เครื่องเอ็มอาร์ไอกับโรคธาลัสซีเมีย


สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอการนำบางส่วนของโครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาการตรวจภาวะธาตุเหล็กเกินที่หัวใจและตับของผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียด้วยเครื่องเอ็มอาร์ไอ (MRI) ฯ ที่ผมมีส่วนร่วม

โดยการใช้ โปรแกรมวิเคราะห์ค่า T2* ของกล้ามเนื้อหัวใจและค่า LIC ของตับจากภาพแม่เหล็กไฟฟ้า



ภาพซ้ายมือ บริเวณตับ มีพื้นที่สีแดง หมายถึง มีปริมาณเหล็กจำนวนมากมาอยู่ที่ตับ 

ค่า LIC (liver iron concentration) มีค่า 24.8 


ภาพขวามือ บริเวณตับ มีพื้นที่สีเขียวปนฟ้า หมายถึง มีเหล็กบางส่วนมาอยู่ที่ตับ 

ค่า LIC (liver iron concentration) มีค่า 3.2 สูงกว่าค่าปกติเล็กน้อย

จากทั้ง 2 ภาพ 

ช่วยให้แพทย์ สามารถวางแผนการให้ยา การรักษา ได้ชัดเจนมากขึ้นกว่าเดิม ที่ดูผลทางห้องปฎิบัติการ

  

วิธีการตรวจด้วย MRI คือ 

การใช้เทคนิคการตรวจที่ต่างจากการตรวจปกติ คือ การเปลี่ยนค่า TE (Echo time) ที่แตกต่างกัน 

โดยสแกน ณ ตำแหน่งเดียวกัน ประมาณ 11 ภาพ ที่มีค่า TE 11 ค่า

จากนั้น ส่งนำข้อมูลภาพเข้าโปรแกรม Matlab ร่วมกับโปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยทีมงาน รศ.ดร. ไพรัช สายวิรุณพร สังกัด ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

นี่เป็นส่วนหนึ่งที่ของนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ มาใช้ประโยชน์ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานจริง ช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยและรักษาโรคต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 570079เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2014 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2014 11:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

โรคนี้พบบ่อยในภาคอีสานนะครับ

เรียน อ.จิตเจริญ ที่เคารพ

โครงการนี้ร่วม กับ ศ.พญ.อรุณี เจตศรีสุภาพ ครับ เน้นตรวจเด็กๆ ก่อน ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท