คนต่างด้าวในประเทศไทย


     ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน[1] ข้อที่ 23 บุคคลมีสิทธิที่จะทำงาน และเลือกงานอย่างเสรี และมีสภาวะการทำงานที่ยุติธรรมและพอใจ ที่จะได้รับการคุ้มครองจากการว่างงาน

บุคคลมีสิทธิที่จะรับค่าตอบแทนเท่ากัน สำหรับการทำงานที่เท่ากัน โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติใดๆ

บุคคลที่ทำงานมีสิทธิในรายได้ซึ่งยุติธรรม และเอื้อประโยชน์เฟื่อเป็นประกันสำหรับตนเอง และครอบครัวให้การดำรงมีค่าควรแก่ศักดิ์ศรี ของมนุษย์ และถ้าจำเป็นก็ชอบที่จะได้รับการคุ้มครองทางสังคมอื่นๆ เพิ่มเติม

บุคคลมีสิทธิที่จะก่อตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของตน

     ดังนั้นมนุษย์ทุกคน จึงมีสิทธิในการประกอบอาชีพเพื่อหาเลี้ยงตนและครอบครัว โดยถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนพึงจะได้รับ นอกจากนี้ยังได้มีรับรองไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550[2] มาตรา 43 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญก็ได้กำหนดขอบเขตการจำกัดสิทธินั้นไว้เท่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันปัญหาต่างๆไว้ในมาตราเดียวกัน ดังนี้ การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ การคุ้มครองประชาชนในด้านสาธารณูปโภค การรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การจัดระเบียบการประกอบอาชีพ การคุ้มครองผู้บริโภค การผังเมือง การรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม สวัสดิภาพของประชาชน หรือเพื่อป้องกันการผูกขาดหรือขจัดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน

     นอกจากนี้ยังมีอาชีพที่คนต่างด้าวไม่ได้รับการรับรองให้กระทำได้ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ.2522[3] จำนวน 39อาชีพ แต่ต่อมาได้มีการยกเลิกไปบางส่วน จึงเป็นปัญหาขึ้นมาเนื่องจาก แม้คนต่างด้าวจะมีความเชียวชาญในอาชีพนั้นๆ แต่ก็ไม่สามารถใช้ประสิทธิภาพของตนได้เนื่องจากไม่ได้รับความรับรองจากรัฐ 

     ดังกรณีศึกษาครอบครัวหม่องภา ซึ่งดวงตา หม่องภา[4] นักศึกษาโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งครอบครัวของเธอล้วนเป็นชาวเมียนมาร์ ดวงตาจึงมีสภาพเป็นคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ แต่ก็ได้อยู่ในเมืองไทยมาเป็นเวลานานจนสามารถสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่วจนดีกว่าคนไทยหลายคนเสียอีก ทั้งยังได้รับโอกาสทางการศึกษาที่ดี จนมีศักยภาพมากพอที่จะประกอบอาชีพในหลายๆสาขา ซึ่งรวมไปถึงอาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำด้วย ในกรณีของดวงตานี้ อาทิเช่น งานนายหน้าหรืองานตัวแทนในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศงานมัคคุเทศก์ หรืองานจัดนำเที่ยว ตรวจสอบหรือให้บริการบัญชี เป็นต้น ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดายหากเธอประสงค์จะประกอบอาชีพเหล่านี้ ทั้งยังเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้กำหนดไว้โดยมิได้เข้าหลักที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดขอบเขตในการจำกัดสิทธินี้ไว้แต่อย่างใด


[1] “ปฏิญญาสากลว่าด้วยเรื่อง สิทธิมนุษยชน.”(ออนไลน์).เข้าถึงได้จากhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=159532 (สืบค้นข้อมูลวันที่ 18 พฤษภาคม 2557)

[2]“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี พ.ศ.๒๕๕๐.” (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538976878&Ntype=25 (สืบค้นข้อมูลวันที่ 18 พฤษภาคม 2557)

[3] “บัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ.2522”(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก http://www.sobsuan.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=5500&sid=5639cede4b6b66a0b6b4cee9d7b4d1f6 (สืบค้นข้อมูลวันที่ 18 พฤษภาคม 2557)

[4] เสกสรร โรจนเมธากุล. “เสียงจากเด็กไร้สัญชาติ วอน ‘ไทย-พม่า’ ร่วมมือแก้ปัญหาเสียที”.(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.isranews.org/component/content/article/191-thaireform/19305-เสียงจากเด็กไร้สัญชาติ-วอน-‘ไทย-พม่า’-ร่วมมือแก้ปัญหาเสียที.html(สืบค้นข้อมูลวันที่ 18 พฤษภาคม 2557)

หมายเลขบันทึก: 568543เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 21:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 13:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท