บทคัดย่อ วิทยานิพนธ์ เรื่อง การจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัยธาศัยอำเภอ ในจังหวัดศรีสะเกษ


บทคัดย่อ

หัวข้อวิทยานิพนธ์ การจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ

ในจังหวัดศรีสะเกษ

ผู้วิจัย ศรีสุดา สุภี

สาขา การบริหารการศึกษา

ประธานกรรมการที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุดมพันธุ์ พิชญ์ประเสริฐ

กรรมการที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรศักดิ์ ศรีกระจ่าง

กรรมการที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์จำเริญ อุ่นแก้ว

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ สภาพและปัญหาการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในจังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตามตำแหน่งและขนาดของสถานศึกษา

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร ข้าราชการและพนักงานราชการ จำนวนทั้งสิ้น 172 คน ได้มาโดยการใช้ตาราง Krejcie และ Morgan และโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประเภทปลายปิด สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวOne - Way ANOVA

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในจังหวัดศรีสะเกษ โดยภาพรวมและรายด้าน มีสภาพการจัดการศึกษา อยู่ในระดับมาก โดยเรียงสภาพการจัดการศึกษาจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและ ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

2. ปัญหาการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในจังหวัดศรีสะเกษ โดยภาพรวมและรายด้าน มีปัญหาการจัดการศึกษาอยู่ในระดับน้อย โดยเรียงปัญหาการจัดการศึกษาจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา

3. ผลการเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในจังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตามตำแหน่งและขนาดของสถานศึกษา

3.1 ผลการเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในจังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตามตำแหน่งโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

3.2 ผลการเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในจังหวัดศรีสะเกษจำแนกตามขนาดของสถานศึกษาโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าสภาพการจัดการศึกษา ในด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการบริหารจัดการสถานศึกษาและด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน และปัญหาการจัดการศึกษา ในรายด้านพบว่า ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน

หมายเลขบันทึก: 569994เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2014 20:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2014 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท