นวัตกรรม เพื่อป้องกันการผิดพลาด "POKA YOKE"


การพัฒนาความผิดพลาด

    ผู้เขียนนี้ได้สังเกตช่วงเวลาที่เราทำงานบน word, Excel หรือ power point หรือการทำงานใน Microsoft พอเราจะปิดหน้าต่าง กลับมี หน้าต่างบานเล็กเด้งขึ้นมาถามว่า เซฟ หรือ ไม่ อย่างไร ที่ไหน ด้วย นั่นคือประเด็นที่ผมมองเห็นความมหัศจรรย์ของคำพูดที่ว่า “กันไว้ดีกว่าแก้”

    ซึ่งคำนี้นั้นนอกจากคนไทยที่พูดกันแบบสวยหรูแล้ว อีกประเทศหนึ่งที่ค่อนข้างจริงจังกับคำนี้คือ ประเทศญี่ปุ่น ที่สร้างระบบกันไว้ดีกว่าแก้ โดยเรียกกันว่า POKA YOKE (โพกา โยเกะ)POKA คือ ความผิดพลาดจากการไม่เอาใจใส่ YOKA คือ ป้องกัน/ไม่ให้เกิด/หลีกเลี่ยง รวมคือ ระบบป้องกันการผิดพลาด

    ต้นตำหรับของคำนี้มาจาก Dr. Shingeo Shingo (ค.ศ.1909-1990) ซึ่งแนวความคิดหลักในเรื่องนี้ช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเติบโตอย่างเข้มแข็งมาจนถึงทุกวันนี้ ยกตัวอย่างเช่น Toyota ที่เอาแนวคิดนี้ไปพัฒนา POKA YOKE ของตนเองในทุกขั้นตอนกระบวนการทำงานทุกโรงงานทั่วโลกกันเลยทีเดียว ข้อพิสูจน์ว่า Toyota เจ๋งขนาดไหนคงดูได้จากสถานการณ์ปีหนึ่งที่ทางบริษัทประกาศว่า “ปีนี้เป็นปีแรกที่เราขาดทุนในรอบหลายสิบปี” แต่สถานการณ์เดียวกันนี้ทำเอาผู้ผลิตรถยนต์อื่นต้องประกาศล้มละลายเลยทีเดียว มาดูตัวอย่างกับระบบป้องกันการผิดพลาดในระบบโรงงานกันว่าเป็นลักษณะอย่างไหน

<ul>

  • ระบบที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้พนักงานคนที่รับงานต่อจากคนแรก รู้ว่าคนแรกได้ทำงานจริง ถ้าคนแรกไม่ทำงานให้สมบูรณ์จริง คนที่สองก็จะไม่ทำงาน
  • การแยกสินค้าโดยการใช้รหัส รหัสสี หรือ Barcode เพื่อป้องกันสินค้าปะปนกัน
  • อย่าให้มีการใช้แรงหรือกำลังมากไป เช่น Torque ที่ตั้งแรงไว้ ถ้าพนักงานขันแน่นไปก็จะหมุนฟรีไป
  • เครื่อง Smoke detector จะทำงานทันทีที่พบกลุ่มควัน
  • เครื่องตัดหญ้าในรุ่นใหม่ ๆ จะมีระบบ Double safe lock ป้องกันอุบัติเหตุจากใบมีด
  • เมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจรขึ้นเครื่องตัดไฟฟ้าจะต้องทำงานทันที
  • โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดความไม่ปกติ ระบบการผลิตไอน้ำนิวเคลียร์จะหยุดการเดินเครื่องทันที
    เพื่อป้องกันไม่ให้ปฏิกรณ์นิวเคลียร์เกิดการหลอมละลาย
  • </ul><p>    ตัวอย่างทั้งหมดที่รวบรวมมานี้ เป็นสิ่งที่ทางวิศวกรรมได้ออกแบบมาเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในระบบใหญ่ แต่สำหรับตัวเราเองแล้ว ก็สามารถนำหลักการเหล่านี้มาใช้ได้เช่นกัน</p><p>อาทิเช่น </p><ul> <li>เวลาคุณครูนั่งตรวจใบงานนักเรียน ทำไปทำมา หลงลืมไปว่า อันไหนตรวจไปบ้างแล้ว ก็งง ลืมไปอีก ต้องเสียเวลาไล่ตรวจทานกันใหม่ เราก็อาจจะมี POKA YOKE มาช่วย เช่น คว่ำหน้าที่ตรวจแล้ว หรือแยกกล่องที่ ตรวจ อะไรประมาณ นั้น</li><li>กรณีที่ทำงานหลายอย่างอาจจะต้องทำ Check list กิจกรรมออกมาเป็น work package แล้วทำการเรียงลำดับงานที่สำคัญมาก ไปหาสำคัญน้อย จากนั้นลงตารางเวลาว่าจะทำในช่วงไหนของแต่ละวัน แล้วมีเสียงนาฬิกาเตือน ยิ่งถ้ามีความชำนาญด้าน ไอที ก็ใช้มือถือหรือ คอมพิวเตอร์แจ้งเตือนให้เราหยุดทำกิจกรรมนี้เพื่อ ทำอีกกิจกรมอื่นอีกต่อไป เป็นต้น</li></ul><p>ลองดูนะครับท่านทั้งหลาย POKA YOKE จะช่วยจัดการปัญหาที่ยุ่งยาก และประหยัดเวลาให้เราได้มากเลยที่เดียวลองเริ่มแก้ปัญหาตนเองก่อนจากเรื่องเล็กๆ แล้วการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ จะตามมาครับ</p><p>ขอขอบคุณ </p><p>

    ผู้เขียน: นายมงคล สาระคำ นวัตกรมือใหม่</p><p>ฉบับที่: 1 สัปดาห์ที่ 3 เดือน กรกฎาคม 2557</p>อ้างอิง <p>โชดก ปัญญาวรานันท์ 2553; วารสารเมืองคอน ฉบับเดือนมิถุนายน </p><p>ค้นจากเวป http://www.thaidisplay.com/content-11.html</strong></p></em>

    หมายเลขบันทึก: 572593เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2014 14:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กรกฎาคม 2014 13:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท