ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

ใครบ้างที่สมัครเป็นนักการเมือง


ใครบ้างที่สมัครเป็นนักการเมือง

โดย..ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก

www.drsuthichai.com

ตำแหน่งทางการเมือง บทบาททางนักการเมือง ส่วนใหญ่แล้วมีคนอยากจะเป็น เพราะเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี จึงทำให้หลายๆคน อยากที่จะเป็น จากการสังเกตและศึกษาข้อมูล ในการเลือกตั้งแต่ละระดับ มักมีคนมากมาย จากหลากหลายอาชีพที่เข้าสู่เวทีทางการเมือง ซึ่งเราสามารถแบ่งแยกเป็นประเภทใหญ่ๆที่เข้ามาสู่เวทีทางการเมืองแล้วประสบความสำเร็จมีดังนี้

1.นักการเมืองโดยสายเลือด นักการเมืองประเภทนี้มักถูกสืบทอดผ่านกันมา เช่น ปู่ย่าตายายหรือบรรพบุรุษเป็นนักการเมืองจึงทำให้ตนได้เป็นนักการเมือง ซึ่งมีหลายๆตระกูลที่ส่งมอบตำแหน่งทางการเมืองผ่านทางลูกหลาน ตัวอย่าง

ตระกูลเทียนทอง

นายแสวง เทียนทองเคยได้รับตำแหน่งทางการเมืองเป็นกำนัน

นายเสนาะ เทียนทอง ลูกชายนายแสวง เทียนทอง เคยได้รับตำแหน่งทางการเมืองเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัยและเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวง

นายวิทยา เทียนทอง ลูกชายนายแสวง เทียนทอง เคยได้รับตำแหน่งทางการเมืองเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย อีกทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นวุฒิสภา

นายสรวงศ์ เทียนทอง ลูกชายนายเสนาะ เทียนทอง เคยได้รับตำแหน่งทางการเมืองเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

นายสุรชาติ เทียนทอง ลูกชายนายเสนาะ เทียนทอง เคยได้รับตำแหน่งทางการเมืองเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

นายแสงประทีป เทียนทอง หลานชายนายเสนาะ เทียนทองได้รับตำแหน่งทางการเมืองเป็นนายกเทศมนตรีตำบลวัฒนานคร

นายสนธิเดช เทียนทอง หลานชายนายเสนาะ เทียนทองได้รับตำแหน่งทางการเมืองเป็นรองนายกเทศมนตรีตำบลวัฒนานคร

นายทรงยศ เทียนทอง หลานชายนายเสนาะ เทียนทอง ได้รับตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว

นายทรงคุณ เทียนทอง หลานชายนายเสนาะ เทียนทอง เคยได้รับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองสระแก้ว

นายฐานิสร์ เทียนทอง หลานชายนายเสนาะ เทียนทอง เคยได้รับตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

นางสาวตรีนุช เทียนทอง หลานสาวนายเสนาะ เทียนทอง เคยได้รับตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

2.นักกฎหมาย เนื่องจากกฎหมายมีความเกี่ยวข้องกับนักการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงทำให้มีนักกฎหมาย เป็นจำนวนมากสมัครรับเลือกตั้งเป็นนักการเมืองเกือบทุกระดับ นักกฏหมายที่ได้รับเลือกตั้งเป็นนักการเมืองมากที่สุดคือผู้ประกอบอาชีพทนายความ ซึ่งมีมากกว่านักกฎหมายจากอาชีพอื่น เช่น ผู้พิพากษา,อัยการ,นายตำรวจ

3.นักปกครอง อันได้แก่ ผู้ว่าราชการ , ปลัดจังหวัด , นายอำเภอ , ปลัดอำเภอ ,ปลัดเทศบาล ฯลฯ นักปกครองเหล่านี้ เมื่อเกษียณอายุแล้ว จึงลงสมัครรับเลือกตั้งไปเป็นนักการเมือง หรือ ทำงานในพื้นที่อยู่นานพอสมควร ได้ทราบถึงปัญหา ได้มีโอกาสคลุกคลีกับชาวบ้านแล้ว จึงลาออกมาสมัครรับเลือกตั้ง

4.นักธุรกิจ นักธุรกิจเป็นจำนวนมากเมื่อทำธุรกิจจนประสบความสำเร็จแล้วก็อยากที่จะมีอำนาจมีตำแหน่งมีชื่อเสียงมีเกียรติยศ จึงเข้าไปสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งนักธุรกิจหลายๆคนประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงก็เนื่องมาจากการจะเป็นนักการเมืองจะต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก นักธุรกิจหลายๆคนใช้เงินในการช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่ จนชาวบ้านที่พึ่งพาหรือได้รับความช่วยเหลือเกิดความศรัทธาและเลือกนักธุรกิจท่านนั้นเป็นนักการเมือง

5.ข้าราชการต่างๆ ไม่ว่า แพทย์ ครู พยาบาล ข้าราชการเหล่านี้ เมื่อทำงานอยู่ในระบบราชการแล้ว หลายๆคนก็ลาออกหรือเกษียณอายุเพื่อมาสมัครรับเลือกตั้ง

6.คนดัง ดารา คนเด่น บุคคลสาธารณะเหล่านี้ เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง เนื่องจากออกสื่อเป็นจำนวนมาก เมื่อมาลงสมัครรับเลือกตั้ง ก็มักจะได้เปรียบบุคคลในสาขาอาชีพอื่นๆ ที่ประชาชนในพื้นที่ไม่ได้รู้จัก

มากมายนัก เช่น นักมวยเมื่อได้แชมป์โลกแล้ว มาสมัครรับเลือกตั้งก็มีโอกาสชนะการเลือกตั้งได้ เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 571842เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2014 17:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กรกฎาคม 2014 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท