การดูแลแบบบูรณาการผู้ป่วยแฝดสยามที่มีทางเดินน้ำดี 1 ชุด รายแรกของประเทศไทย


ผนึกแก้ว คลังคา
โรงพยาบาลขอนแก่น

วัตถุประสงค์
– เพื่อรายงานการดูแลแบบบูรณาการผู้ป่วยแฝดสยามที่มีทางเดินน้ำดี 1 ชุด ประสบการณ์โรงพยาบาลขอนแก่น

วิธีการดำเนินการ
– มีการวางแผนการดูแลรักษาแบบบูรณาการให้ครอบคลุมและต่อเนื่อง ตั้งแต่แรกรับจนกลับบ้าน โดยทีมสหสาขาวิชาชีพดังนี้

1) การเตรียมบุคลากรโดยการแต่งตั้งทีมดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพ จัดประชุมวิชาการเรื่องประสบการณ์ในการผ่าตัดแฝดสยาม เชิญแพทย์ผู้มีประสบการณ์ผ่าตัดแผดสยามมาเป็นที่ปรึกษาและร่วมผ่าตัด ศึกษาดูงานด้านวิสัญญี ทบทวนความรู้การดูแลให้พยาบาล และการเตรียมความพร้อมการผ่าตัดทุกด้าน

2) การดูแลรักาผู้ป่วยให้พร้อมก่อนผ่าตัดโดยจัดสถานที่ให้เป็นxxxส่วน มีแพทย์พยาาลดูแลพิเศษ ทำ Quality Round ตรวจสุขภาพอย่างละเอียด มารดาได้ร่วมดูแลและให้นมแก่ฝาแฝด เตรียมด้านจิตใจของบิดามารดาด้วยการให้คำปรึกษา ฝึกสติและสมาธิ ไหว้พระสวดมนต์ เป็นระยะรวมทั้งวันผ่าตัด หลังผ่าตัด

3) การดูแลในวันผ่าตัดใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดยาวนาน แฝดน้อง 16 ชม. แฝดพี่ 19 ชม. จัดทีมแพทย์ พยาบาล และวิสัญญีร่วมทีมดูแลผลัดเปลี่ยนรวม 52 คน จัดระบบทางด่วนกับคลังเลือด ห้องปฏิบัติการและรังสีวิทยา ทั้งในวันผ่าตัดและหลังผ่าตัด

4) การดูแลระยะวิกฤติหลังผ่าตัดจัดทีมกุมารแพทย์และพยาบาลที่มีประสบการณ์ดูแล อย่างต่อเนื่อง พยาบาล 1 คนต่อผู้ป่วย 1 ราย ดูแลใกล้ชิดในหอผู้ป่วยภาวะวิกฤติที่มีอุปกรณ์เครื่องมือพร้อมช่วยชีวิต และเปิดโอกาสให้บิดามารดาเข้าเยี่ยมได้ตลอดเวลา

5) การวางแผนจำหน่าย โดยให้คำแนะนำมารดาเรื่องการดูแลบุตรที่จำเป็น จนสามารถทำได้ ได้ประสานงานและส่งต่อข้อมูลเพื่อการดูแลต่อเนื่อง ออกติดตามเยี่ยมที่บ้าน และตรวจสุขภาพแฝดเป็นระยะ

6) การช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้ประสานหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้ใจบุญช่วยเหลือนม เสื้อผ้าของเล่น ทุนการศึกษา รวมทั้งประสาน อบต. และผู้นำหมู่บ้านในการช่วยเหลือดูแลต่อไป

ผลลัพธ์ – ความผิดปกติอวัยวะภายในช่องท้องของแฝดสยามได้รับการแก้ไขเรียบร้อย แฝดทั้งสองมีสุขภาพดี พัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจเป็นปกติเหมือนเด็กทั่วไป

- ความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจเป็นผลจากทีมสหสาขาวิชาชีพของโรงพยาบาลขอนแก่น โดยการนำของผู้อำนวยการโรงพยาบาลที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล การเตรียมความพร้อมที่ดี ความร่วมมือของสถาบันสุขภาพเด็กมาราชินี โรงพยาบาลศรีนครินทร์และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน



จากการนำเสนอผลงานทางวิชาการ
การประชุมวิชาการประจำปีกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 13 ประจำปี 2548

หมายเลขบันทึก: 56891เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2006 10:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท