HR-LLB-TU-2556-TPC- ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อมต่อกับสังคมโลก


   ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่มีความเกี่ยวข้องกับประเทศอื่น หรือชนชาติอื่น ที่เห็นหลักๆและเห็นบ่อยตามสื่อต่างๆนั้นคือเรื่องของชาวโรฮิงญา

   โรฮิงญา เป็นประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามในรัฐอาระกัน ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในรัฐ ถูกเหยียดหยามและเลือกปฏิบัติโดยรัฐบาลทหารพม่าอย่างต่อเนื่อง และถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมากโดยรัฐบาลทหารพม่า ตั้งแต่การบังคับไม่ให้เคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ตามกฎหมายสัญชาติพม่าปี 1982 (Burma Citizenship Law) ต้องขออนุญาตจากรัฐบาลทหารถ้าจะออกจากพื้นที่ และต้องจ่ายเงินถ้าจะออกจากพื้นที่ ทำให้มีสถานภาพความเป็นอยู่ที่ต่ำมาก เนื่องจากไม่สามารถหางานทำหรือค้าขายได้ ซ้ำร้ายยังถูกละเมิดไม่ให้รับสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ ห้ามแต่งงานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลทหารพม่า

    มีชาวโรฮิงญาจำนวนกว่าหมื่นคนอพยพมายังดินแดนไทย เพื่ออยู่กินและใช้ชีวิตที่มีความเท่าเทียมกันของมนุษย์ทุกคน ที่ได้กำหนดไว้ในสิทธิมนุษยชน หลายปีที่ผ่านมาปัญหาชาวโรฮิงญาเปรียบเสมือนเรือกลางกระแสคลื่นช่วงไหนคลื่นลมแรงหลบเข้ามาฝั่งมีคนสนใจ ปัญหาเหล่านั้นก็ถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อหาทางออก แต่เมื่อลมสงบการแก้ไขปัญหาก็หยุดนิ่ง เหมือนกับว่าไม่มีปัญหานั้นเกิดขึ้นอีกเลย


การที่เขาเหล่านั้นอพยพมาพักพึงยังดินแดนที่ปกครองประเทศโดยรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นประเทศทุกคนล้วนแล้วแต่มีความเท่าเทียมกันทุกคน และต้องเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของกันและกัน อย่างประเทศไทยแล้วนั้น ได้กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับ ความเสมอภาค และ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ไว้ดังนี้

ตามมาตรา 4 ได้วางหลักไว้ว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง

ตามมาตรา ๓๐ ได้วางหลักไว้ว่า บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน และการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิดเชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้

รวมทั้งประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีของอนุสัญญาต่างๆ และ อนุสัญญาที่เห็นได้ชัดว่าเกี่ยวกับกรณีการอพยพเข้ามายังประเทศของชาวโรฮิงญานี้ นั้นก็คืออนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination-CERD) มีวางหลักการของความเสมอภาคของมวลมนุษย์ และ ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเขาเหล่านั้น โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้เคารพและนับถือในสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของเขามนุษย์ทั้งมวล โดยที่จะต้องไม่แบ่งแยกความแตกต่างระหว่าง เชื่อชาติ เพศ ภาษา หรือ เพศ เนื่องจาก มนุษย์ทุกคนล้วนแล้วแต่เกิดขึ้มาอิสระ และเสมอภาคในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

นอกจากประเทศไทยแล้ว ปัญหาชาวโรฮิงญาที่ต้องอพยพออกจากดินแดน เป็นสิ่งที่ประชาคมโลกต้องให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหานี้ เนื่องจากชาวโรฮิงญาก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งในสังคมโลก และรวมทั้งปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติก็ได้คุ้มครองและเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาคมโลกทุกคน ข้าพเจ้าได้ยกข้อกำหนดในปฎิญญาสากลฉบับนี้ เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการอพยพของชาวโรฮิงญา ไว้คร่าวๆดังนี้

ข้อ 2. ประชาชนทุกคนสามารถเรียกร้องสิทธิตามปฎิญญาสากลฉบับนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นเพศใด ผิวสีใด ใช้ภาษาใด มีความคิดต่างกันเพียงใด นับถือศาสนาใด รวยจนเพียงใด อยู่ในสงคมระดับใด หรือมาจากประเทศใด

ข้อ 3. ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตและดำเนินชีวิตอย่างมีอิสระและปลอดภัย

ข้อ 4. ไม่มีใครที่จะมีสิทธิปฎิบัติต่อตัวเราเหมือนเรา เป็นทาสของเขา และเราก็ไม่ควรปฎิบัติต่อผู้อื่นเหมือนเขาเป็นทาสของเรา

ข้อ 5. ไม่มีใครมีสิทธิข่มเหงทารุณเรา

ข้อ 6. ประชาชนทุกคนมีสิทธิ ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายในลักษณะเดียวกันและเป็นแบบเดียวกันในทุก ๆ แห่ง

ข้อ 7. กฎหมายคุ้มครองประชาชนทุกคนเท่าเทียมกัน และมีผลบังคับใช้กับประชาชนทุกคนเหมือนกัน

ข้อ 8. เราทุกคนสามารถขอความช่วยเหลือทางกฎหมายได้หากไม่ได้รับการเคารพสิทธิที่ได้รับรองไว้ตามกฎหมายภายในประเทศเรา

ข้อ 14. หากใครทำร้ายเราเรามีสิทธิที่จะเดินทางไปประเทศอื่น และ ขอความคุ้มครองจากประเทศนั้นได้ แต่เราจะไม่ได้รับสิทธินี้หากเราฆ่าคน และหากเราไม่เคารพกติกาตามปฎิญญาสากลฉบับนี้

ข้อ 15. เรามีสิทธิเป็นประชาชนของประเทศหนึ่งและไมผู้ใดสามารถกีดกันเราไม่ให้เป็นประชาชนของประเทศนั้ได้โดยไม่มีเหตุผลที่ดีเพียงพอ

ข้อ 26. ประชาชนทุกคนต้องมีสิทธิได้เรียนหนังสือได้รับการเรียนระดับประถมฟรี เราควรได้เรียนวิชาชีพหรือเรียนต่อถึงขั้นสูงสุดตามต้องการ ประชาชนทุกคนควรได้รับการพัฒนาความสามารถทุกด้าน และควรได้รับการอบรมให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นแม้จะแตกต่างกันทางเชื้อชติ ศาสนาหรือสัญชาติ ผู้ปกครองมีสิทธิเลือกวีธีสอนและเนื้อหาที่จะสอนให้บุตรหลานได้

ข้อ 30. ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดของโลก ไม่มีสังคมใดและมนุษย์คนใดมีสิทธิทำอะไรที่ไม่เคารพสิทธิตามปฎิญญาสากลฉบับนี้ได้

ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=447005

คำสำคัญ (Tags): #HR-LLB-TU-2556-TPC
หมายเลขบันทึก: 568553เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 22:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท