หงษ์นกเป็ดน้ำชนิดหนึ่งที่เป็นพาหนะของพระเจ้า


โดย ดร.วรเดช มีแสงรุทรกุล (27/7/2557)

หงษ์ (สันสกฤต) (หรือ หงส์ (บาลี) ก็ว่า)

หงส์หรือSwanโดยปกติแล้วจะไม่พบในประเทศไทย คนไทยจึงจินตนาการไปเองว่า หงส์จึงเป็นนกในนิยายในวรรณคดี ไม่มีอยู่จริง

รูปล่างพระพรหมทรงหงส์ทอง ( ศิลปะไทยสมัยใหม่ กับหงส์ในจินตนาการของคนไทย)

ที่มา http://www.xn--12c2c0a4db3n.com/article/%E0%B8%9E%...

ในวัฒนธรรมต่างๆของชาวโลก ถือว่าเป็นนกในตระกูลสูง ในอินเดียเชื่อว่าหงส์ มีเสียงไพเราะ (สงสัยไม่เคยได้ยินเสียงหงส์ร้องจริงๆ) เป็นสัตว์พาหนะของพระพรหม และนางสรัสวดี (ที่ว่าบางครั้งก็ทรงหงส์เช่นเดียวกับพระสวามีคือพระพรหมธาดา บางครั้งก็ทรงนกยูง) จัดเป็นนกน้ำขนาดใหญ่อยู่ในสกุล Cygnus ในวงศ์ Anatidae อันเป็นวงศ์เดียวกับเป็ดและนกเป็ดน้ำ 

พระสรัสวดีเทวี ทรงหงส์

ที่มา http://breathedreamgo.com/2011/11/a-new-era/

หงส์พบในทวีปเอเซียตอนเหนือ ยุโรปตอนเหนือ อเมริกาและออสเตรเลีย

หงส์มี 6 ชนิด ได้แก่

หงส์ขาว (Cygnus olor)

หงส์ทุนดรา (Cygnus columbianus)

หงส์วูเปอร์ (Cygnus cygnus)

หงส์ทรัมปีเตอร์ (cygnus buccinator)

หงส์ขาวคอดำ (Cygnus melancoryphus)

หงส์ดำ (Cygnus atratus)

โคลงโลกนิติ

กากา กากสฺส โทเสน หํโส ภวติ สํสก
เอวํ ทุชฺชนสงฺคญฺจ กุลปุตฺโตร วินสฺสติ

คบกากาโหดให้................. เสียพงศ์
พาตระกูลเหมหงส์.............. แหลกด้วย
คบคนชั่วจักปลง................ ปลดชอบ เสียนา
ตราบลูกหลานเหลนม้วย..... ไม่ม้วยนินทา

แปลความ

หงส์ที่หลงไปคบกาก็จะพลอยตกต่ำจนเสื่อมเสียตระกูลดี ๆ เหมือนผู้ที่ไปคบคนเลวก็จะทำแต่ความเลว จนถึงรุ่นหลานเหลนก็ยังไม่สิ้นความเสื่อมเสีย

แต่เดิมในศิลปกรรม ทมิฬโบราณอาจจะเป็นนกเป็ดน้ำพวกหนึ่ง

(ภาพบนหงส์ศิลปะอินเดียใต้)

แต่อาจจะไม่ใช่ ห่าน นกยูง หรือ หงส์ฝรั้งก็ได้

เช่นเดียวกับหงส์มอญ 

(ภาพบนหงส์มอญ)

ส่วนหงส์จีนพัฒนาจากนกในตำนานที่คล้ายนกกระเรียนมากว่า สุดท้ายก็ไปลงตัวกับนกยูง ซึ่งรู้กันว่านกยูง บินไม่เก่งเหมือนนกอินทรีคือพญาครุฑที่บู๊ล้างผลาญพวกมารมากกว่า แต่นกยูงขึ้นชื่อเรื่องความสวยงามจนกลายเป็นสัญลักษณ์ความงามของอินเดีย

และด้วยกิริยาที่สงบนิ่งของหงส์ในน้ำ ทำให้หงส์เป็นสัญลักษณ์ของผู้ดีมากกว่าสัตว์อื่นๆ ซึ่งผมคิดว่า

******การเป็นผู้ดีเป็นโดยมีคุณสมบัติของผู้ดีคือมีนิสัยดี
ไม่ได้เป็นเพราะมีสมบัติคือเงินมากกว่าคนอื่นครับ

คำว่านาคศัตรู (ศัตรูของพญานาค จึงรวมทั้งงูทั้งหลายที่เป็นบริวารพญานาคด้วย) ในสันสกฤต หมายถึง เสือ สิงโต พญาครุฑ พังพอน และนกยูงด้วย

(ภาพล่างนกยูงเป็นพาหนะของพระขันธกุมาร หรือมุรุคา ปราบงู)

ที่มา http://murugan.org/research/skanda.htm

จะเป็นที่มาของความสับสนระหว่างหงส์แขก กับหงส์จีนหรือไม่ก็ไม่ทราบ?

เพราะพญานาคเข้าไปสู่จีนด้วยอิทธิพลมหายานกลายเป็นมังกร ส่วนหงส์จีนจึงต้องเหมือนนกยูงที่เป็น นาคศัตรูหรือไม่?????

จะได้บู๊ได้มากว่าหงส์จริงที่เป็นสัตว์เรียบร้อยกว่า เพราะในจีนมีคติว่า หงส์เป็นอริกับมังกร ในบางตำนาน (บางตำนานแทนสัญลักษณ์ มังกรคือ บุรุษ และหงส์ คือ สตรี ก็มี เป็นคู่ตรงข้ามกัน {ทั้งที่ความจริงนกยูงหรือนกเป็ดน้ำที่สีสวยงาม นั้นจริงๆ เป็นเพศผู้?????} คนเราคิดไปเองอีกแล้ว????)

(ภาพบนหงส์และมังกรจีน)

ที่มา http://www.thaiscooter.com/forums/showthread.php?t...

สยามรัฐรายวัน 12 กันยายน 2555

ของ อังคาร กัลยาณพงศ์

โลกนี้มิได้อยู่ด้วย.... มณี เดียวนา
ทรายและสิ่งอื่นมี...... ส่วนสร้าง
ปวงธาตุต่ำกลางดี..... ดุลยภาพ
ภาคจักรพาลมิร้าง...... เพราะน้ำแรงไหน

ภพนี้มิใช่หล้า ...........หงส์ทอง เดียวเอย
กาก็เจ้าของครอง...... ชีพด้วย
เมาสมมุติจองหอง..... หินชาติ
น้ำมิตรแล้งโลกม้วย... หมดสิ้นสุขศานต์ ฯ

บทนี้สะท้อนภาพชีวิตคุณค่าของคน ของชาวบ้าน ชาวไร่ชาวนา คนจน ที่มีส่วนในสังคมไม่ใช้เฉพาะคนในสังคมชั้นสูง

(บทนี้ท่องไว้เตือนใจตนเองเสมอทั้งแต่เรียน ป.ตรี ให้ลดอัตตาลง ให้เห็นใจคนที่ตกทุกข์ได้ยากกว่าตนเอง {ปล.พวกคนจนจริงไม่ใช่พวกมิจฉาชีพ} อาจารย์ผมอบรมมาดี)

ที่มา http://www.rsfriends.com/%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%...

หมายเลขบันทึก: 573376เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2014 22:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กรกฎาคม 2014 22:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท