อารักขา
กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

แจ้งเตือนภัย เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง


สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ โดยเจ้าหน้าที่ประจำกลุ่มอารักขาพืช ได้ทำการสำรวจศัตรูพืชเพื่อเฝ้าระวังศัตรูพืชในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ โดยพบ เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู ในพื้นที่ บ้านหนองบัวทอง ตำบลบัวตูมอำเภอโซ่พิสัยจังหวัดบึงกาฬ จึงขอแจ้งเตือน ให้อำเภอได้แจ้งให้เกษตรกรเฝ้าระวังศัตรูพืชเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในแปลงต่อไป

เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู (Pinkish mealybug ): Phenacoccus manihoti

                                                ลำตัวรูปไข่ผนังลำตัวสีชมพู มีผงแป้งปกคลุมลำตัวด้านข้างลำตัวมีเส้นแป้งสั้นหรือไม่เห็นเด่นชัด เส้นแป้งด้านท้ายลำตัวสั้น ขยายพันธุ์ได้โดย ไม่อาศัยเพศ (เพศเมียไม่จำเป็นต้องได้รับการผสมพันธุ์จากเพศผู้) วางไข่เป็นฟองเล็ก ๆ ในถุงไข่มีสีเหลือง อ่อนลักษณะยาวรีมีใยคล้ายสำลีหุ้มไว้ เมื่อใกล้ฟักไข่จะมีสีเข้มขึ้น ระยะไข่ประมาณ 8 วัน ตัวอ่อนจะลอก คราบ 3 ครั้ง จึงเป็นตัวเต็มวัย รวมระยะเวลาตั้งแต่เป็นไข่จนถึงตัวเต็มวัยใช้เวลา 21 วัน เพลี้ยแป้งสีชมพู สามารถวางไข่ได้มากถึง 500 ฟอง/ตัว

แนวทางการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง

1. ในพื้นที่ที่ยังไม่พบการระบาด

1.1 ใช้ท่อนพันธุ์สะอาด

1.2 เก็บซากพืชออกจากแปลง ไถพรวนหลายๆครั้ง และตากดินอย่างน้อย 14 วัน

1.3 แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีที่แนะนำ

1.4 ตรวจแปลงสม่ำเสมอทุก 2 สัปดาห์

2. ในพื้นที่ที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้ง

2.1 หลีกเลี่ยงการปลูกในฤดูแล้ง

2.2 ไถพรวนดินหลายๆ ครั้ง ตากดินอย่างน้อย 14 วัน

2.3 แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีที่แนะนำ 2.4 ต้องตรวจแปลงทุก 14 วัน

2.5 ถ้าพบการระบาด รุนแรงในมันสำปะหลังอายุ 1-4 เดือนให้ถอนทิ้งทั้งหมดแล้วเผาทำลายนอกแปลง

2.6 ถ้าพบการระบาด ในมันสำปะหลังอายุ 4-8 เดือนให้ตัดยอดหรือถอนต้นที่พบนำไปเผาทำลาย นอกแปลง

2.7 ถ้าพบการระบาดในมันอายุมากกว่า 8 เดือน ควรเก็บผลผลิต ตัดต้นทิ้งนำไปเผาทำลายนอกแปลง ทำความสะอาดแปลง ปลูกพืชอื่น เช่น ข้าวโพด อ้อย ข้าวฟ่าง ทานตะวัน พืชตระกูลถั่ว

2.8 ใช้ศัตรูธรรมชาติควบคุมเพลี้ยแป้ง เช่น แมลงช้างปีกใส ด้วงเต่า แตนเบียน หรือศัตรูธรรมชาติ ที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ ฯลฯ

2.9 หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีโดยไม่จำเป็น ทั้งนี้เพื่อเป็นการอนุรักษ์ไม้ให้ตัวห้ำและตัวเบียนที่เป็น ศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยแป้ง มันสำปะหลังถูกทำลาย

2.10 ใช้วิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน

กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ

โทร. ๐๔๒-๔๙๑๘๒๐

๘ มิถุนายน ๒๕๕๖

หมายเลขบันทึก: 574058เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2014 18:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 สิงหาคม 2014 18:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท