HR-LLB-TU-2556-TPC-สิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย/คนหนีภัยความตาย


       สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนเกิดมามีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีอิสรภาพ เสรีภาพ ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีใครสามารถล่วงละเมิดได้(ความหมายและความสำคัญของสิทธิมนุษยชน,ออนไลน์,2552)

ผู้ลี้ภัย (อังกฤษrefugee) หมายถึงบุคคลที่อยู่นอกประเทศต้นกำเนิดหรือประเทศที่มีถิ่นฐานประจำ เพราะเขาผู้นั้นประสบกับภัยอันเกิดแต่การตามล่า การกดขี่ด้วยเหตุทาง เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ ความเห็นทางการเมือง หรือ การเป็นสมาชิกของกลุ่มสังคมที่ถูกตามล่า บางครั้งอาจเรียกผู้ลี้ภัยว่า ผู้ขอที่ลี้ภัย (asylum seeker) จนกว่าจะได้รับการยอมรับสถานภาพของผู้ลี้ภัย

อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494 ให้คำนิยาม และความหมายของสถานภาพผู้ลี้ภัยว่า ผู้ลี้ภัย หมายถึง บุคคลที่จำเป็นต้องทิ้งประเทศบ้านเกิดของตนเอง เนื่องจากความหวาดกลัวการถูกประหัตประหารหรือได้รับการคุกคามต่อชีวิตเนื่องจากสาเหตุข้อหนึ่งข้อใด เช่น เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติสมาชิกภาพในกลุ่มทางสังคม สมาชิกภาพในกลุ่มความคิดทางการเมือง

ผู้หนีภัยความตาย คือ ผู้หนีภัยที่เกิดกับชีวิต ทั้งภัยโดยตรง และโดยอ้อม ภัยโดยตรง เช่น ภัยจากการสู้รบ ส่วนภัยความตาย โดยอ้อม 

ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัยและคนหนีภัยความตาย

          ด้วยเหตุที่ประเทศไทยยังไม่ได้ลงนามอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัยปี ค.ศ. 1951 จึงส่งผลให้ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายและนโยบายที่ชัดเจนในการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัย ส่งผลให้ผู้ลี้ภัยที่อยู่ในค่ายไม่ได้รับเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน แต่เนื่องจากไทยให้ความเคารพในสิทธิมนุษยชน จึงให้การคุ้มครองผู้ลี้ภัย

          สำหรับในเรื่องของการจัดการนั้น  ประเทศไทยเพียงแต่ให้สถานที่ในการตั้งค่ายขึ้นมา แต่สำหรับค่าใช้จ่ายภายในค่ายอพยพสำหรับผู้ลี้ภัยตามชายแดนทั้งหมดนั้น ได้รับเงินสนับสนุนจากต่างประเทศทั้งสิ้น โดยผ่าน NGO และหน่วยงานต่างๆ อีกทั้งหน่วยงานเหล่านี้เองที่เป็นผู้ดูแลเรื่องของค่าสาธารณูปโภค และการศึกษา (ซึ่งสำหรับการศึกษานี้มีองค์กร World Education เข้ามาร่วมช่วยเหลือด้วย)

          นอกจากนี้ยังมีประเด็นปัญหาที่สำคัญอีกหนึ่งประเด็นคือ ในเมื่อรัฐไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัยปี ค.ศ. 1951 แล้วเหตุใดจึงต้องให้ความช่วยเหลือ มอบความคุ้มครองให้แก่ผู้ลี้ภัยจากประเทศเพื่อนบ้านด้วย และเหตุใดจึงต้องอ้างถึงอนุสัญญาฉบับนี้ทั้งที่ยังมิได้เป็นภาคี? ซึ่งคำตอบนั้นสามารถอธิบายได้ดังนี้

          สำหรับอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัยปี ค.ศ. 1951 นั้น สิทธิต่างๆในอนุสัญญาฯฉบับนี้ ล้วนแต่ได้รับการยอมรับในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนว่าเป็นสิทธิของมนุษย์ทุกคน จึงถือได้ว่าเป็นมาตรฐานสากลในการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยทั่วโลก อีกทั้งแม้รัฐไทยจะยังมิได้เป็นภาคีในอนุสัญญาฯฉบับดังกล่าว ทว่า รัฐไทยนั้นอยู่ในฐานะที่เป็นสมาชิกแห่งองค์การสหประชาชาติ และเป็นภาคี ยอมรับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ รวมทั้งยังเป็นสมาชิกคณะกรรมการบริหารของ UNHCR 


ในความเห็นของผู้เขียนนั้น บุคคลกลุ่มนี้มีความน่าสงสารและน่าเห็นใจเป็นอย่างมากเนื่องจากไม่มีรัฐใดๆบนโลกนี้ที่ให้การยอมรับต้องเสี่ยงชีวิตเป็นอย่างมากกับการอพยพเพื่อมาหาแหล่งสถานที่ลี้ภัย เพราะอาจเผชิญกับภัยอันตรายได้หลายรูปแบบ ทุกเวลา เสี่ยงต่อการถูกจับไปค้ามนุษย์ ไปทำงานผิดกฎหมาย เป็นโสเภณี ถูกขายเป็นแรงงานทาส หากรัฐไทยนั้นสามารถกระทำการใดๆ เพื่อคุ้มครองบุคคลเหล่านี้ได้มากยิ่งขึ้น ผู้เขียนก็เห็นว่าเป็นสิ่งที่สมควรกระทำยิ่ง แม้พวกเขาเหล่านั้นจะมิใช่ผู้ที่มีสัญชาติไทยเฉกเช่นเรา แต่อย่างน้อยก็เป็นมนุษย์เช่นเดียวกัน เพื่อแสดงให้ชนชาจิอื่นได้เห็นประเทศไทยเป็นแบบอย่างในการช่วยเหลือเพื่อมนุษย์

หมายเลขบันทึก: 568743เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 18:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท