มนุษย์ที่ข้ามชาติ


          มนุษย์ที่ข้ามชาติ หมายถึง บุคคลที่มีการกระทำในลักษณะที่ข้ามชาติ คือมีถิ่นที่อยู่หรือเคยอยู่อาศัยในประเทศประเทศหนึ่งอยู่แล้ว แต่ได้มีการข้ามหรือเคลื่อนย้ายมายังอีกประเทศหนึ่ง ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม บุคคลเหล่านี้ได้แก่ นักท่องเที่ยว แรงงานข้ามชาติ นักลงทุนข้ามชาติ นักศึกษา และผู้หนีภัยความตาย เป็นต้น

           ประเภทของเด็กข้ามชาติในประเทศไทย

1. เด็กข้ามชาติที่ติดตามพ่อแม่ซึ่งเป็นคนข้ามชาติที่หลบหนีเข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมาย หรือตัวเด็กเองหลบหนีเข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมาย หรือถูกลักพาตัวเข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมาย

2. เด็กข้ามชาติที่เกิดในประเทศไทยจากพ่อแม่ที่เป็นคนข้ามชาติ ซึ่งเด็กเหล่านี้สมควรจะได้รับการขึ้นทะเบียนจากรัฐ แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้น โดยอาจเกิดจากความไม่รู้ของพ่อแม่ หรือการปฏิเสธการขึ้นทะเบียนจากหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทำให้ไม่อาจเข้าถึงสิทธิได้ และถูกถือเป็นเด็กข้ามชาติ

3. เด็กที่ข้ามชาติมาอย่างถูกกฎหมาย

          ปัญหาการถูกละเมิดด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดตามมาจากการเป็นเด็กข้ามชาติที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

1. ปัญหาการได้การรับรองทางทะเบียนจากรัฐและการได้รับสัญชาติ ปัญหานี้เป็นต้นตอของปัญหาสิทธิมนุษยชนอื่นๆ เนื่องจากเมื่อไม่ได้การรับรองจากรัฐแล้ว หน่วยงานอื่นมักจะนำสิ่งนี้มาเป็นข้ออ้างเพื่อที่จะไม่ปฏิบัติตามสิทธิที่เด็กข้ามชาติเหล่านี้ควรจะได้รับ

2. ปัญหาการได้รับบริการทางสาธารณสุข

3. ปัญหาการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สำคัญเรื่องหนึ่ง ซึ่งประเทศในไทยก็ได้มีกฎหมายที่รองรับการจัดการศึกษาโดยรัฐให้กับบุคคลเอาไว้อย่างน้อย 12 ปี โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

          กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิทธิมนุษยชนในเด็กข้ามชาติ

                   กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเด็กที่ข้ามชาติโดยผิดกฎหมายประกอบไปด้วยกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในประเทศได้แก่

-อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child)

ข้อที่ 7 เด็กมีสิทธิที่จะได้รับการจดทะเบียนทันทีหลังการเกิด และมีสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ

ข้อที่ 22 เด็กที่ร้องขอสถานะผู้ลี้ภัย จะต้องได้รับความคุ้มครองตามหลักมนุษยธรรม ข้อที่ 24-26 ว่าด้วยสิทธิของเด็กที่จะได้รับบริการทางสาธารณสุขจากรัฐ

ข้อที่ 28-29 ว่าด้วยสิทธิของเด็กที่จะได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ข้อที่ 32,34,36 ว่าด้วยการคุ้มครองเด็กจากการทำงานที่เสี่ยงภัยอันตราย การค้าประเวณี และการแสวงหาผลประโยชน์จากเด็กในรูปแบบอื่นๆ

-รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

มาตรา 26 ว่าด้วยการใช้อำนาจขององค์กรของรัฐ ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ

มาตรา 30 ว่าด้วยหลักความเสมอภาค

มาตรา 49 ว่าด้วยสิทธิที่จะได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

มาตรา 51-52 ว่าด้วยสิทธิการได้รับบริการสาธารณสุขโดยรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

-ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 157 ว่าด้วยเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐที่ละเลยหรือละเมิดสิทธิบางประการของประชาชน

-พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

-พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534

-พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

-พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550

 ที่มา

http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=...

http://www.l3nr.org/posts/535656

http://www.l3nr.org/posts/535602

หมายเลขบันทึก: 568501เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 17:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท