ไตรสิกขา กับ I WE IT


I -->WE-->IT -->ไตรสิกขา(ศีล,สมาธิ,ปัญญา) -->I -->WE-->IT -->........

ไตรสิกขา กับ I WE IT ... 


ไตรสิกขาถ้าเราย้อนมองไปอีกครั้งหนึ่ง กระผมเองนั้นก็นึกนึง ทฤษฎีหนึ่งที่ ชื่อว่า  I WE IT ... ซึ่งถ้าเราลองมาจับทั้ง 2 อย่างนี้ให้เข้าด้วยกัน เอาทฤษฎีในการจัดการกับความรู้เข้าด้วยกันกับทฤษฎีการจัดการตนเองเเละจัดการโลก จะเห็นดังภาพ

I คือ จุดประสงค์หรือเป้าหมายหรือความคาดหวังที่เรามีที่อยากให้เกิดขึ้น ซึ่งวัตถุประสงค์นี้มาจากหลายๆอย่างหรือมาจากอย่างเดียวก็ได้ อาจมาจากศีลที่เป็นกาย 

กายเป็นสังคม (อันได้เเก่ ครอบครัว ชุมชน  สังคม เพื่อน โรงเรียน  สถาบัน  หรือประเทศชาติ)

เป็นวัฒนธรรม  (อันได้เเก่ ความหลัง  จุดเปลี่ยน  เเละปัจจุบัน)

เป็นสิ่งเเวดล้อม  (อันได้เเก่ ธรรมชาติสร้าง ทั้งชีว เเละกาย เเละมนุษย์สร้างทั้ง รูปเเละนาม)

เป็นเศรษฐกิจ  (อันได้เเก่ ปัจจัย ๗ คือ อาหาร  ที่อยู่อาศัย  เครื่องนุ่งห่ม  ยารักษาโรค  เงินทอง  รถขับ เเละสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในชีวิต)

หรือ I อาจมาจากสมาธิที่เป็นผลร่วมจาก ฉันทะ  วิริยะ  จิตตะ เเละวิมังสา หรือ I อาจมาจากปัญญาที่เป็นการเกิดเเสงสว่างขึ้นในความคิดด้วยกระบวนการ อริยสัจ๔ ได้เเก่ ทุกข์  สมุทัย  นิโรธ เเละมรรค จนเกิดปัญญา  เเต่อย่างไรก็ดี คำว่า I นั้นเกิดได้ในทั้ง 3 ด้าน เกิดได้จากศีล  จากสมาธิ  เเละจากปัญญา เมื่อ I เกิดหรือเป้าหมายเกิดเเล้วก็นำมาสู่วิธีการ คือ WE 

WE คือ กุญเเจสำคัญ เป็นวิธีการ เป็นกระบวนการหรือลำดับขั้นตอนในการทำงานเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมาย (I) เมื่อ I เกิดขึ้นจากไตรสิกขาในด้านต่างๆเเล้ว WE ที่เป็นวิธีการจะดำรงค์เป้าหมายเพื่อดำเนินงาน  ดำรงค์จิตใจเพื่อดำเนินงาน เเละดำรงค์หลักปัญญาเพื่อดำเนินงานไปอย่างถูกทาง WE ต้องดำรงค์ทั้ง 3 อย่างนี้จึงจะมั่นคงเเละหนักเเน่น

IT คือ ผลที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจาก I ที่เป็นเป้าหมาย นำมาสู่ WE ที่เป็นวิธีการขึ้นไปสู่เป้าหมาย เเล้วจนเกิดผล คือ IT ในอิท นี้เป็นผลที่เกิดขึ้นที่จะ Feedback กลับไปสู่ศีล สู่สมาธิ เเละสู่ปัญญา  

สู่ศีล  นั้นเป็นการสะท้อนกลับมายังสังคมฯ ที่อยากอยากพัฒนาหรือทำให้ดีขึ้น อาจเกิดผลในด้านปริมาณเเละคุณภาพ ทั้งมากเเละน้อย อันนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการเเละบริบทประกอบด้วยศักนภาพของเราด้วย  เป็นการดึงผลพวงเเห่ง it เข้ามาสู่ ศีลหรือกาย เเล้วกลับมายัง I ใหม่อีกครั้งหนึ่ง

สู่สมาธิ  นั้นเป็นการสะท้อนกลับจิตใจของตนเองให้มีเเรงบันดาลใจในการ WE มายิ่งขึ้นไปอีก ทั้งเกิดกับตนเอง เกิดกับเพื่อนร่วมงาน เกิดกับครอบครัว ฯ ที่เป็นซึ่งลพังสำคัญในการทำงาน เป็นการดึงผลเเห่ง it เข้ามาสู่สมาธิเเล้วกลับมายัง I ใหม่

สู่ปัญญา นั้นเป็นการสะท้อนกลับเพื่อต่อเสริมเติมจุดด้อย เป็นการต่อยอดจากผลให้เกิดผลต่อไปในอนาคต  เป็นการดึงผลเเห่ง IT มาเข้าสู่ปัญหาเเล้วเข้าไปหา I ใหม่

สู่ผล (IT) เมื่อเริ่มจาก I -->WE-->IT -->ไตรสิกขา(ศีล,สมาธิ,ปัญญา) -->I -->WE-->IT -->........ เเล้วก็เป็นอยู่เช่นนี้ตลอด

.

.

.

.

.

.

หมายเลขบันทึก: 570768เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2014 07:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2014 07:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นการนำไตรสิกขามาประยุกต์ได้ดีเลยนะครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท