ฟังบรรยาย"​Engagement for patient safety"


วันที่ 8-9 ก.ค.57 ข้าพเจ้าเข้าร่วมประชุมวิชาการ Northeast Regional HA Forum ครั้งที่ 11 : ความผูกพันเพื่อคุณภาพ (Engagement for Quality) ประจำปี 2557 ณ โรงแรมเซ็นทาราแอนด์คอนเวนชั่นเซนเตอร์ขอนแก่น วันนี้นำเนื้อหาการบรรยายบางส่วนในช่วงเช้าวันที่ 9 ก.ค.57 มาถ่ายทอดค่ะ

"Engagement for patient safety"

พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ

............................................

ทำไมคนบางองค์กรพร้อมทำงานให้องค์กร  คนอยากทำงานให้มากขึ้น ให้ดีขึ้น ทำไมเรื่องบางเรื่อง ผู้คนมาร่วมด้วยช่วยกัน ทุ่มเท อยากทำ ไม่คิดหวังอะไร

Engagement for quality

Staff professional ให้ได้ quality safety

เรื่องนั้นต้องประทับใจ พึงพอใจ เห็นคุณค่า มุ่งมั่นที่จะทำ มุ่งมั่นว่าจะทำ ลงมือทำจริงจัง

......................................

ทำไมต้องเน้นความปลอดภัยของผู้ป่วย เพราะ Health care เป็นระบบซับซ้อน 

 เน้นeducation training เรียนรู้จากข้อผิดพลาด patient center 

ทำทุกระดับ มี evidence base  อยู่ยั้ง ยืนยง คงเส้นคงวา เน้นทุกทิศ ทั้งการดูแลระดับปฐมภูมิ (primary care)  ทุติยภูมิ (secondary care ) และ ตติยภูมิ (tertiary care) มุ่งส่งเสริม รักษา ป้องกัน ฟื้นฟู

ไทยเรามี Thai patient safety goal คือsimple นั่นเอง

รวบรวมความเสี่ยง มาตั้งเป้าหมาย ให้ผู้ป่วยปลอดภัย  ตอบสนองความต้องการคุณภาพในทุกมิติ เยียวยา  มีระบบบริการ ค้นหา ป้องกัน วางแผนป้องกันความเสี่ยง

องค์กรมหาชน ส่งเสริมให้มีบริการมาตรฐาน ระบบบริการดี เป็นที่ไว้วางใจของสังคม 

ส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนวัฒนธรรมคุณภาพ ขับเคลื่อนแนวราบ ส่งเสริม สนับสนุนระบบบริการ  กระตุ้นให้มี good performance

มีระบบบริหารความเสี่ยง  มีประสิทธิภาพการรายงาน พัฒนาให้เกิดความปลอดภัย

"ค้นหาความเสี่ยง ทบทวนความเสี่ยง วางระบบป้องกันความเสี่ยง ทำตามระบบ"

.............................

Engagement for patient safety

Engageเรื่องขั้นตอน ต้องมีความหมาย มีคุณค่า เป็นประโยชน์เพื่อส่วนรวม

Patient safety เป็นความต้องการทั้งผู้ให้ ผู้รับ หากทำสำเร็จ เกิดระบบมากขึ้น การทำจะทำคนเดียวไม่ได้ ต้องEngageกับผู้ป่วย

เราทบทวน ชวนผู้คนเห็นคุณค่า เกิดยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ภายใต้ 3 เหลี่ยม เขยื้อนภูเขา

ความรู้ การเคลื่อนไหวทางสังคม เชื่อมฝ่ายนโยบาย

Education- training- sharing-Research

สถาบันการศึกษา แจ้ง ปฏิบัติ มีวัฒนธรรมเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย

 สื่อสารองค์กร ผู้ป่วยมีส่วนร่วม มีนโยบายที่ดี  สื่อสารดี พัฒนานวัตกรรมสำหรับ patient safety 

ให้ความรู้ นักศึกษา ผู้บริหาร องค์กร ทีมสหสาขาวิชาชีพ

เอา patient safety เข้าสู่ระบบการเรียนการสอน สร้างระบบเครือข่าย ระบบ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล พัฒนา เชื่อมโยงกัน

คิดแบบตัวชี้วัด  ทำแล้ววัดได้  เปรียบเทียบได้กับคนอื่น

ทำเทคโนโลยีเชื่อมโยงความปลอดภัย เชื่อมโยงประวัติการรักษา ผลลัพธ์ ติดตามวิเคราะห์เปรียบเทียบ มีข้อมูลกลาง

KM  สร้าง ถอดบทเรียนเพื่อถอดความรู้ทางสาธารณสุข สร้างชุมชนนักปฏิบัติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติ ตรงตามบริบท

Social movement  เสนอนโยบายสาธารณสุข ผู้ป่วยมีส่วนร่วม  เข้าถึงการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ 

...............................................

ร่วมมือกันหลายฝ่ายทั้งสมัชชาสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข แพทยสภา สปสช. สภาการพยาบาล ราชวิทยาลัยแพทย์ สื่อมวลชน

เอาเอกสารการพัฒนา มาให้ผู้ป่วยดูด้วย ร่วมพัฒนาระบบเพื่อป้องกันความเสี่ยง เอาผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ฟังเรื่อง ประสบการณ์ประชาชน

Patient engagement 3 ข้อ ที่ผู้ป่วยcomplainคือ บุคลากรให้เขาไม่พอคือเรื่องการจัดการความปวด การให้ข้อมูล การมีส่วนร่วมในการรักษา

Public movement รับฟังเสียงสะท้อน สภานักข่าว นักสุขศึกษา ตัวกลางสื่อสารภาคประชาชน โรงพยาบาล

มีนโยบายสนับสนุน ให้ความรู้ ให้ข้อเสนอแนะ  ขับเคลื่อนร่วมกันเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

มุ่งพัฒนาคุณภาพ เน้นผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลง ประชาชนให้ความไว้วางใจ บุคลากรมีความสุข

มุ่งมั่น คงเส้นคงวา

ซึ่งสรพ มีโครงการ มีแบบประเมิน เชิญโรงพยาบาลที่สนใจเข้าร่วมโครงการได้

เน้นฟื้นฟูระบบ ติดเชื้อ ยา ความเสี่ยง ที่ต้องมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล

เน้นพัฒนาความเสี่ยง 4 แห่งคือ อุบัติเหตุฉุกเฉิน ห้องคลอด ห้องผ่าตัดและหอผู้ป่วยวิกฤตให้มีผลลัพธ์ความปลอดภัย โดยสนับสนุนแนวทางและระบบ  

พัฒนาเรื่องการเยียวยา เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ฟังเสียงผู้รับบริการ มีการประเมิน engagement ของบุคลากร

ใช้เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ KM sharing  ส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัย (Safety culture)

หมายเลขบันทึก: 572328เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2014 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2014 05:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท