การพูดอย่างมืออาชีพ


การพูดอย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้เขียนเป็นบุคคลหนึ่งที่มีปัญหากับการพูด การนำเสนอมาโดยตลอด

บ่อยครั้งที่ได้มีโอกาสฟังนักพูดเก่งๆ เช่น คุณหมอประเวศ วะสี พ.อ.นพ.พงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา

หรือแม้กระทั่ง นักข่าวสาวรุ่น อย่างคุณหมวย ดร.อริสรา กำธรเจริญ แต่ละคนพอได้ขึ้นเวที ทุกความรู้สึกจะมุ่งไปที่ผู้พูดเลยทีเดียว จึงมองย้อนกลับมายังตัวเอง ในฐานะ นวัตกรรุ่นใหม่ และ มีโอกาศในการพูดต่อหน้าสาธารณะชนอยู่บ่อยๆ แล้วสิ่งไหนนาที่จะทำให้ตัวเราสามารถพูดได้ดี อาจจะไม่เท่า 3 คนที่กล่าวมานะครับ แค่เพียงพูดให้เก่ง พูดได้ดีขึ้นกว่าปัจจุบันนี้น่าจะพอใจแล้ว

เลยเห็นหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ “การพูด การนำเสนออย่างมืออาชีพ” ของ แบล็ก,เอ แอนด์ ซี แปลโดย ปฏิพล ตั้งจักรวรานนท์ ปี 2554 ได้เขียนไว้เป็นแบบพอให้เราได้เดินตามได้ โดยแบ่งออกเป็นโครงสร้างการนำเสนอดังนี้ คือ

  • 1.การเปิดการนำเสนอ ซึ่งโดยทั่วไปจะบอกว่า ต้องดึงดูดความสนใจมากพอ แต่หนังสือเล่มนี้กลับช่วยผู้ที่กำลังนำเสนอว่า การยิงประเด็นหลักในประโยคแรกๆของการนำเสนอจะช่วยให้เรามีสมาธิอยู่กับเรื่องที่เราจะพูด และช่วยเตือนเราว่าเป้าหมายของการพูดช่วงนั้นคืออะไร
  • 2.การทำให้ผู้ฟังเข้าใจในเนื้อหาสำคัญที่คุณนำเสนอ อันนี้เป็นสิ่งที่ผู้เขียนเองก็โดนต่อว่าพูดเน้นน้ำเยอะ ไม่ได้มีเนื้ออะไรเลย ซึ่ง ผู้เขียนให้คำแนะนำมาว่า เราควรนำเสนอแนวความคิดเพียงแนวคิดเดียวต่อหนึ่งประโยค และควรหยุดพักจังหวะระหว่างประโยคเพื่อให้ “สมองของคุณคิดตามไปเป็นช่วงๆได้” ครับผมสะดุดกับคำนี้แหละ ที่ผ่านมาผู้เขียนโดนบอกให้พูดช้ามาโดยตลอด เราก็ว่าพูดช้าแล้วนะ แต่ก็ยังช้าไม่พอ หรืออย่างไร ผู้เขียนเห็นแนวทางการพัฒนาการพูดของตัวเองเลยว่าจะทำอย่างไร โดยการหยุดพักจังหวะระหว่างประโยคให้เป็นนี้แหละครับ
  • 3.การสรุปการนำเสนอ เป็นความท้าทายมากสำหรับคำพูดช่วงสุดท้ายที่จะทำให้ทุกคนประทับใจ โดยเฉพาะการมองข้อเสนออะไรซักอย่างให้ผู้ฟังเขาสามารถกลับไปแล้วเห็นว่าคำพูดที่นำเสนอไปนั้นเป็นจริงโดยแน่แท้ อันนี้ก็ต้องว่าไปตามการเตรียมพร้อมและตามความสามารถของแต่ละคน ความพร้อมใช่ครับ ผู้เขียนใช้การเตรียมพร้อมมาก่อนความพร้อม เพราะการเตรียมตัวที่ดี ย่อมทำให้ผู้นำเสนอมีความมั่นใจและทำได้อย่างที่เราต้องการอยากให้เป็น

    และเมื่อมองไปยังบุคคลทั้ง 3 ที่ผมได้เอ่ยไว้ตอนตั้น ได้เห็นเบื้องหลังของการเตรียมความพร้อม ผมไม่แปลกใจเลยครับว่าทำไมคำพูดของแต่ละท่านถึงสามารถเข้าไปอยู่ในความประทับใจของผู้ฟังได้การเตรียมตัวสำหรับเวทีใหญ่ๆ เห็นแล้วครับว่ามีการเตรียมตัวกันอย่างจริงจังและเกิดความเข้าใจในทุกคำพูดทุกประโยคโดยแน่แท้ ไม่ใช่พูดพอให้จบๆเพียงเท่านั้น ทำการเตรียมและซักซ้อม (Rehearsal) ซ้ำไปซ้ำมาจนมั่นใจว่าได้สื่อสารในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนจริงๆ

บทความฉบับหน้าทางผู้เขียนมี สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นสิ่งที่เราน่าจะคุ้ยเคยกัน พอได้ยินกัน แต่ยังไม่เคยนำมาปรับใช้กับการสอน ที่เป็นเสมือนการนำเสนอข้อมูลต่อหน้าสาธารณชน นั้นคือ การทำสคริปซึ่งจะมีรายละเอียดที่จะทำให้เราเตรียมตัวพูดได้ดีมากยิ่งขึ้น พบกันฉบับหน้าครับ สวัสดี

นวัตกร มือใหม่

ฉบับที่ 3 เดือน กรกฎาคม 2557

นายมงคล สาระคำ

อ้างอิง

แบล็ก,เอ แอนด์ ซี แปลโดย ปฏิพล ตั้งจักรวรานนท์:2554 “การพูด การนำเสนออย่างมืออาชีพ” บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด กทม. หน้า 29 - 33

หมายเลขบันทึก: 573170เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2014 16:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กรกฎาคม 2014 16:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท