ดุลยภาพเเห่งปัญญา


"หลักดุลยภาพเเห่งปัญญา" อันได้เเก่ มีทักษะ มีการเรียนรู้ เเละมีการพัฒนาสังคม

ดุลภาพเเห่งปัญญาที่จะเกิดขึ้นด้วยความสมดุล ในบริบทของการทำงานกับชุมชน

ในการทำงานกับชุมชนนั้น เราย่อมมีข้อเรียนรู้ต่างๆ มีทักษะต่างๆที่เกิดขึ้นในตนเอง ซึ่งในการทำงานนี้นั้น ก็ไม่ได้มีเพียงการพัฒนาชุมชนเพียงอย่างเดียว เเต่มีทักษะที่เกิดขึ้นในตนเอง มีการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในระหว่างทางทั้งเป็นความรู้ที่เห็นด้วยตนเอง หรือเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันเเละกันหรือเป็นการศึกษาข้อมูลในหลายๆด้าน อาทิ ข้อมูลเชิงวัตถุ เชิงสังคม เชิงสิ่งเเวดล้อม ชเิงวัฒนธรรม เป็นต้น จนก่อให้เกิดภาวะที่เรียกว่าดุลยภาพเเห่งปัญญา คือ การที่ ทักษะ การพัฒนา เเละ การเรียนรู้ มาบรรจบกัน

ในมุมมองของพี่เลี้ยงนั้นในการที่เด็กได้ลงทำงานกับชุมชน เราอาจหวังอย่างเเรก ซึ่ง การอยากเห็นเขาได้เติบโต อยากให้เขาได้เรียนรู้ชุมชนของตนเอง เเล้วอยากให้เขามีทักษะด้านการคิด ด้านจิตใจ เเละด้านปฏิบัติเพิ่มมากขึ้น เเล้วผลที่คาดหวังอีกอย่าง คือ อยากให้ชุมชนเขาได้พัฒนาขึ้น เพราะถ้าสังคมที่เขาอยู่นั้น มีบริบทที่ดี ก็จะทำให้ลูกหลานเขาเเละตัวของเขาดีตามไปด้วย ซึ่งอันนี้ขึ้นอยู่กับเเนวความคิดของพี่เลี้ยง เเต่ทุกๆมีจุดร่วมจุดเดียวกัน คือ ต้องการอยากให้ เด็กเกิด Skill(ทักษะ) เกิด Development(การพัฒนาชุมชน) เเละเกิด Learn (การเรียนรู้ในเชิงมิติต่างๆ) ถ้าในการทำงานของเรานั้นมีทัั้ง 3 อย่างนี้ อาจทำให้เด็กเกิดคำที่เราต้องการมากที่สุด คือ "วุฒิภาวะ" ทั้งในเเง่ของการมองโลก การทำงาน เเละการปฏิบัติ เเต่กว่าจะถึงขั้นนั้น ในทางปฏิบัตินั้นยากมาก จะต้องคอย Coaching and Mentoring อยู่อย่างมีสมานัตตา อาจยึดอัถจริยา อาจใช้ปิยะวาจา หรืออาจทานอยู่เป็นนิจ อันนี้ขึ้นอยู่กับเทคนิคของเเต่ละบุคคล

ภาวะดุลภาพเเห่งปัญญา ประด้วย 3 อย่างดังต่อไปนี้

1.Skill คือ ทักษะที่เกิดขึ้น โดยทักษะนั้น อาจเป็นทักษะที่เกิดขึ้นทั้ง 3 ทาง ได้เเก่ ทางการคิด ที่เป็นกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ เเละประยุกต์ใช้ หรือมีหลักในการคิดเบบต่างๆ ทางใจ เป็นทักษะที่เกิดขึ้นด้วยการฝึกใจ เช่น มีขันติ มีการยอมรับผู้อื่น มีการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีสมาธิ ฯ ทักษะทางกาย เป็นทักษะในการทางปฏิบัติ เช่น การพูด การกล้าเเสดงออก การควบคุมอารมณ์ การมีสมาธิเมื่อเป็นผู้นำกิจกรรมต่างๆ ฯ เเล้วนอกจากนั้นยังมีทักษๆในมิติอื่นๆอีก เช่น ทักษะในการดำเนินชีวิต ทักษะในการทำงาน ทักษะในการจัดการตนเอง ทักษะในการสื่อสาร เเละทักษะในการเเสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

2.Learn คือ การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในต้นทาง ระหว่างทาง เเละปลายทาง การดำเนินงาน โดบในการเรียนรู้นั้น เราก็อาจเเบ่งได้หลายๆอย่างจากการเกิดภาวะนี้ขึ้น คือ การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง เเละการเรียนรู้ที่ได้มาจากมีคนบอกคนสอน ที่ท่าน ศ.นพ.วิจารณ์ พาณิชย์ กล่าวเอาไว้ คือ "การเรียนรู้ที่เเท้จริงนั้นจะเกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง" ฯ เเล้วเมื่อทั้งเห็นด้วยตนเอง หรือเห็นด้วยผู้อื่นนั้น ก็จะนำมาซึ่งการมองตนเองเพื่อปฏิบัติจริง ในการเรียนรู้ ในบริบทนี้นั้น เราก็อาจเเบ่งประเภทของความรู้ได้ 2 อย่างด้วยกัน คือ วิชาการ กับวิชาคน ... วิชาการ คือ ความรู้ในเเง่เเนวทางการศึกษาข้อมูลเพื่อพัฒนาโครงการ เช่น ข้อมูล เชิงวัตถุ เชิงสังคม สังสิ่งเเวดล้อม เเละเชิงวัฒนธรรม อันจะเกิดประโยชน์ต่องานที่ทำ ส่วนวิชาคน คือ ความรู้ในเเง่ของการพัฒนาตนเอง เช่นจากการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ เเล้วได้ข้อเรียนรู้ หรือจากการ AAR ที่เป็นข้อปฏิบัติ เเละนำไปปฏิบัติ

3.Development คือ การพัฒนาชุมชน โดยในการทำงานของเรานั้นจุดหมายสำคัญที่เด็กจะเห็น คือ การพัฒนาชุมชนของตนเองตามเเผนงานที่วาดเอาไว้ร่วมกัน ซึ่งแผนงานนั้นจะเป็อันหนึ่งอันเดียวกัน โดยในการพัฒนาชุมชนนี้อาจเกิดผลต่อ ชุมชนมากหรือน้อยนั้น อันนี้ขึ้นอยู่กับ ทุนในชุมชน เเละการระเบิดมาจากด้านในชุมชนเป็นสำคัญ อาจเกิดผลน้อย หรือไม่อาจเกิดผลเลย ก็สามารถเป็นไปได้หมด เเต่เมื่อเกิดผลเเละไม่เกิดผล เด็กสามารถเรียนรู้ในข้อนี้ เเล้วพัฒนาทักษะการคิด เเละการเรียนรู้ของเขาได้

ดุลยภาพเเห่งปัญญาจะเกิดขึ้นได้ด้วย การเฝ้าดูเเลของผู้ดูเเล ให้กล้าเจริญเติบโต เด็กที่มี "หลักดุลยภาพเเห่งปัญญา" อันได้เเก่ มีทักษะ มีการเรียนรู้ เเละมีการพัฒนาสังคม อาจทำให้เกิดภูมิคุ้มกันอันเเข็งเเกร่งต่อตัวเขาเอง ต่อสังคม ฯ ....

.

.

.

.

.

หมายเลขบันทึก: 572757เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2014 09:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2015 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท