ไตรสิกขากับทักษะการละคร


นำทักษะละครมามองในไตรธรรม อันประเสริฐ

ไตรสิกขากับทักษะการละคร ที่สำคัญ อยู่ 3 ประการ


        ในเรื่องของทักษะในการละครเร่หรือละครอื่นๆ มีทักษะที่เป็นเเก่นอยู่ภายในตัวของผู้เล่น ที่มี 3 ประการด้วยกัน อันได้เเก่ จินตนาการ  สมาธิ เเละความเชื่อ ที่เป็นฐานความคิดของคนเล่นละครหรือผู้อื่นที่มีฐานคิดเช่นนี้  คำว่าจินตนาการ เป็นความคิดที่อยู่ในสมองของเรา ในความคิดมีความสร้างสรรค์ในความคิด  มีความมั่นใจในความคิด  มีความวิเคราะห์  สังเคราะห์  เเยกเเยะ  ประเมิน  วิพากย์  เเละวิจารณ์   ในเรื่องของสมาธิเป็นการประคอง ใจของตนเอง โดยจะต้องประคองอยู่อย่างสม่ำเสมอ อย่างมี สมานัตตา    ความเชื่อเป็นสิ่งสำคัญ ที่เป็นการเชื่อในความดีงามของสิ่งที่เราทำเเละคนอื่นๆทำ ที่ทำให้สังคมเรารู้จักการยอมรับเเละปรับตัว

        ในเรื่องของหลักธรรมไตรสิกขา หรือหัวใจศาสนาพุทธ หรือไตรธรรม  โดยในที่นี้ขอใช้คำว่าไตรธรรม ทีประกอบด้วย การคิด(ปัญญา)  การมีกำลังใจ(สมาธิ)  เเละการมีกำลังกาย (บริบท/การทำ) ที่เมื่อมามองกับทักษะการละครเเล้วนั้นเราจะสามารถเเยกเเยะได้ว่าทักษะใดเกิดมาจากอะไร มีรายละเอียดดังนี้

        จินตนาการ  เกิดมาจากการคิดหรือกระบวนการคิดที่มีการวิเคราะห์ในความเหมาะสมเเละไม่เหมาะสม คิดถึงผลที่จะออกมาเป็นหลักโดยมองที่ กาย หรือที่เราเรียกว่าบริบท  ซึ่งเป็นการคิดวิเคราะห์ที่มองปัญหาที่เกิดขึ้น มองความจริงที่เกิดขึ้น เเล้วไปคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ว่า เราจะทำอย่างไรให้งานที่ออกมานั้น เหมาะสมถูงกาลเทศะ  มีจินตนาการของตนร่วมด้วยเป็นหลักในการคาดการ  ในการคิดว่าจะสื่อสารได้ชัดเจน  ฯ  ในเรื่องของการฝึกจินตนาการ จำต้องฝึก โดยมองหลายๆอย่าง อาจใช้วิธีการดูละคร  อ่านนิยาย  ดูการ์ตูน  /  ในเรื่องของการฝึกการคิด อาจฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ  คิดเชื่อมโยง  เเยกเเยะ  วิเคราะห์  สังเคราะห์  ประเมิน  วิพากย์ ในบริบทหรือปัญหานั้นๆ  เเล้วผลจากจินตนาการ กับ กระบวนการคิด มารวมกัน = เหมาะสมกับการสื่อสาร

        สมาธิ  เกิดจากใจเป็นบาทฐานในการประคองใจของตนให้ตลอด ลอดฝั่ง เเต่เพียงการประคองใจตนเองนั้นไม่เพียงพอต่อการประคอง ในการประคองสมาธิย่อมต้องมี "สัมมาทิฐิ"  เป็นความเห็นชอบ เป็นการคิดย้ำเตือนตนเองเข้าไปอีกในการประคองใจของตนเอง โดยดำรงค์ใจให้ได้  "สมานัตตา" เป็นการดำรงค์ใจให้สม่ำๆเสมอ ไม่ตึงเกินไปเเละไม่หย่อนจนเกินไป ฯ  ในเรื่องของการฝึกสมาธินั้นอันนี้จำต้องฝึกด้วยตนเองที่จะเกิดผลได้เพียงผู้ปฏิบัติ รมวทั้งจินตนาการ เเละ ความเชื่อก็เช่นเดียวกัน  การฝึกสมาธิ ในเเง่ของการเเสดง อาจฝึกขึ้นเวทีบ่อยๆ ให้ใจไม่สั่น  ให้ได้ฝึกความกล้าไปเรื่อยๆ  หรืออาจฝึกจับความรู้สึกของตนเองดู เพื่อปรับปรุงเเก้ไขตนเอง 

        ความเชื่อ   เกิดจากใจเป็นบาทฐานสำคัญ ที่ทำให้เกิดความเชื่อ โดยใจมองไปที่ กายซึ่งเป็นบริบทหรือปัญหาที่เคยเห็น เคยผ่านมา โดยปกติ คนเราในการจะเชื่อหรือไม่เชื่ออะไรนั้น  ถ้าเราเคยมีประสบการณ์กับสิ่งนั้นๆมาก่อนเเล้วเกิดการสั่งสม เราจะเชื่อได้ง่ายกว่าเหตุการณ์ที่เราไม่เคยผ่านประสบการณ์นั้นมาก่อน ในมุมมองของละคร ในการเเสดง ถ้าในบทบาทเรานั้นถ้าเราเชื่อในตัวละครไม่ได้  บางครั้งเราก็ต้องมา "เทียบเคียงความเชื่อ" ซึ่งก็ คือ การสมมติเหตุการณ์ในละครในบทบาทของเรานั้น ให้เหมือนกับเหตุการณ์อะไรสักอย่างที่เราเคยผ่านมาในชีวิต เช่น เกิดดารสูญเสีย  พ่อเเม่ตี ฯ ในการฝึกความเชื่อนั้น อันนี้ฝึกยาก อาจฝึกโดยการมองเหตุการณ์ที่ตนเคยผ่านมาเเล้ว เอาใจเชื่อในสิ่งที่ตนกำลังทำอยู่ในปัจจุบันให้เหมือนกัน  หรืออาจฝึกตนในวิธีการต่างๆ ฯ

        มุมมองของละครเร่กับไตรธรรมนี้ เราสามารถเเยกได้ว่าอะไรเกิดอยู่ที่ไหน บันทึกนี้เป็นการมองเพียงมุมมองหนึ่ง ไตรธรรม เป็นหัวใจของทุกๆสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงประธานมาให้เรา มนุษย์ทุกๆคน  "ไตรธรรม" สมัยนี้เราต้องประยุกต์ธรรมให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน

.

.

.

.

.

หมายเลขบันทึก: 571446เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2014 19:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กรกฎาคม 2014 19:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

คิดประยุกต์ได้ดีมากครับ ขอชื่นชมไอเดีย

<p>,มีโลกธรรมมา..ฝาก..กับ..ความคิดดีๆ..ข้อเขียนดีๆ..เจ้าค่ะ</p>

ขอชื่นชมความคิดสร้างสรรค์ที่ควรแก่ธรรมครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท