deawche
เดี่ยวเช คมสัน deawche หน่อคำ

“ป่ารักน้ำ” โครงการพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี


" พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำข้าพเจ้าจะเป็นป่าป่าที่มีความจงรักภักดีต่อน้ำ "พระราชกระแสใน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีทรงเรียกว่า " ป่ารักน้ำ " เพราะต้นไม้ต้องรักน้ำเป็นของคู่กันและทั้งคู่นี้เป็นสิ่งที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงห่วงใยที่สุด ประเทศเราเป็นประเทศที่ยึดเกษตรกรรมเป็นหลัก ฉะนั้นน้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของเหล่าเกษตรกรแต่การที่จะมีน้ำอุดมสมบูรณ์ก็ต้องมีป่าที่สมบูรณ์ไปด้วย แม่น้ำเจ้าพระยานั้นเมื่อเด็ก ๆ ครูสอนว่าเกิดจากแควสี่สายคือ ปิง วัง ยม และน่าน อยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ซึ่งอุดมไปด้วยป่าไม้ฉะนั้นลุ่มน้ำเจ้าพระยาของเราจะเทียบกับแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแม่น้ำนานาชาติ (International) แม่น้ำสาละวินในประเทศพม่า และแม่น้ำสินธุในปากีสถาน หรือแม่น้ำพรหมบุตรในประเทศอินเดียไม่ได้ เพราะแม่น้ำเหล่านั้นเกิดจากเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งยอดปกคลุมหิมะตลอดปีตลอดชาติ สามารถไหลมาเป็นน้ำไม่รู้หมด ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นดุจดั่งเส้นชีวิตของเรา ถ้าป่าต้นน้ำหมดแล้วจะเอาน้ำมาจากไหน ต้นน้ำของเราก็พลอยเหือดแห้งไปด้วยทุกวันนี้กลุ่มคนตัดไม้ก็ตัดไป กลุ่มคนที่หาความสะดวกในการทิ้งน้ำเสียและของเสียในแม่น้ำลำคลองก็ทิ้งไป สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้อนุชนรุ่นหลังลำบาก ถ้าไม่มีน้ำจริง ๆ ก็อาจต้องซื้อน้ำมาใช้กัน ถ้าแล้งจริง ๆ จนนาทำไม่ได้ก็ต้องซื้อข้าวเขา ประเทศเรา คำที่เคยพูดกันติดปากว่า " ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว " ก็คงไม่ได้พูดอีกแล้ว

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อทรงเห็นว่ายังมีการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าอยู่เรื่อยๆ ก็ทรงหันมาปลูกป่าแทน ถ้าพวกเราไม่ร่วมแรงร่วมใจกันปลูกป่าเสียแต่บัดนี้ ปล่อยป่าเหลือ 0 % ทุกสิ่งก็คงสายเกินไปสำหรับการตั้งต้นทรงเห็นว่าเราควรช่วยกันเริ่มทำเสียแต่บัดนี้ เดี๋ยวนี้ อีก 20 ปีข้างหน้าคงจะชะลอความแห้งแล้งได้บ้าง

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงสนพระทัยเรื่องป่ามาก ทรงเฝ้าศึกษาหาทางปลูกป่า เพราะมีความสำคัญต่อความบริบูรณ์ของน้ำ และความชุ่มชื้นของแผ่นดิน และมีผลสืบทอดมาถึงชีวิตและการเกษตร ประเทศตะวันออกกลางบางประเทศที่เห็นการไกล ต่างก็ทุ่มเงินที่ได้จากการขายน้ำมัน มาบำรุงเกษตรอย่างสุดกำลัง เพราะเขารู้ซึ้งแล้วถึงความสำคัญของการขาดน้ำ พระเจ้าอยู่หัวทรงค้นคว้าทุกวิถีทางโดยศึกษาและปรึกษากับนักวิชาการ ในการที่จะหาทางปรับน้ำเสียให้เป็นน้ำดีแม้แต่เพียงเป็นการชะลอน้ำเสียอย่าให้เน่า ทุกวันนี้ยังคง ไม่ทรงท้อถอยหรือหยุดยั้งในความตั้งพระทัยโครงการป่ารักน้ำ

หมายเลขบันทึก: 574175เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2014 16:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 สิงหาคม 2014 16:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ มีป่า มีน้ำ มีคน ขาดป่า ขาดน้ำ ต่อไปก็จะขาดคน...เช่นกัน 

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท