เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ


ชื่อผลงาน  รายงานการประเมินโครงการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียนด้วยกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2556

ผู้ประเมิน นางพรทิพย์อุปถัมภ์รองผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช

หน่วยงานโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2556

บทคัดย่อ

รายงานการประเมินโครงการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียนด้วยกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2556 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้าด้านกระบวนการด้านผลผลิตของโครงการและประเมินความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทาบงการศึกษานักเรียนและผู้ปกครอง โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model)กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2556จำนวนทั้งสิ้น 761 คน ประกอบด้วยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 111 คนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 325 คน และผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 325 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า(rating scale)5 ระดับจำนวน 7 ฉบับ ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นของบุคลากรด้านบริบทของโครงการฉบับที่ 2แบบสอบถามความคิดเห็นของบุคลากรด้านปัจจัยนำเข้าฉบับที่ 3แบบสอบถามความคิดเห็นของบุคลากรด้านกระบวนการของโครงการฉบับที่ 4 แบบสอบถามความคิดเห็นของบุคลากรด้านผลผลิตของโครงการฉบับที่ 5แบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อการดำเนินโครงการ ฉบับที่ 6 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกระบวนการเรียนการสอนของครู และฉบับที่ 7แบบสอบถามความความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อการเรียนรู้ของนักเรียนเครื่องมือทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพและหาค่าความเชื่อโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง0.818 -0.887การเก็บรวบรวมข้อมูลได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 ระยะ ได้แก่ ก่อนดำเนินโครงการ ใช้แบบสอบถามฉบับที่ 1-2 ระหว่างดำเนินโครงการ ใช้แบบสอบถามฉบับที่ 3 และเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ ใช้แบบสอบถามฉบับที่4-7การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป Microsoft SPSS For WINDOW 16

ผลการประเมินโครงการ

ผลการประเมินพบว่า ตัวชี้วัดประเด็นการประเมินทุกประเด็น และภาพรวมของโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมดคือ

1. ประเด็นบริบท อยู่ในระดับมากที่สุด และผลของตัวชี้วัด 4 ตัวชี้วัด มีดังนี้

1.1 ด้านความต้องการจำเป็นของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด

1.2 ด้านวัตถุประสงค์ของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด

1.3 ด้านกิจกรรมต่างๆของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด

1.4 ด้านผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด

2.ประเด็นปัจจัยนำเข้า อยู่ในระดับมากที่สุด และผลของตัวชี้วัด 3 ตัวชี้วัด มีดังนี้

2.1 ด้านบุคลากร อยู่ในระดับมาก

2.2 ด้านวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ อยู่ในระดับมาก

2.3 ด้านงบประมาณ อยู่ในระดับมากที่สุด

3.ประเด็นกระบวนการ อยู่ในระดับมากที่สุด และผลของตัวชี้วัด 4 ตัวชี้วัด มีดังนี้

3.1 ขั้นเตรียมการ อยู่ในระดับมากที่สุด

3.2 ขั้นวางแผน อยู่ในระดับมากที่สุด

3.3 ขั้นดำเนินการ อยู่ในระดับมากที่สุด

3.4 ขั้นประเมินผลและสรุปรายงาน อยู่ในระดับมาก

4. ประเด็นผลผลิต อยู่ในระดับมาก และผลของตัวชี้วัด 4 ตัวชี้วัด มีดังนี้

4.1 ผลการดำเนินงานตามโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด

4.2 ด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด

4.3ด้านการผลิตสื่อและการใช้สื่อประกอบการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก

4.4 ด้านการวัดและประเมินผลอยู่ในระดับมากที่สุด

4.5ด้านการวิจัยใจในชั้นเรียนอยู่ในระดับมาก

5.ความพึงพอใจของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด

6.ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนของครู อยู่ในระดับมากที่สุด

7.ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการเรียนรู้ของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด

 

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้

1. ควรจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การสร้างสื่อ นวัตกรรม ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนอบรมเทคนิควิธีสอนการจัดการความรู้ที่เกี่ยวกับวิธีสอนการนำเสนอวิธีสอนที่เป็นเลิศ(Best Practice) เพื่อให้ครูได้นำความรู้และประสบการณ์ไปพัฒนารุปแบบในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2. ควรพัฒนากิจกรรมการนิเทศภายในให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการเยี่ยมนิเทศชั้นเรียน การสังเกตการสอนและการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้กับผู้เรียน

3. ควรมีการพัฒนาการทำวิจัยในชั้นเรียน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)ต่ำกว่าระดับประเทศ

4. ควรพัฒนาระบบการบริหารการศึกษา โดยการเปิดโอกาสให้นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน มีส่วนร่วมทางการศึกษามากขึ้น

ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการครั้งต่อไป

1. การประเมินควรมีการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินและจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถประเมินได้ชัดเจน ถูกต้องมากขึ้น

2. ควรมีการศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการนิเทศภายในโดยใช้รูปแบบกิจกรรม หรือเทคนิคการนิเทศภายในอื่นๆ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา

3. ควรมีการพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษต่างๆ และประเมินโครงการเพื่อการปรับปรุงและพัฒนานักเรียนได้เต็มศักยภาพ

หมายเลขบันทึก: 572847เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2014 13:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กรกฎาคม 2014 13:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท