บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย


บทที่ 3.docx

บทที่3

วิธีการดำเนินการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (QuantitativeResearch)โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงานและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดเทศบาลตำบลกระจับอำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรีโดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการดำเนินการวิจัยดังนี้

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากร(Population)ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือบุคลากรสังกัดเทศบาลตำบลกระจับอำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรีจำนวนทั้งหมด104คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามประกอบด้วยคำถามปลายปิดและคำถามปลายเปิดซึ่งสร้างขึ้นด้วยการทบทวนวรรณกรรมและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยวิธีการดังต่อไปนี้

1. วิธีการสร้างแบบสอบถาม

1.1ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสุขในการทำงานแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความสุข แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความสุขในการทำงานแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงานและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1.2ประยุกต์แนวความคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยการเลือกสรรตัวแปรอิสระที่คาดว่าน่าจะเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กันระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามโดยพิจารณาความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์แนวความคิดและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1.3กำหนดนิยามปฏิบัติการ (OperationalDefinition)ของตัวแปรทุกตัวและกำหนดวิธีการวัดตัวแปรว่าจะวัดในระดับใดซึ่งต้องสัมพันธ์กับวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ได้กำหนดระดับการวัดเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า3ระดับ(RatingScale) แบบประเมินความสุขเรียงลำดับจากน้อยปานกลางมากตามลำดับ

1.5สร้างแบบสอบถามโดยการนำตัวแปรอิสระและตัวแปรตามมาสร้างเป็นข้อความคำถามผสมกับระดับการวัดตัวแปรและการใช้ภาษาถ้อยคำที่เหมาะสมง่ายต่อการทำความเข้าใจพร้อมทั้งการออกแบบให้เหมาะสมไม่สั้นหรือยาวเกินไปและให้มีความสวยงามพอควรแบ่งเป็น3ตอนดังนี้

ตอนที่1เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของบุคคลจำแนกรายข้อจำนวน7ข้อประกอบด้วยเพศอายุสถานภาพสมรสระดับการศึกษาตำแหน่งงานอายุงานส่วนงานที่สังกัด

ตอนที่2เป็นแบบประเมินความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดเทศบาลตำบลกระจับอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรีเป็นแบบประมาณค่าจำนวน9ข้อและลักษณะข้อความที่ใช้มีทั้งเชิงบวกและเชิงลบคือตลอดเวลาบ่อยครั้งบางครั้งไม่เคยเป็นคำถามเชิงลบ2ข้อ(ข้อ 9 และข้อ 13)

ความจริงที่เกิดขึ้นข้อความเชิงบวกข้อความเชิงลบ

ตลอดเวลา41

บ่อยครั้ง32

บางครั้ง23

ไม่เคย14

เกณฑ์การแปลผล

แบบประเมินความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดเทศบาลตำบลกระจับอำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรีโดยใช้สูตรการคำนวณ

อัตรภาคชั้น=พิสัย

จำนวนชั้น

=คะแนนสูงสุด – คะแนนต่ำสุด

จำนวนชั้น

=4 - 1

4

= 3

4

=0.75

จากข้างต้นจึงกำหนดให้แบ่งช่วงได้ดังนี้

มีความสุขน้อย=1.00 – 1.75

มีความสุขค่อนข้างน้อย=1.76 – 2.51

มีความสุขค่อนข้างมาก=2.52 – 3.27

มีความสุขมาก=3.28 – 4.00

ตอนที่3แบบประเมินปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมและผลตอบแทนจากการทำงานของบุคลากรสังกัดเทศบาลตำบลกระจับอำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรีแบบประมาณค่าจำนวน8ข้อโดยมีหลักเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้

ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นคะแนน

จริง3

ไม่แน่ใจ2

ไม่จริง1

เกณฑ์การแปลผล

แบบประเมินปัจจัยที่มีผลต่อระดับความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดเทศบาลตำบลกระจับอำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรีโดยใช้สูตรการคำนวณ

อัตรภาคชั้น=พิสัย

จำนวนชั้น

=คะแนนสูงสุด – คะแนนต่ำสุด

จำนวนชั้น

=3 - 1

3

=2

3

=0.67


จากข้างต้นจึงกำหนดให้แบ่งช่วงสภาพแวดล้อมได้ดังนี้

สภาพแวดล้อมมีความเหมาะอยู่ในระดับน้อย=1.00 – 1.67

สภาพแวดล้อมมีความเหมาะอยู่ในระดับปานกลาง=1.68 – 2.35

สภาพแวดล้อมมีความเหมาะอยู่ในระดับมาก=2.36 – 3.00

จากข้างต้นจึงกำหนดให้แบ่งช่วงด้านผลตอบแทนได้ดังนี้

ผลตอบแทนมีความเหมาะอยู่ในระดับน้อย=1.00 – 1.67

ผลตอบแทนมีความเหมาะอยู่ในระดับปานกลาง=1.68 – 2.35

ผลตอบแทนมีความเหมาะอยู่ในระดับมาก=2.36 – 3.00

การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ

แบบสอบถามฉบับนี้มีขั้นตอนดังนี้

1.ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องเกี่ยวกับความสุขในการทำงานจากนั้นนำมากำหนดกรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัยกำหนดนิยามเพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม

2.สร้างแบบสอบถามเกี่ยวกับระดับความสุขในการทำงานและตรวจสอบเนื้อหาของแบบสอบถามว่าครอบคลุมวัตถุประสงค์หรือไม่จากนั้นนำไปปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาให้ตรวจสอบนำมาปรับปรุงตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา

3.นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาให้ผู้เชี่ยวชาญ3ท่านตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา(Contentvalidity)จากนั้นปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ

4.นำแบบสอบถามที่ได้ไปทดลองใช้(Try out)กับบุคลากรสังกัดอื่นที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน30ชุดเพื่อหาคุณภาพของเครื่องมือโดยการหาค่าความเที่ยงหรือความเชื่อถือได้ของแบบสอบถาม (realiability) แบบ Cronbach’sAlpha ได้ค่าความเที่ยงหรือความเชื่อถือได้ของแบบสอบถามเท่ากับ...................ซึ่งถือว่าแบบสอบถามนี้มีความเชื่อถือได้ซึ่งแบ่งเป็นรายด้านดังนี้

4.1ด้านความสุขในการทำงานได้ค่าRealiabilityCronbach’sAlpha.......

4.2ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานได้ค่าRealiabilityCronbach’sAlpha.......

4.3ด้านผลตอบแทนจากการทำงานได้ค่าRealiabilityCronbach’sAlpha.......

การเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยดำเนินการรวบรวมข้อมูลดังขั้นตอนต่อไปนี้

1.ขอหนังสือจากมหาวิทยาลัยฯถึงนายกเทศมนตรีตำบลกระจับอำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรี

2.แจกแบบสอบถามให้บุคลากรสังกัดเทศบาลตำบลกระจับอำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรีโดยแบ่งตามส่วนราชการที่สังกัด

3.ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตัวเองได้แบบสอบถามกลับคืนมาจำนวน ...... ชุดคิดเป็นร้อยละ...........

4.ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลที่ได้กลับคืนมาตรวจสอบความสมบูรณ์ทุกฉบับเพื่อนำไปวิเคราะห์ผลปรากฏว่าแบบสอบถามที่ได้รับทุกฉบับเป็นแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์ทุกฉบับ

5.นำแบบสอบถามที่สมบูรณ์แล้วมาลงรหัสให้น้ำหนักคะแนนแต่ละข้อบันทึกข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์เพื่อใช้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยดปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์

6.วิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้

การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยครั้งนี้แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น3ตอนคือข้อมูลทั่วไปประเมินความสุขในการทำงานประเมินปัจจัยที่มีผลต่อระดับความสุขในการทำงานโดยใช้วิธีการประมวลผลค่าทางสถิติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของข้อมูลและตอบวัตถุประสงค์ดังนี้

1.ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามได้แก่อายุเพศสถานภาพสมรสระดับการศึกษาตำแหน่งอายุงานส่วนราชการที่สังกัดวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ร้อยละ(Percentage)

2.ข้อมูลระดับความสุขในการทำงานวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยเลขคณิต(Meanx)และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(StandardDeviation : S.D.)

3.ข้อมูลปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับความสุขในการทำงานโดยใช้ค่าความถี่ร้อยละ(Percentage)สถิติทดสอบไคสแควร์(Chi – Square) ที่มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่.05

หมายเลขบันทึก: 574671เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2014 15:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 สิงหาคม 2014 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท