ภาพที่ถ่ายด้วย Smartphone วางขาย on line ตอนที่ 2


ในตอนนี้ คำถามแรก เราจะถ่ายภาพให้มีคุณภาพ ต้องทำอย่างไรบ้าง  สิ่งที่สำคัญ คือ
                1. ภาพที่ถ่ายต้องคมชัด เราต้องถือ Smartphone ให้นิ่ง และแตะปุ่มถ่ายภาพให้เบาที่สุด
                2. ถ่ายอะไรให้ได้สิ่งนั้น อะไรที่ไม่เกี่ยวข้อง รกรุงรัง แย้งสายตา เอาออกไป โดยการเลือกหามุมใหม่
                3. ก่อนถ่ายจัดองค์ประกอบภาพ เอาง่าย ๆ เลย ไม่ว่าช่างภาพสมัครเล่น หรือมืออาชีพ มีกฏอยู่หนึ่งที่ใช้ในการจัดองค์ประกอบภาพคือ ใช้กฏ 3 ส่วน (Rule of Third) ในการจัดองค์ประกอบภาพเช่นเดียวกัน คงไม่ลงรายละเอียดว่าจัดอย่างไร หาอ่านใน Google มีทั้งเนื้อหา รูปภาพประกอบมากมาย
                4. จากการใช้กล้อง Smartphone ถ่ายภาพมาระยะหนึ่ง พบว่า ในการซูมภาพเพื่อให้ได้ภาพ ได้ระยะที่สวยงามตามที่เราต้องการ แต่ผลปรากฏว่า เมื่อมาขยายดูความคมชัดของภาพ จะมีลักษณะเบรอ ไม่ชัดเหมือนกับระยะภาพที่กล้องตั้งเป็นค่าพื้นฐาน (Default) นี่เป็นข้อจำกัด เราก็ไม่ต้องซูมภาพ ถ้าอยากได้ระยะใกล้มีวิธีเดียวคือ เดินเข้าไปใกล้ตัวแบบให้มากที่สุด (ถ้าทำได้)
                5. ห้ามใช้แฟลชในการถ่ายภาพ เพราะภาพที่ได้จะสว่างเฉพาะจุด ในบริเวณที่แสงแฟลชไปถึง แสงจะแข็ง ซึ่งจริง ๆ แล้วกล้องใน Smartphone ถูกออกแบบเกี่ยวกับการจัดการกับสภาพแสงได้โดยอัตโนมัติดีอยู่เลย ไม่ว่าจะเป็นสภาพแสงน้อย หรือสภาพแสงมาก สีออกมาสวยงามตามสภาพที่เป็นจริง
                เมื่อทราบว่าเราจะได้ภาพที่มีคุณภาพอย่างไรแล้ว คำถามต่อไป เราถ่ายอะไรได้บ้าง ตอบว่า ถ่ายได้หมดทุกอย่าง แต่ขอแยกเป็นหมวดหมู๋กว้าง ๆ ดังนี้
                1. ภาพทิวทัศน์ (Landscape) ป่า เขา ลำเนาไพร น้ำตก ทะเล ท้องฟ้า ถ้าจะให้ได้ภาพที่สวยงาม มันต้องมีจังหวะเวลา อาทิตย์ขึ้น อาทิตย์ตก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ต้องรออย่างเดียว เราไม่สามารถนำเข้ามา หรือเอาออกไปได้ตามที่เราต้องการ การจัดองค์ประกอบภาพที่น่าสนใจอันหนึ่งก็คือ ในภาพทิวทัศน์ควรจะมีฉากหน้า (Foreground) เช่น กิ่งไม้ ใบหญ้า กรอบประตู หน้าต่าง จะช่วยทำให้ภาพน่าสนใจ และมีมิติยิ่งขึ้น
                2. ภาพย้อนแสง หรือภาพเงาดำ (Silhouette) เป็นภาพที่เห็นเฉพาะรูปร่าง และบรรยากาศ ส่วนใหญ่จะเน้นแสงในเวลาอาทิตย์ขึ้น และอาทิตย์ตก
                3. ภาพบุคคล (Portrait) เน้นลีลาท่าทางของบุคคลที่เป็นหลัก เน้นแววตา ลีลาท่าทาง ฉากหลังเรียบ ๆ
                4. ภาพระยะใกล้ (Macro) เป็นโลกที่น่าที่เราไม่ค่อยได้คิดถึง สิ่งที่ถ่ายในระยะใกล้ ๆ ดูแปลกตา ไม่ว่าจะเป็น มด แมลง ดอกไม้ เกสรดอกไม้ หรือวัตถุอื่น ๆ ต้องเน้นรายละเอียดที่คมชัด
                5. ภาพถ่ายกลางคืน (Night light) เป็นการถ่ายภาพในเวลากลางคืน  โดยอาศัยแสงไม่ว่าจะเป็นแสงเทียน ไฟฟ้า ป้ายนิออนโฆษณา พลุไฟ ห้องโชว์สินค้า แสงไฟจากรถยนต์ เป็นตัวสร้างบรรยากาศให้กับภาพ
               ที่กล่าวมาทั้งหมด อย่าลืมว่าก่อนกดชัตเตอร์ถ่ายภาพ ต้องจัดองค์ประกอบภาพทุกครั้ง ไม่ว่าจะถ่ายเล่นถ่ายจริง ฝึกให้เป็นนิสัย เป็นธรรมชาติ ประการสำคัญอันหนึ่ง พยายามดูภาพ ตัวอย่างภาพในหนังสือ ในอินเทอร์เน็ต มาก ๆ และจดจำนำมาใช้กับการถ่ายภาพของเรา มีเนื้อหาสาระดี ๆ ทั้งใน Web site และ Youtube มากมายในการถ่ายภาพ
              ก่อนจบตอนนี้ก็สรุปว่า ก่อนถ่ายภาพขายออนไลน์ เตรียมภาพให้ได้คุณภาพกันก่อน ง่าย ๆ เลย ถ่ายภาพ แตะปุ่มถ่ายภาพให้นิ่ง และจัดองค์ประกอบภาพโดยใช้กฎ 3 ส่วน ซึ่งผู้เขียนก็ใช้กฎนี้ในการถ่ายภาพโดยตลอด ไม่ว่าจะถ่ายภาพขายด้วยกล้อง DSLR หรือกล้อง Smartphone

หมายเลขบันทึก: 576164เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2014 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2014 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท