สิทธิเสรีภาพของคนต่างด้าว


         สิทธิ คือ ประโยชน์หรืออำนาจของบุคคลที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองมิให้มีการละเมิด รวมทั้งการบังคับให้เป็นไปตามสิทธิในกรณีที่มีการละเมิดด้วย เช่นสิทธิในทรัพย์สิน สิทธิความเป็นอยู่ส่วนตัว

         เสรีภาพ คือ อำนาจตัดสินใจด้วยตนเองของมนุษย์ที่เลือกดำเนินพฤติกรรมของตนเอง โดยไม่มีบุคคลอื่นใดอ้างหรือใช้อำนาจแทรกแซงเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจนั้น และเป็นการตัดสินใจด้วยตนเองที่จะกระทำหรือไม่กระทำการสิ่งหนึ่งสิ่งใดอัน ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่การที่มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมแล้วแต่ละคนจะตัดสินใจกระทำการหรือไม่กระทำการสิ่งใดนอกเหนือจากการต้องปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว ย่อมต้องคำนึงถึงกฎเกณฑ์ต่างๆของสังคม ขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรม

         คนต่างด้าว หมายถึง ผู้ที่มิได้มีสัญชาติไทย ตามพระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ.2499

         ยกตัวอย่างกรณีศึกษา นายสาธิต เซกัล แกนนำกปปส.ต ถูกเนรเทศตามกฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งต้องพิจารณาว่า การเนรเทศบุคคลผู้มีสัญชาติของรัฐย่อมทำไม่ได้ ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 9 บุคคลใดจะถูกจับกุม กักขัง หรือเนรเทศตามอำเภอใจไม่ได้ และได้ถูกรับรองในรัฐธรรมนูญไทย ตามมาตรา 34 วรรค 3 “การเนรเทศบุคคลผู้มีสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักร หรือห้ามมิให้บุคคลผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักร จะกระทำมิได้”

         นายสาธิตถูกเนรเทศตามกฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉินเพราะถูกตรวจพบว่าเป็นบุคคลต่างด้าว โดยนายสาธิตเกิดที่กรุงเดลี ประเทศอินเดีย เป็นชาวไทยเชื้อสายอินเดียจากรัฐปัญจาบ พี่น้องทั้งหมด 4 คน ทุกคนได้สัญชาติไทยทั้งหมด แต่ สาธิต เซกัล นั้น ยังคงถือสัญชาติอินเดียอยู่ นายสาธิตจึงมีสถานะเป็นคนต่างด้าวในประเทศไทย เนื่องจากอาศัยในประเทศไทยไม่มีสัญชาติไทย ตามความหมายของคนต่างด้าวในมาตรา4  พระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ. ๒๔๙๙ “คนต่างด้าว หมายความว่า ผู้ที่มิได้มีสัญชาติไทย “ และอาจถูกเนรเทศได้ ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ที่ไทยได้ภาคยานุวัตร และตามพระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ. ๒๔๙๙ หากว่าเข้าตามเงื่อนไขแม้ นายสาธิตมีสถานะเป็นคนข้ามชาติ หรือ ต่างด้าว แต่เป็นคนต่างด้าวโดยชอบ คือ เข้าเมืองโดยถูกกฎหมาย และมีสิทธิอาศัย จึงไม่สามารถส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรได้ การจะเคลื่อนย้ายออกจึงต้องทำโดยการเนรเทศเพราะ การเนรเทศคือ การทำให้การเข้าเมืองที่ชอบด้วยกฎหมายและการอยู่อาศัยสิ้นสุดลง โดยเหตุผลเพราะว่าการพำนักอาศัยของคนต่างด้าวจะขัดต่อสันติภาพ ความสงบสุข ความปลอดภัยและสวัสดิการสาธารณะของรัฐ โดยอาศัยกฎหมายเนรเทศ ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร คือ เป็นการเคลื่อนย้ายคนต่างด้าวให้ออกนอกราชอาณาจักร เนื่องจากว่าคนต่างด้าวผู้นั้นได้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายโดยอาศัยกฎหมายคนเข้าเมือง จึงไม่มีสิทธิอยู่อาศัยในราชอาณาจักรมาตั้งแต่ต้น และอีกประการคือ นายสาธิตถูกดำเนินคดีในหลายข้อหาจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ถูกเนรเทศ ซึ่งการถูกดำเนินคดีเกิดจากการที่นายสาธิต แกนนำกปปส นั้นเกิดเพราะนายสาธิตได้ใช้สิทธิแสดงความคิดเห็น บนเวทีปราศรัย อันเป็นสิทธิที่รับรองใน ข้อ 19กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กรมองค์การระหว่างประเทศ เมื่อสิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิมนุษยชนของบุคคลทุกคนที่เป็นมนุษย์ และนายสาธิตที่เป็นบุคคลตามกฎหมาย แม้ไม่มีสัญชาติไทย จึงควรได้รับความคุ้มครองเช่นกัน เพราะการกระทำของประเทศไทยเป็นการละเมิดสิทธิของนายสาธิต ตามอนุสัญญาสิทธิมนุษยชน ประกอบกับมีรัฐธรรมนูญไทยปี 50 ที่คุ้มครองสิทธิของบุคคลทุกคนในประเทศ ตามมาตรา 45เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แม้การใช้สิทธิดังกล่าวก็มีข้อจำกัด คือการจำกัดสิทธิทำได้เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ แต่การกระทำดังกล่าวก็ไม่ได้เข้าข้อจำกัดดังกล่าว รัฐไทยจึงไม่สามารถละเมิดสิทธิแสดงความเห็นของนายสาธิตได้ และเมื่อการเนรเทศไม่มีเหตุผลคือไม่ได้เป็นการแสดงความคิดเห็นที่ก่อความไม่มั่นคงแห่งรัฐ จึงเป็นการละเมิดสิทธินายสาธิต เพราะการเนรเทศนายสาธิตที่เป็นคนเข้าเมืองถูกกฎหมาย การจะสิ้นสิทธิอาศัยในรัฐจึงควรมีเหตุผลในการเนรเทศ และแม้การใช้สิทธิบางประการในประเทศไทยจะจำกัดไว้เฉพาะบุคคลสัญชาติไทยด้วยเหตุผลเพื่อความมั่นคง เช่น สิทธิทางการเมือง (Political Rights) คือ สิทธิในการมีส่วนร่วมกับรัฐในการดําเนินกิจการที่เป็นประโยชน์สาธารณะ เสรีภาพในการรวมกลุ่มเป็นพรรคการเมือง เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ สิทธิการเลือกตั้งอย่างเสรี เป็นต้น แต่จากกรณีศึกษาแม้นายสาธิตจะใช้สิทธิในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นพื้นฐานอันนำไปสู่การใช้สิทธิทางการเมือง บางรูปแบบเช่นเลือกตั้ง ที่มีลักษณะการแสดงความคิดเห็น แต่การแสดงความคิดเห็นของนายสาธิต ไม่เป็นการแสดงความคิดเห็นที่เป็นสิทธิทางการเมือง นายสาธิตจึงไม่อาจถูกจำกัดการใช้สิทธิแสดงความคิดเห็น ตาม มาตรา45 รัฐธรรมนูญไทย พิจารณาต่อมาหากคนต่างด้าวมีการกระทำเป็นภัยต่อความมั่นคงจริง การเนรเทศบุคคลต่างด้าวนั้นก็ต้องกระทำตามขั้นตอนตาม กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ13 คือ คนต่างด้าวผู้อยู่ในดินแดนของรัฐภาคีแห่งกติกานี้โดยชอบด้วยกฎหมายอาจถูกไล่ออกจากรัฐนั้น ได้โดยคำวินิจฉัยอันได้มาตามกฎหมายเท่านั้น ผู้ถูกเนรเทศย่อมได้รับอนุญาตให้ชี้แจงแสดงเหตุผลคัดค้านการขับไล่ออกจากรัฐนั้น และขอให้มีการทบทวนเรื่องของตนเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ หรือบุคคล หรือคณะบุคคล ที่แต่งตั้งขึ้นเฉพาะการนี้โดยเจ้าหน้าที่ผู้มี อำนาจโดยได้รับอนุญาตให้มีผู้แทนเพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้นได้เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุผลจำเป็นอย่างอื่นด้านความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อไทยก็มีกฎหมายการเนรเทศซึ่งมีขั้นตอน ตาม มาตรา5 พระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ. ๒๔๙๙ ในการเนรเทศคนต่างด้าวจึงควรปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายภายใน ไม่ใช่การเนรเทศโดยอาศัยกฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉิน และอ้างเพื่อไม่ทำตามระเบียบการเนรเทศ ดังนั้นมนุษย์ทุกคนแม้แต่คนต่างด้าว ย่อมเป็นผู้ทรงสิทธิในเสรีภาพ ดังกรณีศึกษานายสาธิต คือ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เนื่องจากสิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิมนุษยชนที่ถูกรับรองในอนุสัญญาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และในรัฐธรรมนูญไทยซึ่งเป็นกฎหมายภายที่รับรองสิทธิให้ทุกคนในประเทศ การที่ประเทศไทยเนรเทศนายสาธิต โดยเหตุที่นายสาธิตใช้สิทธิแสดงความคิดเห็น ที่ไม่เข้าข้อจำกัดนั้น รัฐไทยจึงทำการะละเมิดสิทธิในเสรีภาพของนายสาธิต ซึ่งเป็นคนต่างด้าวทั้งที่เป็นผู้ทรงสิทธิดังกล่าว

ที่มา

http://hilight.kapook.com/view/97452

http://www.share-pdf.com/โครงเรื่องรายงานสิทธิ.pdf

http://www.khonkaen.go.th/kk_km4/manual1.doc

หมายเลขบันทึก: 568518เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 18:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 18:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท