เลิศ
นาย บุญเลิศ เลิศ วีระพรกานต์

การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก


หัวข้อดุษฎีนิพนธ์ การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก

ผู้วิจัย บุญเลิศ วีระพรกานต์

สาขาวิชา การบริหารนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา

ประธานอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรวรรณ จงจิตร ศิริจิรกาล

อาจารย์ที่ปรึกษา ดร.ปรีชา สามัคคี

   

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก 2) พัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก 3) ประเมินผลการใช้รูปแบบ การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก ประชากรเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 จำนวน 140 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 70 คน ครูหัวหน้างานหรือที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เอกสาร

ผลการวิจัย พบว่า 1) . สภาพและปัญหาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนขนาดเล็กมีปัญหาการดำเนินงาน การทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน อยู่ในระดับกลาง และการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาอยู่ในระดับน้อยที่สุด ส่วนด้านปัญหาการดำเนินงาน พบว่า การจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องอยู่ในระดับมากที่สุด และการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานของสถานศึกษาอยู่ในระดับน้อยที่สุด 2)การพัฒนา รูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก พบว่ามีขั้นตอนประกอบด้วย 1.วิเคราะห์มาตรฐานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 2.วิเคราะห์ภาระงานตามโครงสร้างโรงเรียนนิติบุคคล 3.บูรณาการมาตรฐานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษากับภาระงานตามโครงสร้างการบริหารงานทั้ง 4 งาน และ4.ติดตาม ตรวจสอบทบทวนผลการ โดยมีระดับความสอดคล้องของรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กเท่ากับ 0.74 และจากการทดลองใช้รูปแบบกับโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง 10 โรงเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง(ร้อยละ 82.30) จากการนำไปใช้กับโรงเรียนเป้าหมายและการประเมินของผู้ใช้รูปแบบ และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ มีผลอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ87.75) 3)ผลการใช้รูปแบบของ รูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กโดยการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบจากผู้ใช้รูปแบบและนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ 16 คน พบว่ามีความพึงพอใจในระดับสูง(ร้อยละ 87.75)และจาก ครู บุคลากร ในสถานศึกษาที่ใช้รูปแบบ และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ มีความเห็นสอดคล้องกันว่า เป็นรูปแบบที่สามารถใช้เป็นคู่มือการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก ได้ดีเพราะ มีความเข้าใจง่าย การปฏิบัติสอดคล้องสัมพันธ์กันระหว่างการปฏิบัติงานตามโครงสร้างการบริหารงาน การจัดการเรียนการสอน และมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

หมายเลขบันทึก: 570024เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2014 13:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2014 13:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท