ครอบครัวข้ามชาติ


  ครอบครัวข้ามชาติ ก็คือครอบครัวที่มีสมาชิกของครอบครัวคนใดคนหนึ่งเป็นมนุษย์ข้ามชาตินั่นเอง เมื่อสามีหรือภรรยาเป็นคนข้ามชาติ ปัญหาที่ตามมาคือเมื่อมีบุตร แม้ว่าบุตรจะมีจุดเกาะเกี่ยวที่บิดาหรือมารดามีสัญชาติไทย แต่กลับไม่ได้รับสัญชาติไทย ปัญหานี้จะพบมากตามแนวตะเข็บชายแดนที่เชื่อมต่อกับประเทศอื่น เพราะมักเป็นพื้นที่ตกสำรวจ และผู้คนไม่รู้กฎหมาย

   และเมื่อมีกรณีของคนข้ามชาติเกิดขึ้น ปัญหาสิทธิมนุษยชนที่ตามมาก็หนีไม่พ้น การละเมิดสิทธิมนุษยชนของครอบครัวข้ามชาติ ปัญหาเรื่องของการไร้สัญชาติ ทั้งนี้หากปัญหาไร้สัญชาติรุนเเรงถึงขั้นไม่มีประเทศใดในโลกยอมให้มีสิทธิอาศัยในประเทศตนได้ ปัญหานั้นก็จะทวีความรุนเเรงกลายเป็นปัญหาการไร้รัฐ

   กรณีศึกษาเรื่องครอบครัวข้ามชาตินี้ เช่น กรณีของครอบครัวเจดีย์ทอง

   เรื่องราวของครอบครัวเจดีย์ทองมีจุดเริ่มต้นจากการที่นายอาทิตย์ เจดีย์ทอง ซึ่งเป็นแรงงานสัญชาติไทยและนางสาวแพทริเซีย ซึ่งเป็นแรงงานสัญชาติมาเลเซีย เดินทางไปทำงานที่ประเทศไต้หวันและได้พบรักกันขณะไปทำงาน ต่อมานายอาทิตย์ได้เดินทางกลับมายังประเทศไทยก่อน ระหว่างทางกลับมาเลเซียนางสาวแพทริเซียได้เดินทางเข้ามายังประเทศไทยเพื่อมาเยี่ยมนายอาทิตย์และตัดสินใจอยู่กินกันฉันสามีภรรยากับนายอาทิตย์ที่ บ้านห้วยส้าน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จนมีบุตรด้วยกัน 3 คน แต่ละคนเกิดในประเทศไทย มีสัญชาติไทย และมีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักตามปกติ ซึ่งการตรวจลงตราในหนังสือเดินทางของนาวสาวเเพทริเซียนั้นมีกำหนดเวลาไว้ชัดเจนเเละนางสาวแพทริเซียก็อยู่ในประเทศไทยเลยกำหนดเวลาดังกล่าวเเล้ว ต่อมานางสาวเเพทริเซียต้องการอยู่ในประเทศไทยอย่างถาวรจึงไปแสดงตนต่อเจ้าหน้าที่ว่าตนเป็นคนไร้รัฐ เพื่อให้รัฐบันทึกตนเป็นบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนโดยใช้ชื่อ อัญชลีเจดีย์ทอง จากการกระทำดังกล่าวทำให้นางสาวเเพทริเซียเป็นผู้มี 2 สถานะ คือ เป็นคนสัญชาติมาเลเซีย และเป็นบุคคลไร้รัฐด้วย ดังนั้น ในกรณีของนางสาวแพทริเซียในประเทศไทย จึงถือเป็นผู้ไร้สัญชาติ ซึ่งส่งผลให้ไม่ได้รับความคุ้มครอง และการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานเท่าที่ควร และเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอีกด้วยโดยหากเปรียบเทียบกับอีกกรณีที่สามารถทำได้หากต้องการจะอยู่ในประเทศไทยอย่างถาวร คือ การขอวีซ่าคู่สมรส หรือ Spouse Visa และจดทะเบียนสมรส โดยหากทำเช่นว่านี้ผลคือครอบครัวเจดีย์ทองจะเป็นครอบครัวข้ามชาติตามกฎหมาย นางสาวแพทริเซียยังคงมีสัญชาติมาเลเซียและจะได้รับสิทธิต่างๆมากกว่าการเป็นบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนดังที่เป็นอยู่ อีกทั้งบุตรทั้ง 3 นอกจากจะมีสัญชาติไทยตามหลักดินแดนหรือตามสัญชาติของบิดาเเล้ว ยังมีสัญชาติมาเลเซียตามมารดาได้อีกด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการมีสิทธิบางประการตามกฎหมายของประเทศมาเลเซีย กล่าวโดยสรุปการมีครอบครัวเป็นครอบครัวข้ามชาตินั้น สามารถมีได้หลายกรณีและในแต่ละกรณีก่อให้เกิดสิทธิประโยชน์แตกต่างกัน ซึ่งบางกรณีจากความไม่รู้หรือทำอย่างไม่ถูกต้องอาจทำให้คนในครอบครัวนั้นต้องเสียสิทธิที่ควรจะได้รับบางประการดังที่ได้ศึกษาจากครอบครัวเจดีย์ทอง

  ที่มา http://www.gotoknow.org/posts/566775...28

        http://www.l3nr.org/posts/535985
นิติ วณิชย์วรนันต์

5501681133

หมายเลขบันทึก: 568506เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 17:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 17:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท