พระนักต่อสู้ชาวเขมร เฮม เจียว


(หนังสือที่เขียนถึงประวัติของท่าน พร้อมบทบาททางการเมืองในฐานนักต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราช)

           ในภาพเป็นใคร ก็ต้องบอกว่าเป็นพระ อ้าวก็ถูกแล้วเป็นพระจะให้เป็นชี หรือบาทหลวงได้ไง เรพาะทรงและยูนิฟอร์มบอกอยู่แล้วว่าเป็นใคร ก็ต้องขยายต่อไปอีกว่า เป็นพระแล้วไง ก็ต้องตอบว่าเป็นพระในประเทศกัมพูชา แล้วเกี่ยวไรกับคนไทย พระไทย หรือไทยอย่างไร ก็ขยายต่อไปอีกว่า พระรูปนี้ถูกจับติดคุกจนตายคาคุก ก็แปลว่าในประวัติศาสตร์เพื่อนบ้านเรา มีพระตายเพราะคุกมาแล้ว เพื่อจะบอกต่อไปว่า ในสถานการณ์ที่จะจับพระติดคุกบ้าง สึกบ้าง หรือให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกำราบ จับสึก หรือจัดการอย่างใดอย่างหนึ่้ง เพื่อให้พระท่านดังกล่าวเป็นผู้ "พ่าย" ในเกมส์ ทางการเมือง ต้องใช้คำว่า เกมส์เพราะมันมีการแข่งขันกันอยู่นะครับ

มีข้อมูลในหนังสือพิมพ์  มติชน สุดสัปดาห์  เดือนกุมภาพันธ์  2557 หน้า 41

-----
เหตุการณ์หลัง เหม เจียว-นวน ดวง ถูกจับกุม บุน จันมล ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์กลางข่าว จึงได้รับการติดต่อจาก ซึง ง็อก ทันห์ ให้ไปพบ ณ ที่แห่งหนึ่ง นั่น คือ สำนักงานองค์กรลับของญี่ปุ่น ณ กรุงพนมเปญ
กัมพูชาเวลานั้น ยังมีที่ทำการต่าง ๆ ของพวกต่าง ๆ อาทิ ร้านขายยานายห้างบารัง แต่ท้ายที่สุดก็พอจะเห็นว่า กิจการเหล่านี้ เปิดขึ้นมาบังหน้าเพื่อสอดแนมการเมือง เช่น เดียวกับสำนักงานในกิจการพิเศษของพวกญี่ปุ่น ในกรุงพนมเปญเวลานั้น
-----อย่างไม่เป็นที่ทราบทั่วไปเวลานั้น กระทั่ง บุน จัน มล ได้รับการติดต่อให้ไปพบว็อก ทันห์ ณ ที่แห่งนั้น เหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้ทราบชัดว่า ซึง ง็อก ทันห์ ได้ร่วมมือของกองทัพญี่ปุ่นเพื่อหมายจะปฏิวัติประเทศ
-----นอกจากนี้ เขายังเตรียมการในการอาศัยกรณีเหม เจียว ภิกขุมาเป็นเงื่อนไข ในการขับไล่ฝรั่งเศสหากลงมือทำร้ายประชาชนและพระสงฆ์ผู้ชุมนุม
---ไม่มีอะไรเหมาะมากไปกว่านี้อีกแล้ว เพราะขณะนั้น ที่วัดลังกาในคืนนั้นเอง อาจกล่าวได้ว่า ที่วัดลังกา ได้มีสานุศิษย์และประชาชนหลั่งไหลกันมาแน่นขนัด เพื่อฉลองพิธีสมโภชน์ตำแหน่ง "พระธรรมลิขิต" ของท่านเจ้าคุณลิว งอม เจ้าอธิการวัดลังกา และผู้อำนวยการโรงเรียนภาษาบาลีระดับสูง (*) ประจำกรุงพนมเปญซึ่งมีสานุศิษย์ทั่วประเทศ
----
 

พระเฮม เจียว พระสงฆ์นักต่อสู้ทางการเมือง ชาวเขมร ในช่วงการปกครองของฝรั่งเศส

หมายเลขบันทึก: 572419เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2014 06:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2014 06:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท