deawche
เดี่ยวเช คมสัน deawche หน่อคำ

ค่านิยมเกินความจำเป็น


ทุกวันนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้คนจำนวนมากยึดติดวัตถุสิ่งของมากเกินความจำเป็นโดยเฉพาะสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลาย มีคุณสมบัติน้องๆคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะรุ่นท็อปราคาแพงๆสามารถใช้เป็นเครื่องประดับบ่งบอกเปรียบเทียบสถานะทางสังคมได้ ซึ่งมีช่วงเวลาอายุในการใช้ชื่อเรียกว่า “ตัวท็อปหรือตัวใหม่ล่าสุด”เพียง 6 เดือนถึง 1 ปี เท่านั้นและหลังจากนั้นก็จะมีรุ่นใหม่ที่เพียงเติมตัวอักษรหรือตัวเลข หรือเพิ่มเติมคุณภาพ เสริมด้วยเทคโนโลยีใหม่อีกเพียงเล็กน้อยเข้ามาแทนที่ สงวนราคาในการว่างขายแพงกว่าโทรศัพท์สมาร์ทโฟนรุ่นทั่วไปหลายเท่าตัว โดยหลายคนมีพฤติกรรมคล้ายติดยาเสพติดที่เห็นสินค้ารุ่นใหม่ไม่ได้จะต้องจับจองนำมาครอบครองให้จงได้ สำหรับผู้มีรายได้สูงนั้นคงไม่มีปัญหาที่สามารถซื้อหามาโดยง่ายดาย แต่ที่น่าเป็นห่วงคือผู้มีรายได้น้อยรสนิยมสูงและเยาวชนนักเรียนนักศึกษาที่มีความต้องการเทียบเท่าบุคคลอื่นๆ ซึ่งบางรายเพียงให้ได้มาในสิ่งที่เรียกว่า “วัตถุนิยม” จึงสร้างค่านิยมแบบผิดๆก่อปมปัญหาเป็นเงาติดตามตัวต้องที่ต้องคอยแก้ไขตลอดเวลา โดยเมินคุณค่าสิ่งของที่มีอยู่ โดยลืมวัตถุประสงค์การใช้งานที่แทนจริง ไม่ใช่สมาร์ทโฟนที่ก่อนิสัยสันดานเช่นนี้เพียงอย่างเดียว 

ที่เห็นได้อย่างเด่นชัดในจังหวัดแพร่ ณ ช่วงเวลานี้คือ การสะพายกล้องถ่ายรูปที่สามารถพบเห็นทั่วไป โดยเฉพาะเวลามีงานกิจกรรมต่างๆจะมีตากล้องจำนวนมากมารุมถ่ายภาพ ที่มีทั้งมืออาชีพ มือสมัครที่ขนอุปกรณ์ไม่สมัครเล่นมาโชว์มากว่ามาถ่ายภาพ สงวนราคาอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งก็มีราคาตั้งแต่หลักร้อย,หลักพันถึงหลักหลายหมื่นบาท และสังเกตดูตากล้องเหล่านี้ก็มักจะเป็นน้องๆเยาวชนนักเรียนทั้งนั้น ทำให้เกิดความสงสัยว่านำเงินจากไหนมาซื้อหาอุปกรณ์แพงๆมาใช้งานกันแน่ ซึ่งรู้ๆอยู่ว่าต้องมาจากผู้ปกครอง และมีส่วนน้อยมากที่จะทำงานหาเงินมาซื้อกล้องและอุปกรณ์เอง สำหรับเรื่องนี้ผู้เขียนเองมีประสบการณ์โดยตรงจากบรรดาพี่น้องๆและผู้ปกครองของตากล้องเหล่านี้ เมื่อมีโอกาสมักจะเข้ามาพูดคุย ปรึกษาขอคำแนะนำเกี่ยวกับกล้องถ่ายรูปเป็นประจำ ซึ่งก็รู้บ้างไม่รู้บ้าง แต่มีอาชีพที่กล้องถ่ายรูปเป็นอุปกรณ์หลักในการประกอบอาชีพโดยคนที่ถามส่วนใหญ่ก็จะถามเรื่องราคาเป็นหลัก ด้วยเหตุผลที่ว่า “ลูกขอให้ซื้อให้เพื่อนำไปใช้ถ่ายรูปและเข้าชมรมถ่ายภาพกับเพื่อนๆ โดยความคิดส่วนตัวคิดว่าเป็นเรื่องดีควรสนับสนุนเพราะการถ่ายภาพไม่ใช่สิ่งเสียหายแต่อย่างใด จึงให้คำปรึกษาว่า “กล้องที่จะซื้อให้บุตรหลานนั้น มีงบประมาณเท่าไร นำไปใช้งานในระดับไหน เพิ่งหัดถ่ายรูปหรือถ่ายรูปเป็นแล้ว” และทุกครั้งก็จะได้คำตอบที่ว่า “ลูกได้เลือกยี่ห้อและรุ่นมาแล้ว ซึ่งราคาสูงมากกว่า 2-3 หมื่นบาทขึ้นไปและไม่รวมอุปกรณ์เสริมต่างๆ” ทำให้ทราบได้เลยว่าเป็นกล้องรุ่นโปรฯที่มืออาชีพใช้งานที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการใช้ประกอบอาชีพหาเลี้ยงปากท้อง แน่นอนการมีเครื่องมือที่ดีในการทำงานย่อมส่งผลดีต่อการทำงาน สำหรับผู้มีอาชีพเฉพาะทางแล้วคงปฏิเสธไม่ได้ที่จำเป็นต้องใช้ แต่เมื่อย้อนถามว่า “จะเอาไปใช้อะไรบ้าง?” คำตอบก็คือ........แบะๆๆๆ........(จริงๆอวดโชว์) ผู้ปกครองก็จะต้องดิ้นรณหามาให้ เดือดร้อนต้องผ่อนบัตรเครดิตเป็นหนี้เป็นสินอีกและเมื่อได้กล้องมาก็ใช้เพียงฟังก์ชั่นอัตโนมัติที่กล้องรุ่นเบสิคราคาหลักพันบาทถึงหมื่นต้นๆก็มีใช้งานได้เหมือนกันหรือเปรียบง่ายๆมือถือก็ยังใช้ถ่ายได้ การเริ่มต้นไม่ใช่ว่าจะต้องใช้สิ่งของดีราคาแพงๆแล้วทำงานได้ดี หากมองดูคิดและวิเคราะห์การใช้งานแล้ว ประสบการณ์และการเรียนรู้ฝึกฝนควรเป็นบันไดขั้นแรกก่อนจะก้าวกระโดด ไม่ใช่ใช้งานคุณสมบัติอุปกรณ์ไม่เต็มประสิทธิภาพ ต้องการแค่ราคาแพงบ่มนิสัย “ค่านิยมเกินความจำเป็น”

หมายเลขบันทึก: 574988เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2014 08:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 สิงหาคม 2014 08:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยครับ

โดยเฉพาะสังคมก้มหน้า ในทุกๆวันนี้

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท