กฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


กฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย

         ปัจจุบันแม้จะมีการยอมรับในเรื่องเพศที่3มากขึ้นก็ตาม แต่ในสังคมไทยเพศที่สามกลับถูกมองเป็นบุคคลชั้น2ของสังคมถูกมองเป็นตัวตลกทั้งที่บางครั้งบุคคลเหล่านี้กลับเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถไม่แพ้กับคนปกติทั่วไป ทั้งในเรื่องของสิทธิต่างๆที่พวกเขาได้รับไม่เท่าเทียมกับคนปกติไม่ว่าจะเป็นเรื่องทั่วๆไปอย่างเช่นการเข้าห้องน้ำที่มีเฉพาะห้องน้ำผู้หญิงและผู้ชายซึ่งทำให้เพศที่สามเกิดความตะขิดตะขวงใจเมื่อตัดสินใจเลือกเข้าห้องใดของหนึ่ง หรือในเรื่องกฎหมายทั้งการใช้คำนำหน้าชื่อทั้งนายและนางสาวรวมไปถึงกรณีการจดดทะเบียนสมรสของเพศเดียวกันที่กฎหมายไทยยังไม่ยอมรับ

         เมื่อกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพกระทรวงยุติธรรม จับมือกับคณะกรรมาธิการการกฎหมายการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ยกร่างกฎหมายใหม่เรื่องสิทธิและเสรีภาพกับกลุ่มเพศที่สามให้กว้างขึ้น โดยใช้ชื่อว่า พ.ร.บ.การจดทะเบียนคู่ชีวิต เป็นร่างกฎหมายที่ทำให้กลุ่มที่มีวิถีทางเพศไม่ตรงกับเพศกำเนิดหรือไม่ตรงกับอัตลักษณ์ทางเพศ หรือ LGBT มีคู่ชีวิตเป็นเพศเดียวกัน และใช้ชีวิตร่วมกันดั่งครอบครัว เพื่อให้เข้าถึงสิทธิต่างๆ ได้เท่าเทียมกับชายจริง หญิงแท้ อาทิ การรับสิทธิประโยชน์ของคู่ชีวิต การดูแลและการลงนามอนุญาตให้คู่ชีวิตรักษาพยาบาล สิทธิตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สิทธิการลดหย่อนภาษี สิทธิของผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและสิทธิอื่นๆ โดยมีสาระสำคัญว่า หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีฐานะ สัญชาติไทย สามารถจดทะเบียนคู่ชีวิตกับเพศเดียวกันได้โดยให้มีผลเสมือนชายหญิงจดทะเบียนสมรสกัน โดยมีหลักการและเหตุผลว่า ปัจจุบันมีคู่ชีวิตเพศเดียวกันจำนวนมากที่ใช้ชีวิตร่วมกันดั่งครอบครัวทั่วไป แต่สถานภาพของคู่ชีวิตดังกล่าวไม่มีกฎหมายรองรับไว้ จึงทำให้บุคคลเหล่านี้ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายทั้งในเรื่องสิทธิและหน้าที่อันพึงมีพึงได้ ขัดกับหลักการสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 มาตรา 5 มาตรา 26 และมาตรา 30 ของรัฐธรรมนูญ และตามหลักการในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

         จะเห็นได้ว่าเริ่มมีการตื่นตัวในเรื่องสิทธิมนุษยชนของเพศที่3ในสังคมไทยเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ต่อเพศที่สามนี้ก็ยังคงเป็นร่างกฎหมายที่รอการพิจารณาและประกาศใช้ต่อไปยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าจะต้องใช้เวลาอีกนานเท่าไหร่หรือมีโอกาสที่จะพัฒนาไปได้อีกหรือไม่ แต่ไม่ว่าอย่างไรทุกคนก็ยังต้องเคารพสิทธิมนุษยชนของกลุ่มเพศที่สามอยู่ในฐานะที่พวกเขาก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งเช่นกัน

เปิดร่างกฎหมาย"เพศที่สาม" จดทะเบียน"คู่ชีวิต" ตีทะเบียนเสมือน"สามี-ภรรยาแหล่งที่มา:http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1379661719[5พฤษภาคม2557]

หมายเลขบันทึก: 568668เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 10:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท