กรรณะ วีรบุรุษตัวจริงในมหาภารตะ


กรรณะ कर्ण

หน่อเนื้อเจ้าชายสุริยวงศ์พงษา

ผู้แพ้พ่ายต่อโชคชะตา เป็นเหมือนอาทิตย์อับแสงในตระกูลแห่งจันทรวงศ์

โดย ดร.วรเดช มีแสงรุทรกุล (เขียนไว้เมื่อ ๑๗ กรกฎาคม ค.ศ. ๒๐๑๔)

คนอินเดียบางคนโดยเฉพาะแคว้นเบงกอลคิดว่ากรรณะคือวีรบุรุษ และเคยเป็นบรรพกษัตริย์ของพวกเขา

ลิลิตยวนพ่าย พระกรรณะ

และแม้ในลิลิตยวนพ่ายของไทยก็ยังมีการเปรียบเทียบความกล้าหาญของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถกับพระกรรณะ คือ

พระทรงปรตยาคพ้ยง .... พระกรรณ***
พระหฤาทยทยมสินธุ์ ..... ช่ยวซรึ้ง
พระทรงเสชณฉัน .......... พระพิษณุ์
พระภาคยไกรกลึ้งก้งง .... แผ่นผงรฯ

(กรมศิลปากร ๒๕๒๙ : ๓๑๓)

นอกจากนี้ พระกฤษณะ พระภีษมะ พระอรชุน ตัวละครอื่นๆในมหาภารตะได้ถูกกล่าวถึงไว้เปรียบเทียบกับเกียรติคุณของพระมหากษัตริย์ไทยคือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถอีกมาก ฯลฯ ในเรื่อง ลิลิตยวนพ่าย 

งานเลือกคู่นางกฤษณา (เทราปที)

กรรณะเป็นผู้หนึ่งที่สามารถชนะได้นางกฤษณาเป็นชายาได้ แต่นางกฤษณาต้องการเป็นชายาอรชุน จึงได้ด่าโคตรเหง้าของกรรณะว่าเป็นพวกวรรณะต่ำไม่คู่ควรกับนาง (โดยหารู้ความจริงเรื่องชาติกำเนิดที่แท้จริงของกรรณะไม่) เพื่อกันไม่กรรณะเข้าร่วมการประลอง

(บางเรื่องว่าเข้าร่วมแล้วก็ทำได้ดีที่สุดในการประลองศร แต่นางกฤษณาไม่ต้องการเป็นชายากรรณะ เพราะหลงรักอรชุนอยู่ก่อน)

ในตอนแรกเมื่องกรรณะไม่รู้ความจริงเกี่ยวกับชาติกำเนิดของตน ทำให้กรรณะต้องกลายเป็นศัตรูกับพวกปาณฑพและถูกอรชุนที่เป็นน้องตนเองฆ่า ทั้งที่ในพวกเการพ กรรณะได้รับการยกย่องว่าเก่งและมีคุณธรรมที่สุด

เนื่องจากทุรโยธนะไม่เคยดูถูกความสามารถของกรรณะ ตั้งให้เป็นถึงกษัตริย์

แต่นางเทราปทีและพวกปาณฑพดูถูกกรรณะตลอดเพราะไม่ทราบชาติกำเนิดที่แท้จริงของกรรณะที่นางกุนตีปิดบังไว้ด้วยความอาย

(เพราะกรรณะเป็นลูกชายคนแรก และลูกนอกสมรสของนางกุนตี กับพระอาทิตย์ ที่นางแอบเอาไปทิ้งด้วยความอาย และสารถีแห่งหัสตินาปุระเก็บไปเลี้ยงไว้เป็นลูก)

แต่เมื่อก่อนที่อรชุนจะรบชี้ขาดกับกรรณะนางกุนตีก็ตัดสินใจเปิดเผยเรื่องทั้งหมด แต่กรรณะไม่อาจเสียสัจจะกับทุรโยธนะได้จึงต้องรบและตายด้วยมือของอรชุน

ซึ่งความจริงเหตุการณ์ในสนามรบนั้นแม้กรรณะจะไม่ได้วิชาทั้งหมดมาจากโทรณาจารย์เช่น อรชุนผู้อยู่ในฐานะศิษย์รักของโทรณาจารย์ แต่กรรณะก็อาศัยความขยันและครูพักลักจำเอามาบ้าง และใจสู้ทำให้เมื่อรบกันจริงก็ทำได้เท่าเทียมกัน อรชุนไม่สามารถเอาชนะได้ 

จนเมื่อล้อรถของกรรณะติดหลุม จึงได้ขอให้อรชุนทำสัญญาว่าจะหยุดรบ อรชุนและพระกฤษณะก็ทำสัญญาตกลงด้วยดี แต่พระกฤษณะกลับสั่งให้อรชุนฆ่ากรรณะ เมื่อกรรณะลงมาเปลี่ยนล้อรถรบในขณะหันหลังให้ทันทีเช่นกัน ทำให้ฆ่าท้าวกรรณะได้ เพราะกลัวว่าถ้ารบกันตรงๆ แล้วก็จะเอาชนะท้าวกรรณะไม่ได้

ถ้าเอาจริยธรรมไทยไปจับจริงดูแล้วพวกเการพจะมีคุณธรรมมากกว่าพวกปาณฑพมาก แต่พอเล่ากับมาในชั้นแขกก็อธิบายให้ฝ่ายแพ้เป็นมาร ฝ่ายชนะเป็นพระหรือเปล่า? เมื่อไทยเรารับเรื่องนี้มาก็มีเรื่องเหล่าอนุภาพและเหตุผลไว้พร้อมแล้วให้ฝ่ายเการพเป็นคนชั่วฝ่ายปาณฑพเป็นคนดี แต่วีรบุรุษคนหนึ่งที่มหาภารตะปิดบังไม่ได้ถึงความเสียสละการเคารพผู้ใหญ่ ความมีใจสู้เป็นชายชาติทหารและนักรบคนหนึ่งก็คือ พระกรรณะ (แม้ภายในหมู่พวกปาณฑพเองยังยกย่องว่าเป็นพี่เหนือท้าวยุธิษฐิระ ที่เป็นพี่คนโตของพวกปาณฑพ)

หมายเลขบันทึก: 572896เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2014 20:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กรกฎาคม 2014 22:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท