ผู้ทรงสิทธิในการมีสุขภาพดี


บุบุคคลที่เกิดมานั้นย่อมมีสิทธิติดตามตัวมาตั้งแต่เกิด ไม่ว่าจะเป็นสิทธิทางการศึกษา สิทธิที่จะมีชีวิต นอกจากนี้แล้วยังมีสิทธิผู้ทรงสิทธิในการมีสุขภาพดี

สิทธิในการมีสุขภาพดี เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน ที่มนุษย์ทุกคนพึงได้รับจากรัฐ โดยที่ไม่ต้องคำนึงถึงว่า บุคคลดังกล่าวจะมีสถานภาพความเป็นพลเมืองของรัฐนั้นหรือไม่ เพราะสิทธิในการมีสุขภาพดี อันเป็นสิทธิด้านสาธารณสุข จะไม่ถูกจำกัดในการดูแลแค่เพียงพลเมืองแต่ต้องบังคับใช้กับมนุษย์ทุกคนเสมอเหมือนกัน สิทธิในการมีสุขภาพดีมีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พ.ศ.2550 มาตรา51-55 และในพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545มาตรา5 วรรค 1 ซึ่งบัญญัติว่า "บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดโดยพระราชบัญญัตินี้

อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาปัญหาที่ว่าบุคคลผู้ทรงสิทธิในการมีสุขภาพดีนั้น หมายความถึงเฉพาะบุคคลที่มีสัญชาติไทยเท่านั้นหรือไม่ หรือจะหมายความรวมถึง มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะมีสัญชาติใดก็ตามที่เป็นผู้ทรงสิทธิในการมีสุขภาพดีได้ ซึ่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน[1]

ข้อ 25 (1) ได้บัญญัติไว้ว่า ทุกคนมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพอันเพียงพอสำหรับสุขภาพและความเป็นอยู่ดีของตนและครอบครัว รวมทั้งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และการดูแลรักษาทางการแพทย์และบริการสังคมที่จำเป็น และมีสิทธิในความมั่นคงในยามว่างงาน เจ็บป่วยพิการ เป็นหม้าย วัยชรา หรือขาดอาชีพอื่นในพฤติการณ์ที่นอกเหนืออำนาจของตน จึงสรุปได้ว่ามนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะมีสัญชาติใดนั้นเป็นผู้ทรงสิทธิดังกล่าวทั้งสิ้น

จากกรณีศึกษาในปัจจุบันพบว่าเกิดปัญหาการละเมิดสิทธิในการมีสุขภาพดีกับทั้งพลเมืองของรัฐ หรือบุคคลผู้ที่มิใช่พลเมืองของรัฐเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญู่ที่ถูกละเมิดในเรื่องนี้ก็มักจะเป็นบุคคลผู้มิได้รับสถานะความเป็นพลเมืองของรัฐเสียมากกว่า อาจกล่าวได้ว่ารัฐมองว่า การดูแลบุคคลผู้ซึ่งมิใช่พลเมืองของตนเป็นเรื่องสิ้นเปลืองงบประมาณ จากสาเหตุนี้ จึงส่งผลกระทบต่อบุคคลไร้รัฐโดยตรง

กรณีศึกษาน้องผักกาด เกิดในโรงพยาบาล แม่สอดจังหวัดตาก มีอาการสมองบวม มารดาซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นชาวพม่า จึงได้ทิ้งน้องผักกาดไว้ในโรงพยาบาล ซึ่งโรงพยาบาลก็ไม่ได้มีการแจ้งเกิดน้องผักกาดแต่อย่างใด เพราะตาดว่าน้องผักกาดไม่น่าจะมีชีวิตรอดอยู่ได้ แต่ก็เกิดปัญหาว่าน้องผักกาด สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ จนปัจจุบันมีอายุถึง 8 ปี กล่าวคือ น้องผักกาด ซึ่งควรจะได้รับการแจ้งเกิด มีสิทธิได้รับการคุ้มครองจากรัฐ ก็ไม่ได้ ทำให้น้องผักกาดอยู่ในสถานะภาพไร้รัฐ ไร้สัญชาติ แม้ว่ากรณีน้องผักกาดจะถือเป็นความโชคร้ายอย่างหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ก็เป็นโชคดีที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ให้ความสนใจกับปัญหาคนไร้รัฐ เข้าไปให้ ช่วยเหลือ


[1] http://www.l3nr.org/posts/367042

หมายเลขบันทึก: 568596เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 00:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 17:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท