R2R รพ.คำเขื่อนแก้ว


"การจัดบริการใกล้บ้าน ใกล้ใจ 5 Node สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริการในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวาน และความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว ได้จริงหรือไม่"

ภาพกรอบแนวคิด และโมเดลที่ได้จากการพัฒนา...

จากคำถามการวิจัยที่ว่า

"การจัดบริการใกล้บ้าน ใกล้ใจ 5 Node สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริการในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวาน และความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว ได้จริงหรือไม่"

อุบัติการณ์ของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีเพิ่มขึ้นทุกๆ ปีหากศึกษาย้อนหลัง3 ปี พบว่าผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง อำเภอคำเขื่อนแก้ว ในปี พ.ศ. 2553 - 2555 มีจำนวน 6,767, 7,078 และ 7,415 คน ตามลำดับ ผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เพียงร้อยละ 33.41 และ 62.92 เท่านั้น ที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาล และระดับความดันโลหิต ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ นั่นสะท้อนให้เห็นถึงภาวะสุขภาพของคนในพื้นที่ที่รุมเร้าด้วยโรคเรื้อรังและส่งผลให้เป็นปัญหาในระดับใหญ่ แต่ละวันมีผู้ป่วยมารับบริการตั้งแต่เช้ามืดจะเห็นได้จากผู้ป่วยต้องเดินทางมาตั้งแต่ตีหนึ่งพร้อมรถที่มาตลาด เพื่อมารับบริการที่คลินิกและมาแออัดกันเฉลี่ยวันละ400-500 คนเพื่อรอรับบริการส่งผลต่อคุณภาพของการให้บริการซึ่งใช้เวลาทั้งวัน กว่าจะได้กลับก็ตกเย็น โดยบางคนได้อาศัยรถเจ้าหน้าที่ ซึ่งอยู่ที่หมู่บ้านเดียวกันกลับพร้อมเจ้าหน้าที่เลิกงาน

จากปัญหาดังกล่าวส่งผลต่อการให้บริการที่ใช้เวลามากมีความแออัดในคลินิกบริการส่งผลกระทบเป็นลูกคลื่น ต่อคุณภาพบริการ และภาวะการเจ็บป่วยของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นผู้ให้บริการก็มีภาวะความเครียดจากการทำงาน ไม่มีความสุขถ้าปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไข จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นได้รับบริการที่ดีขึ้นและบุคลากรมีความสุขในการให้บริการมากขึ้น

จากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ดังกล่าวผู้วิจัยจึงสนใจที่จะนำรูปแบบ การจัดบริการใกล้บ้าน ใกล้ใจ 5 Node โดยนำองค์ความรู้การแพทย์ทางเลือกวิถีธรรม และสมาธิบำบัด มาบูรณาการ กับการแพทย์แผนหลัก เพื่อใช้ในการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการแก่ผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ที่มารับบริการที่ คลีนิคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง

การจัดบริการใกล้บ้านใกล้ใจ 5 Node หมายถึง การกำหนดแบ่งโซนพื้นที่ให้บริการในเขตอำเภอคำเขื่อนแก้ว ครอบคลุมทุก รพ.สต.โดยทีมสหสาขาออกตรวจและให้บริการตามแนวคิดคลินิกเคลื่อนที่ โดยใช้เกณฑ์ความสะดวกในการเข้าถึงบริการของผู้ป่วย

นำมาสู่ ประสิทธิภาพการบริการ อันหมายถึง การลดความแออัด ลดค่าใช้จ่าย ลดระยะเวลารอคอย และความพึงพอใจของผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการจัดบริการ ต่อบริการของคลินิกเบาหวาน และความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว

หมายเลขบันทึก: 569821เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2014 08:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2014 08:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท