สถานการณ์ "จะเปิดร้านขายกาแฟ" เพื่อฝึกทักษะของเด็กๆ



    ในรายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มาถึงช่วงเวลาที่ต้องฝึกให้เด็กๆ รูจักตั้งคำถาม  อภิปรายแสดงความคิดเห็น และทักษะการสื่อสาร ดังนั้นจึงได้จัดตั้งสถานการณ์โดย มีผู้จะเปิด "ร้านขายกาแฟ" จึงมาขอความคิดเห็นจากกลุ่มชาวบ้านที่ชอบนั่งคุยกัน  กลุ่มนักศึกษา  กลุ่มนักวิชาการ  และกลุ่มนักธุรกิจ
     ครูนกเปิดโอกาสให้เด็กๆ แต่ละกลุ่มได้เลือกสถานที่นั่งพูดคุยระดมความคิดในตำแหน่งที่อยากจะนั่ง หรือในทำเลที่อยากจะนั่ง  พบว่า บางกลุ่มเลือกจะนั่งล้อมวงคุยกันหน้าชั้นเรียน  และบางกลุ่มเลือกจะคุยในรูปแบบโต๊ะประชุม  ซึ่งก็บังเอิญสอดคล้องกับบทบาทสมมติของแต่ละกลุ่ม 

กลุ่มนักธุรกิจ
    ในวงสนทนาของแต่ละสาขาอาชีพจะใช้เวลา ๑๕ นาที จากนั่นสรุปแล้วมาบอกเล่าความคิดของกลุ่มตนเองให้เพื่อนๆ กลุ่มอื่นฟัง  ระหว่งที่แต่ละกลุ่มทำงานครูนกได้เดินไปทุกๆกลุ่มเพื่อให้แรงเสริมด้วยการพูดชม หรือกล่าวให้กำลังใจ หรือให้ข้อมูลขยายความคิด
     กลุ่มชาวบ้าน เป็นกลุ่มแรกนำเสนอก่อน  เด็กๆ เข้าใจการตั้งคำถามในบริบทของชาวบ้าน  หรือความสนใจของชาวบ้าน  ส่วนกลุ่มนักศึกษาเขาก็เข้าใจความต้องการหรือมุมมองของนักศึกษาซึ่งนำคำถามไปยังประเด็นการบริการเสริมของร้านขายกาแฟ เช่น มุมอ่านหนังสือ  และการบริการ Wifi ส่วนกลุ่มนักวิชาการ เด็กๆ ก็สวมบทบาทได้อย่างเหมาะสมกับวัยมีการสอบถามถึงอุณหภูมิของน้ำร้อนที่ใช้ในการชงกาแฟ  สายพันธุ์กาแฟ  ตลอดจนมุมมองแบบละเอียดมากๆ จนครูนกได้ยินคำเปรยจากเด็กๆ บางคนว่า "เลิกคิดขายกาแฟไปเลยเจอคำถามแบบนี้"  ส่วนกลุ่มนักธุรกิจ ก็ถือว่าโชคดีที่เด็กๆ ได้เรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ทำให้มุมมองด้านธุรกิจของเด็กๆ ทำให้ครูนกทึ่งมาก เช่น  ในการเปิดร้านกาแฟนมีแผนกลยุทธ์รองรับตลาด AEC อย่างไร
กลุ่มนักธุรกิจนำเสนองาน
    หลังจากเด็กๆ นำเสนอครูนกเลยสรุปให้ฟังว่า การทำกิจกรรมวันนี้ครูต้องการฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ในสถานการณ์  นำไปสู่การตั้งคำถาม และการอภิปรายภายในกลุ่ม พร้อมการสื่อสารและนำเสนอความคิดต่อผู้อื่น ที่สำคัญการฝึกทักษะในการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย


   เด็กๆ  น่าจะสนุกมากๆ เพราะเมื่อครูนกบอกว่า วันศุกร์นี้ครูจะไม่อยู่  เสียงเด็กๆ ก็บอกว่า ทำไมต้องเป็นวันศุกร์  หรือ ทำอย่างไรให้วิชาอื่นได้สนุกแบบนี้บ้าง  ครูนกเลยบอกว่า วิชานี้ไม่มีเนื้อหาให้สอนครูสอนแต่กระบวนการค่ะ ส่วนวิชาอื่นๆ ก็เป็นไปตามธรรมชาติของวิชา

หมายเลขบันทึก: 571138เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2014 18:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มิถุนายน 2014 18:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่น่าสนุก  น่าสนใจมาก ๆ จ้ะ  

ช่วงนี้ไม่ค่อยได้ทักทายครูนกเลย  แต่ก็ระลึกถึงเสมอจ้ะ

ครูนกสบายดีนะจ๊ะ

This is a good 'entrepreneurs building lesson'. Children would learn to look after themselves and their families better than learning theories in STEM or learning to get top mark in exams.

I'd add one more aspect though : "fund-raising or how to make it (a business) happen".

Salute

;-)

ดีจังค่ะสอนแบบนี้ ให้รักเรียนแบ่งกลุ่มตามบทบาทสมมุติแล้วแสดงความเห็น 

เป้นห้องเรียนที่สร้างสรรค์และสนุก

ขอบคุณค่ะ คุณครูมะเดื่อ
ระลึกถึงอยู่เช่นกันค่ะ
ความสุขของเด็กคือความสุขของครูนะคะ

ขอบพระคุณค่ะ ท่านsr  ครูนกเห็นด้วยค่ะ เมื่อไรเรามอบกิจกรรมที่เป็นของจริง หรือเรื่องที่วัยเขาสนใจเด็กๆ จะสนุก และร่วมกิจกรรมได้อย่างดีเลยค่ะ  และวิชานี้ก็ไม่ได้มุ่งคะแนนค่ะขอให้เด็กๆสร้างความรู้ด้วยตนเองได้ก็ถือว่า ยอดเยี่ยมแล้วค่ะ ก็หวังว่า วันหนึ่งเมื่อเขาจะลงมือทำงานใดๆ บทเรียนในวันนี้จะเป็นฐานความคิดให้เขาได้ค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณหมอ nui

การทำกิจกรรมกลุ่ม....ทำให้เพื่อนเป็นตัวกระตุ้นนักเรียนที่เฉื่อยๆ หรือไม่ชอบคิด พร้อมได้เห็นมุมมองของเพื่อนในวัยเดียวกันในลักษณะสร้างสรรค์
ขอบคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยมบันทึก

ดูหน้าเด็กสนุกมาก ๆ ค่ะ

"แวะมาถาม..ถึง".....ว่า..มีนักเรียนที่สนใจว่า..ผู้ผลิต..กาแฟ..ต้นทาง..มีสภาพ..ความเป็นอยู่..อย่างไร..และราคา..ขาย..กับ..สภาพแรงงานนั้น..สมดุล..กันไหม...หรือ..ว่า..สนใจแต่เรื่อง..กำไร..ๆๆๆ..ที่ปลายทางเท่านั้น...และ..นักเรียนเรา...สนใจ..คำว่า.."แฟร์เทรด"..ไหมคะ..

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท