ผู้ทรงสิทธิในการมีสุขภาพดี


ผู้ทรงสิทธิในการมีสุขภาพดี

ที่มา:https://www.facebook.com/pages/ArchanWells-Law-Sch...

เด็กที่เกิดมาแล้วพิการแต่กำเนิดคงจะเป็นความโชคร้ายในโชคชะตาชีวิตของเขาเป็นอย่างยิ่ง แต่ถ้าเขามีครอบครัวที่ดีคอยดูแล และมีความเพียบพร้อมด้านฐานะทางเศรฐกิจ ก็คงอาจจะพอมีความโชคดีในความโชคร้ายนั้นอยู่บ้างแต่ทว่าหากเด็กนั้นต้องเกิดมาในครอบครัวที่ไม่มีความพร้อมด้านฐานะ จนถูกทอดทิ้งจากครอบครัว พวกเขาจะต้องใช้ชีวิตอย่างไร? หากแม้ว่าเพียงสิทธิในการรับรองการเกิดมาเป็นมนุษย์ผู้หนึ่งบนโลกยังไม่ได้รับการรับรองจากรัฐใดๆเลยบนโลก

เด็กและเยาวชนข้ามชาติที่ประสบปัญหาความด้อยโอกาสเพราะมีปัญหาสุขภาพจนไม่อาจดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติตัวอย่างกรณีศึกษา น้องผักกาด หรือด.ญ.ผักกาด เกิดที่โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก เมื่อพ.ศ.2549บุพการีเป็นคนเมียนมาร์ น้องพิการตั้งแต่กำเนิด พูดไม่ได้ เดินไม่ได้ มีอาการป่วยหนักมาจากที่ศีรษะบวมใหญ่มาก เป็นคนไข้ติดเตียงของโรงพยาบาล คิดว่าน้องจะไม่สามารถมีชีวิตรอดเกิน1เดือน จึงไม่ได้มีการแจ้งเกิด บุพการีจึงทอดทิ้งไว้ที่โรงพยาบาลพบพระตั้งแต่เกิด แต่น้องสามารถมีชีวิตอยู่รอดมาได้จนถึงปัจจุบัน น้องมีอายุราว8ปี ได้รับการดูแลและเลี้ยงดูโดยโรงพยาบาลพบพระ จังหวัดตาก

เนื่องจากน้องไม่ได้ถูกแจ้งเกิดแต่อย่างใด น้องจึงยังไม่ได้รับการรับรองสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรของรัฐใดเลย น้องจึงประสบปัญหาความไร้รัฐโดยสิ้นเชิงกล่าวคือไร้ทั้งรัฐและไร้สัญชาติตลอดจนถูกถือเป็นคนผิดกฎหมายคนเข้าเมืองของรัฐทุกรัฐบนโลก

ประเทศไทยมีกองทุนเพื่อบุคคลที่มีปัญหาสถานะบุคคลตามมติของคณะรัฐมนตรี สำหรับกรณีของน้องผักกาดนั้น น้องก็มีปัญหาในเรื่องสถานะบุคคลเช่นเดียวกัน แต่น้องไม่สามารถเข้าถึงสิทธิในกองทุนนี้ได้ จึงไม่ได้รับการช่วยเหลือใดๆจากรัฐเลย

แต่น้องผักกาดโชคดี ที่มีภาคประชาสังคมที่เข้าร่วมศึกษาวิจัยปัญหาเด็กและเยาวชนข้ามชาติด้อยโอกาสกำลังจะเสนอการสนับสนุนทุนเพื่อซื้อหลักประกันสุขภาพตามมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2556 ให้แก่น้องผักกาดต่อไป

ผู้ทรงสิทธิ (subject of law) หมายถึง ผู้เป็นเจ้าของสิทธิตามที่กฎหมายกำหนด ความเป็นเจ้าของสิทธินั้นอาจเกิดขึ้นโดยผลอัตโนมัติของกฎหมายหรือโดยขั้นตอนอันเป็นเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดซึ่งสิทธิในการมีสุขภาพดีนั้นเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่บุคคลผู้เป็นมนุษย์ทุกคนพึงได้รับ โดยมีการบัญญัติรับรองไว้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

ข้อ 25 ว่า 1. “บุคคลมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอสำหรับสุขภาพ และความอยู่ดี ของตน และครอบครัวรวมทั้งอาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย การรักษาพยาบาล และบริการสังคมที่จำเป็น และสิทธิในความมั่นคงในกรณีว่างงาน เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เป็นหม้าย วัยชรา หรือการขาดปัจจัยในการเลี้ยงชีพอื่นใดในพฤติการณ์อันเกิดจากที่ตนจะควบคุมได้

เมื่อทุกคนที่เกิดมามีสภาพบุคคลย่อมมีสิทธิมีสุขภาพดีในฐานะเป็นผู้ทรงสิทธิ ซึ่งความเป็นเจ้าของสิทธิในการมีสุขภาพดีเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ น้องผักกาดก็เป็นผู้ทรงสิทธิ เพราะเป็นมนุษย์เหมือนกัน แม้ว่าจะเป็นบุคคลไร้รัฐโดยสิ้นเชิง จึงถูกรัฐไทยละเมิดสิทธิในการมีสุขภาพดี ตามหลักปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่รัฐไทยเข้าเป็นภาคี ดังนั้นรัฐไทยจึงควรเข้ามาดูแลและให้ความคุ้มครองสิทธินี้แก่น้องผักกาดและเด็กคนอื่นๆที่ประสบปัญหาความด้อยโอกาสเช่นเดียวกันกับน้องต่อไป

อ้างอิง

1)ปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน,แหล่งที่มา: http://www.lexilogos.com/declaration/thai.htm

2)รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร,กรณีศึกษาเด็กและเยาวชนที่ประสบปัญหาความด้อยโอกาสทางสุขภาพเพราะพิการและป่วยหนัก,เอกสารประกอบการสอนวิชาสิทธิมนุษยชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557

หมายเลขบันทึก: 568594เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 00:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 00:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท