HR-LLB-TU-2556-TPC-กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดหลักการทั่วไปและมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชน แต่ไม่มีพันธะผูกพันในแง่กฎหมายระหว่างประเทศ โดยที่ประชุมสมัชชา สมัยที่ 3 (ค.ศ.1948) ได้รับรองและประกาศปฏิญญาสากล ฯ โดยการลงคะแนนเสียง (สนับสนุน 48 ประเทศ รวมทั้งไทย ไม่มีเสียงคัดค้าน งดออกเสียง ได้แก่ ยูโกสลาเวีย โปแลนด์ ซาอุดีอาระเบีย เช็คโกสโลวาเกีย แอฟริกาใต้ สหภาพโซเวียต และยูเครน)

เนื้อหาโดยสรุปของปฏิญญาสากล ฯ

ปฏิญญาสากลประกอบด้วยบทบัญญัติทั้งสิ้น 30 ข้อ ซึ่งมีเนื้อหาโดยสรุปคือ

ข้อ 1 - 3 เป็นเกณฑ์กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเบื้องต้นที่สำคัญ 3 ประการคือ สิทธิในการดำรงชีวิต (right to life) สิทธิที่จะมีเสรีภาพ (right to liberty) และสิทธิที่จะมีความมั่งคง แห่งตัวตน (right to security of person) และเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่มนุษย์เมื่อเกิดมาพึงได้รับโดยเท่าเทียมกันและไม่มีการเลือก ปฏิบัติทางเพศ เชื้อชาติ ภาษา ศาสนา

ข้อ 4 - 21 ได้กล่าวถึงสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (civil and political rights)

ข้อ 22 - 27 ได้กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (economic, social and cultural rights) ได้พึงได้รับการยอมรับซึ่งสิทธิทั้งสองด้านได้มีอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกำหนดรายละเอียดและการคุ้มครองไว้

ข้อ 28 - 30 กล่าวถึงทุกคนมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อระเบียบสังคมและประชาชนระหว่างประเทศที่มีการรับรองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพพื้นฐานกล่าวคือ อยู่ภายใต้กฎหมายที่รับรองสิทธิและเสรีภาพพื้นฐานและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น

ปัจจุบัน ประชาคมระหว่างประเทศถือว่าปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เป็นเอกสารหลักเริ่มแรกที่สำคัญที่สุดฉบับหนึ่งในการกำหนดสิทธิมนุษยชนด้านต่างๆ ที่ควรได้รับการส่งเสริมและคุ้มครอง ทั้งยังเป็นจุดกำเนิดของตราสารปฏิญญาด้านสิทธิมนุษยชนอื่นๆในเวลาต่อมา

กล่าวโดยสรุป สาระสำคัญในปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ.1948 นั้นคือมีการรับรองสิทธิของปัจเจกบุคคลมากขึ้นโดยเป็นการตกลงร่วมกันของประเทศสมาชิกจากนานาประเทศในเรื่องของสิทธิเสรีภาพของบุคคลในด้านต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม เป็นต้น รวมไปถึงการป้องกันมิให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือรัฐใดรัฐหนึ่งใช้อำนาจโดยมิชอบ อันจะเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น จากจุดนี้ทำให้ผู้เขียนเห็นว่าปฏิญญาฯฉบับนี้มีจุดประสงค์หลักในการให้อิสระแก่ปัจเจกชนอย่างเต็มที่ กล่าวคือบุคคลย่อมสามารถทำการใดก็ได้ ตราบเท่าที่การนั้นจะไม่ขัดหรือละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นนั่นเอง

ที่มา http://www.lexilogos.com/declaration/thai.htm

คำสำคัญ (Tags): #HR-LLB-TU-2556-TPC
หมายเลขบันทึก: 568558เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 22:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท