การละเมิดสิทธิในชีวิตอื่นๆ



                                   

 ที่มา:www.manager.co.th


การละเมิดสิทธิในชีวิตอื่นๆ

สิทธิในชีวิต เกิดขึ้นเมื่อเราคลอดแล้วมีสภาพบุคคล และย่อมได้รับความคุ้มครองจากรัฐโดยเสมอภาคกัน ไม่สามารถยกความเป็นสภาพบุคคลนี้ให้ใครได้ และผู้ใดจะมาละเมิดหรือพรากไปมิได้เช่นกัน เพราะเป็นสิ่งที่ติดตัวมาโดยกำเนิด ตามหลักกฎหมายธรรมชาติ กล่าวคือ เป็นเหตุผลจากธรรมชาติของมนุษย์เองที่มีสิทธิที่จะคุ้มครองตนเองให้ปลอดภัย สิ่งนั้นเป็นผลทำให้มีกฎหมายมาคุ้มครองเพื่อความสบายใจของมนุษย์นั้น และมนุษย์ผู้มีสิทธิทุกคนก็ไม่ควรไปละเมิด หรือทำร้ายให้คนอื่นได้รับอันตรายด้วย

สำหรับการคุ้มครองสิทธิในร่างกายก็เช่นกัน รัฐธรรมนูญและกฎหมายให้ความคุ้มครอง การกระทำใดที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่กายและจิตใจของบุคคลนั้น ไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยเจตนาหรือโดยประมาท กฎหมายอาญาได้ให้ความคุ้มครองสิทธิในร่างกายอีกหลายประการ เช่น การทำให้บุคคลเสียเสรีภาพในร่างกาย การข่มขู่ให้ผู้อื่นกระทำการที่ผู้นั้นไม่ประสงค์ การจับกุมคุมขังโดยไม่มีอำนาจ การจับตัวไปเรียกค่าไถ่ การบังคับให้เป็นทาส การจับคนไปทดลองยา การตัดอวัยวะของคนไปขายโดยไม่ได้รับความยินยอม การล่อลวงหญิงไปขาย การฉุดคร่าอนาจารหญิง การข่มขืนการกระทำที่เป็นการทรมาน การทารุณกรรม รวมถึงการลงโทษที่โหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม

หากพิจารณาถึงอาชญากรรมข้ามชาติ เช่นขบวนการค้ามนุษย์ที่จับชาวโรฮิงญาไป ถือเป็นการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์รูปแบบหนึ่ง คือ การหลอกหลวงเพื่อเอาเขาไปเป็นทาส ต้องถูกทรมาน กดขี่ข่มเหง อาจถูกข่มขืนกระทำชำเรา เหยียบย่ำศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทั้งๆที่มนุษย์ทุกคนมีชีวิตจิตใจ มีความเป็นมนุษย์ มีสิทธิเสรีภาพอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันทุกคน ดังนั้น ขบวนการค้าชาวโรฮิงญานี้ เป็นการละเมิดสิทธิมนุยชนในชีวิตอย่างหนึ่ง คือการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็มนุษย์ทั้งในเรื่องการละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นอย่างร้ายแรงและการเอาคนลงเป็นทาสตามปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนดังต่อไปนี้

ข้อ 1. มนุษย์ทุกคนเกิดมามีอิสระและความเสมอภาคกัน ควรปฏิบัติต่อกันด้วนเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ

ข้อ3คนทุกคนมีสิทธิในการดำรงชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงแห่งตัวเอง

ข้อ 4. บุคคลใดๆจะถูกนำไปเป็นทาสไม่ได้ และห้ามการค้าทาสทุกรูปแบบ

ข้อ5 บุคคลใดๆ จะถูกทรมาน หรือได้รับผลปฏิบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายผิดมนุษยธรรม หรือต่ำช้าไม่ได้

ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์พ.ศ. ๒๕๕๑และในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550ได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิในชีวิต ดังนี้

มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับการคุ้มครอง

มาตรา32 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย

การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำมิได้ แต่การลงโทษตามคำพิพากษาของศาล หรือตามที่กฎหมายบัญญัติไม่ถือว่า เป็นวิธีการโหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรม ตามความในวรรคนี้

การคุมขังบุคคลจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่ง หรือหมายของศาล หรือมีเหตุอย่างอื่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ

การค้นตัวบุคคล หรือกระทำอันใดกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพ ตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ

ในกรณีที่มีการกระทำซึ่งกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหาย พนักงานอัยการ หรือบุคคลอื่นใด เพื่อประโยชน์ของผู้เสียหาย มีสิทธิร้องต่อศาล เพื่อให้สั่งระงับ หรือเพิกถอนการกระทำ เช่นว่านั้น ร่วมทั้งจะกำหนดวิธีการตามความเหมาะสม หรือการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยก็ได้

อ้างอิง

1. ปกป้อง วงษ์สรรพ์ ,ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน(UDHR) : ความเป็นมาและสาระสำคัญ, http://www.l3nr.org/posts/519241

2.ธัญวลี อุณหเสรี ,สิทธิในชีวิตและร่างกาย, http://www.l3nr.org/posts/465925

3.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550,http://www.ombudsman.go.th/10/documents/law/Consti...

สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557

หมายเลขบันทึก: 568599เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 00:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 00:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท