Samsung smart learning center


Samsung smart learning center พัฒนาศักยภาพ เด็กๆ ใน CYP

Samsung smart learning center กระบวนกรจากพี่ๆมะขามป้อม...

        โครงการ Samsung smart learning center เป็นโครงการที่ทางพี่มะขามป้อม ให้กระบวนการคิดเเด่นักเรียนยุคใหม่ของโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม ซึ่งก็ถือว่าเป็นการดีที่พี่ๆมาปรับฐานการคิดของเด็กกลุ่มนี้ให้ โดยเด็กส่วนใหญ่นั้น อันนี้เป็นเด็กหมู่บ้านเเบก อำภเอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม โดยมี อ้อน เเฟ้ม โจ้ เเละเพื่อนๆ นำทีม ส่วนใหญ่เป็นเด็ก ม.๓ Samsung ได้พัฒนากระบวนการคิดของเด็กพวกนี้มาเเล้ว โดยจัดค่ายการปรับฐานกระบวนการคิดไปเมื่อค่ายที่เเล้ว

        เป็นการดีที่ทางโครงการ Samsung smart learning center เห็นคุณค่าของโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม ที่เราเองที่อยู่ในภาวะของการบูรณาการร่วมกันอยู่ นำซัมซุง มาเป็นต้นทุนสำคัญในการขับเคลื่อน งานที่จุดเดียว คือ หมู่บ้านเเบก ที่ในการบูรณาการนั้น ได้เเก่ Samsung  ปลูกใจรักษ์โลก  ฮักเเพงร่วมใจ  IS  ยุวเกษตร มาเป็นทุนให้ซึ่งกัเเละกัน 

        มาในคราวนี้ วันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๗... เป็นการลงมาเพื่อพัฒนาศักยภาพ ของเด็กๆให้ในสมาชิกทั้งหมดของSamsung smart learning center โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนหรือครูในโรงเรียน ให้มีฐานคิดเเบบ21 st century skills ด้วยเครื่องทางการคิดที่จะนำไปสู่ปัญญาในลักษณะของมะขามป้อมที่มุ่งหวังให้ เด็กมีทักษะ 21 st century skills พาเด็กคิดที่มีกระบวนการ ดังนี้

กระบวนการ

๑.การให้เครื่องมือแผนที่เดินดิน โดยใช้การเริ่มจากการวาดเส้นรอบก่อน เเล้วมาที่ถนนเส้นหลัก มาที่สถานที่สำคัญ มาที่ปัญหาอยู่จุดใดของพื้นที่

๒.การให้เครื่องมือแผนภาพต้นไม้ เป็นการนำปัญหามาวิเคราะห์ ว่าปัญหาเรานั้นมีสาเหตุเกิดมาจากอะไร เเละผลกระทบที่เกิดขึ้น เกิดผลกระทบต่อใคร อย่างไรบ้าง

๓.การแตกประเด็นโดยเครื่องมือ ๕ ภาพละคร นำประเด็นที่วิเคราะห์เเล้วจากแผนภาพต้นไม้มา เเตกเป็น ๔ ภาพก่อน ได้เเก่ ปัญหา สาเหตุ ผลกระทบ เเละภาพฝัน ส่วนภาพสุดท้ายมีวิธีการดึง คือ การให้เด็กคิดสิ่งที่วันรุ่นชอบทำมากที่สุด+ปัญหาของเรา = เราจะเเก้ปัญหาอย่างวัยรุ่นได้อย่างไร เเล้วจึงเขียนเป็นภาพที่ ๔

๕.ให้เด็กดำเนินงานตามภาพที่ตนได้วางแผนไว้ ที่เป็นสารคดี เเละยังมีโปสเตอร์สื่อสาร ในการดำเนินงานมีการให้เด็กๆ ลงพื้นที่ทำสารคดี 1.30 นาที โดยให้เด็กๆลงมือทำจริง "ลงน้ำเองว่ายน้ำเอง" เมื่อถ่ายเสร็จเป็นวิธีในการตัดต่อ Production เพื่อเตรียมพร้อมจะ Post-production ซึ่งสอนให้เด็กๆทำโปสเตอร์ในโน๊ต 10.1 อย่างง่ายๆ เเละนำภาพที่ถ่ายเเล้วมาตัดให้เป็นเรื่องราว อันนี้เด็กหลายกลุ่มตัดต่อเก่งมาก เพราะเราเองตอนไปเรียนรู้การทำสารคดีใช้เวลานานมาก

๖.ให้เด็กนำเสนอเเละถอดตนเอง ซึ่งขั้นตอนนี้ก็ให้เด็ก นำเสนอผลงานของตนเองทั้ง โป๊สเตอร์เเละสารคดีสั้น

ข้อเรียนรู้สำคัญ

๑.เทคนิคการทำโป๊สเตอร์อย่างง่ายๆเเล้วสวยด้วย ที่ทำในเครื่องซัมซุงกาเเลคซี่ โน๊ต 10.1 ซึ่ง โน๊ต 8 ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน ซึ่งการประชาสัมพันธ์ในวิธีการนี้จะทำให้ผู้อ่านได้เห็นภาพชัดเจนด้วยการใช้สัญลักษณ์เเทนเเละรูปภาพต่างๆ เหมาะเเก่การสื่อสารในเฟสบุ๊ค เเละทางออนไลน์ 

ผลที่เกิดขึ้นที่มองเห็น

๑.ผลที่เห็น คือ จาก feedback ของเด็กที่เหมือนๆกัน คือ เด็กได้เรียนรู้วิธีการตัดต่อ ได้เรียนรู้เทคนิคการใช้กล้องต่างๆ...

๒.ผลที่เห็จากผลงาน คือ เด็กสามารถเรียนรู้วิธีการตัดต่อการทำสารคดีได้เร็วมาก เพียง 1 ชั่วโมง สามารถวางแผนเเละถ่ายเสร็จ..

๓.ผลแฝงที่เกิดขึ้น คือ เห็นเด็กมีทักษะในการทำงานมีการระดมความคิดเห็น การพูดคุยกันเรื่องสิ่งที่พี่กำลังจะให้ทำ การเเก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการตัดต่อ ความกล้าในการไปสัมภาษณ์ครูและท่านรองผู้อำนวยการ

.

.

.

.

.

หมายเลขบันทึก: 574208เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2014 13:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 สิงหาคม 2014 13:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท