สิทธิในเสรีภาพของคนต่างด้าว


    ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550[1] นั้น ได้รับรองเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นไว้ในมาตรา 45 โดยได้วางหลักไว้ว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น

การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน

     ทีนี้จึงเป็นประเด็นว่าสิทธิในการแสดงความคิดเห็นนี้ เป็นสิทธิเพียงเฉพาะของผู้ที่มีสัญชาติไทยเท่านั้นหรือไม่ เนื่องจากสิทธินี้ถูกรับรองไว้ภายใต้รัฐธรรมนูญของไทย จึงต้องพิจารณาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน[2] ข้อ 19 ที่ว่าบุคคลมีสิทธิในเสรีภาพแห่งความเห็นและการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะยึดมั่นในความเห็นโดยปราศจากการแทรกสอดและที่จะแสวงหารับ ตลอดจนแจ้งข่าว รวมทั้งความคิดเห็นโดยผ่านสื่อใดๆ และโดยมิต้องคำนึงถึงเขตแดน เมื่อสิทธิเสรีภาพดังกล่าวปรากฏในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน จึงสรุปได้ว่า เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นนี้ เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนสามารถกระทำได้ ไม่ว่าจะเป็นคนของรัฐใดก็ตาม

     อย่างไรก็ตาม การแสดงความคิดเห็นในเรื่องของการเมืองนั้นเป็นสิ่งที่เกี่ยวของกับความมั่นคงของรัฐ จึงมีการสงวนสิทธิไว้สำหรับพลเมืองของรัฐนั้นๆเท่านั้น เพื่อมิให้เกิดความวุ่นวาย

     เมื่อพิจารณากรณีศึกษา สาธิต เซกัลป์[3] เป็นนักธุรกิจสิ่งพิมพ์ชาวอินเดียที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เคยดำรงตำแหน่งประธานหอการค้าอินเดีย-ไทยหอการค้าไทย-อิสราเอลและประธานสมาคมนักธุรกิจอินเดีย-ไทย

     เซกัลเกิดที่ประเทศอินเดียเข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่อายุ 5 ปี เป็นคนต่างด้าวที่อาศัยในไทย ครอบครัวเป็นชาวไทยฮินดูเชื้อสายอินเดียจากรัฐปัญจาบ จบการศึกษาจากวิทยาลัย Hans Raj มหาวิทยาลัยเดลีเคยทำงานที่หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ก่อนจะมาเปิดธุรกิจนิตยสารภาษาอังกฤษเป็นของตัวเอง

     เซกัลเป็นหนึ่งในชาวต่างชาติซึ่งวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลก่อนการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในการประท้วงในไทย พ.ศ. 2556จนถูกดำเนินการทางกฎหมายโดยหน่วยงานกำกับดูแลสถานการณ์ฉุกเฉินของรัฐบาล ศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) โดยสั่งการให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเนรเทศเซกัลออกจากประเทศไทย

     ล่าสุดวันที่ 14พฤษภาคม 2557ศาลอาญาอนุมัติหมายจับแกนนำ กปปส.รวม 43 คน ผู้ต้องหาคดีกบฏและความผิดอื่น รวม 8 ข้อหา เพื่อติดตามตัวมาดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย สาธิต เซกัล ก็ตกเป็นผู้ต้องหาหมายเลขที่ 42ด้วย

     จากที่ได้กล่าวถึงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ซึ่งเป็นสิทธิพลเมืองนั้น จะเห็นได้ว่า เมื่อสาธิต เซกัลไม่ได้เป็นผู้มีสัญชาติไทย จึงไม่มีสิทธิพลเมืองดังกล่าวนี้ การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของนายเซกัล จึงไม่มีการรับรองให้กระทำได้ ซึ่งส่งผลให้ถูกดำเนินคดีตามกฎหมายไปนั่นเอง


[1] “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550.”(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538976878&Ntype=25 (สืบค้นวันที่ 18 พฤษภาคม 2557)

[2] “หลักการ 30 ประการในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน.” (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.l3nr.org/posts/367042 (สืบค้นวันที่ 18 พฤษภาคม 2557)

[3]วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.“สาธิต เซกัลป์.”(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก http://th.wikipedia.org/wiki/สาธิต_เซกัล (สืบค้นวันที่ 18 พฤษภาคม 2557)

หมายเลขบันทึก: 568532เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 20:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 22:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท