้าพเจ้า ไปฟังพระอาจารย์บรรยายแล้วหลายสิ่งหลายอย่างที่พระอาจารย์บรรยายยังก้องสั่งสมอยู่ในสมอง เพราะ ที่รับว่าล้วนเป็นวิชาความรู้ที่มีคุณค่าน่าจดจำ สมาธิจึงแน่วแน่จดจ่ออยู่กับสิ่งนี้เลยตัดสินใจ....เอาว่ะๆๆๆ...เขียนก็เขียนเพราะไม่เขียนคงไม่ได้รู้สึกคันไม้คันมือชะมัด ในเมื่อ ชีวิตเพียวๆของข้าพเจ้าคือของขวัญที่ได้จากสวรรค์ที่ได้มาง่ายๆเราต้องใช้ให้เป็น ในเมื่อเรารักงานเขียนจงใช้ความกล้าเผชิญหน้ากับความกลัวคงเหมือนกับการที่รอยเท้าย่ำไปบนพื้นดินที่มีทั้งหลุม มีบ่อ มีก้อนหิน...ถ้าไม่เดิน ...ไม่วิ่ง......คงไม่รู้จักแกร่ง..ไม่ลื่นหกล้มบ้าง..คงไม่รู้จักคำว่า....กล้า....

ข้าพเจ้ารู้สึกซาบซึ้งและกราบมนัสการ พระอาจารย์ หรรษา ที่ทำให้ข้าพเจ้าออกมาจากเกราะที่ข้าพเจ้าสร้างไว้ขังความรู้สึก ความคิด การกระทำ ได้ทำในสิ่งที่ตนเองชอบและรักอีกครั้ง เพราะชีวิตข้าพเจ้า มักพบเจอ กับ โลกภายนอกที่โหดร้าย ข้าพเจ้าต้องใช้ทั้งความเสียสละ ความอดทน ความเมตตา และหลักการให้อภัยในการดำเนินชีวิตแต่เมื่อพบเจอสิ่งเลวร้ายที่มากระทบมากมาย อย่างต่อเนื่อง ข้าพเจ้าจึงกลัวต่อสังคม ภายนอก คิดว่าโลกภายนอกโหดร้าย อยู่ในบ้าน ไปวันๆยอมรับชะตาชีวิตจะดิ้นรน เสาะแสวงหา พัฒนา ตนเอง เพื่ออะไร แต่สิ่งที่ข้าพเจ้าได้รับในการอบรมครั้งนี้นอกเหนือจากความรู้แล้ว สิ่งที่มีคุณค่าและยิ่งใหญ่ คือการปลดปล่อยพันธะ หัวใจให้อิสระ โบยบินไปในท้องฟ้ากว้าง อีกครั้งได้กลับมาทำในสิ่งที่ตนเองรักก่อนที่จะสูญเสียสิ่งนี้ไปชั่วชีวิตนั่นคือ การเขียน

ด้วยหัวใจที่นับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ

กระต่ายใต้เงาจันทร์

๑๙ กันยายน ๒๕๕๗

ณ.บ้านปลายดอย เวลา o.๓๙ นาที

หมายเลขบันทึก: 576537เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2014 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กันยายน 2014 22:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท